"chiangraifocus"

  สมัครสมาชิก |  ล็อคอิน |  ติดต่อโฆษณา | ติดต่อทีมงาน | ร่วมงานกับเรา |  Mobile Version |   บริการของเว็บ |   คำถามที่พบบ่อย
ชื่อผู้ส่ง :
อีเมล์ผู้ส่ง :
อีเมล์ผู้รับ :
ข้อความ :

* พิมพ์ตัวอักษรได้สูงสุด 150 ตัวอักษร

คำตอบ : 0 + 0 =
 
รวมสถานที่ กิน ดื่ม เที่ยว ช้อป ที่พัก บริการด้านการท่องเที่ยว ข่าวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชียงราย


« ก่อนหน้า   ถัดไป »
พุทธสถานพระเจ้ากือนา
Home » ท่องเที่ยว » สถานที่ท่องเที่ยว » อำเภอเวียงชัย » พุทธสถานพระเจ้ากือนา
23630 views     อัพเดทข้อมูลล่าสุด  02 กุมพาพันธ์ 2015 เวลา 11:31:51
พิมพ์ข้อมูล ส่งให้เพื่อน

Tags : พุทธสถานพระเจ้ากือนา , พระเจ้ากือนาลือไกล , เวียงกือนา , พระเจ้ากือนา , วัดพระเจ้ากกแอ่นเวียงกือนา

 
พุทธสถานพระเจ้ากือนา

พุทธสถานพระเจ้ากือนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก หมู่ที่ ๘ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของอำเภอเวียงชัย มีหลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ที่สำคัญพุทธสถานแห่งนี้ปรากฏในคำขวัญของอำเภอเวียงชัยที่ว่า “พระเจ้ากือนาลือไกล” ปัจจุบันพุทธสถานพระเจ้ากือนา สมควรที่จะได้รับการบูรณะพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

 

พุทธสถานพระเจ้ากือนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชื่อว่า หลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนา พระพุทธรูปองค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูน มีหน้าตักกว้าง ๖ ศอก สูง ๖ ศอกคืบ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๘ มีประวัติโดยย่อ คือ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช หรือพญากือนา พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาลำดับที่ ๖ แห่งราชวงศ์เม็งราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘ พระเจ้ากือนาเป็นโอรสของพระเจ้าผาชู ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าแสนภู พระเจ้าแสนภูเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าศรีชัยสงคราม พระเจ้าศรีชัยสงครามเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย วีระกษัตรย์แห่งแคว้นโยนก และล้านนาในสมัยแรกสร้าง พระเจ้ากือนาเป็นกษัตริย์ที่ทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างพระธาตุดอยสุเทพ สร้างวัดบุปผารามสวนดอก ได้นิมนต์พระสุมนเถระมาจากกรุงสุโขทัยมาตั้งปรับปรุงพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่จนรุ่งเรือง โดยที่พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน จึงไม่โปรดประทับอยู่ที่เชียงใหม่ ได้เสด็จกลับมาครองเมืองเชียงแสน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่ระลีกไว้ ณ ที่ฝั่งแม่น้ำกกนี้ พร้อมทั้งให้ข้าราชบริพารทำการสร้างบ้านแปงเมือง เรียกว่า เวียงกือนา พระพุทธรูปองค์นี้ จึงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้ากือนา ด้วยเหตุผลดังกล่าว

 

เวียงกือนาถูกทิ้งเป็นเมืองร้างมานานเท่าไม่ปรากฏ เนื่องจากภัยสงคราม ปัจจุบันพื้นที่ ๒ ฝั่งลำน้ำกก มีปรากฏฏหลักฐานร่องรอยที่จะเชื่อมโยงไปยังเวียงกือนาในอดีต เช่น ฟากฝั่งทิศเหนือตรงข้ามพุทธสถาน มีชื่อวัดพระเจ้ากกแอ่นเวียงกือนา, หมู่บ้านเวียงกือนา ตำบลริมกก เป็นต้น

 

ตำนานพระเจ้ากือนาเท่าที่ได้รับฟังจากผู้รู้เมื่อ ๒๐ ปีก่อน มีความเป็นมาคล้ายกัน พ่อหนานอรุณ จิตเกษมบ้านไตรแก้ว ท่านเล่าให้ฟังว่า พุทธศักราช ๒๔๐๐ มีพระเจ้าพังคราช ผู้เป็นเจ้าเมืองโยนกนาคพันธุ์ ขณะนั้นอยู่ในการปกครองของขอม เมืองกุมงคเสลา พระเจ้าพังคราชมีโอรส ๒ พระองค์ พระองค์แรกชื่อว่าทุกขิตกุมาร พระองค์ที่ ๒ ชื่อว่า พรหมกุมาร เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ขอมมิได้อนุญาตให้มีบุตรชาย ถ้ามีให้ฆ่าเสียด้วยกลัวว่าจะมาชิงเมืองคืน มเหสีของพระเจ้าพังคราชเมืองทรงพระครรภ์จึงได้หนีเข้าป่า เมือประสูติออกมาเป็นโอรสจึงมอบถวายให้ฤาษีเป็นผู้เลี้ยงดู และสอนศาสตรศิลป์ต่างๆให้ ครั้งเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้นำทัพชาวไทขับไล่ขอมจนพ้นเขตแดน แล้วจึงได้เดินทางกลับ เมื่อมาถึงฝั่งน้ำกุกนทีหรือน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปไว้ ๒ ฝั่งน้ำ ทุกขิตกุมาร สร้างพระพุทธรูปทางฝั่งซ้าย พรหมกุมารสร้างทางฝั่งขวา ทำการสักสาระบูชาแล้วเสร็จกลับไปครองบ้านเมือง ต่อมาอีก ๕๐๐ ปี สมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน เมื่อว่างจากราชกิจ ได้เสด็จไปเยี่ยมเมืองเชียงแสน อยู่เนืองๆ โดยเสด็จเส้นทางลำน้ำกก พระองค์เป็นผู้บูรณะ ปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ เข้าใจว่าเป็นสถานที่พักแรมของการสัญจรทางน้ำในขณะนั้น จากนั้นทรงสร้างเวียงขึ้นเพื่อรักษาพระพุทธรูปดังกล่าว จึงได้นามตามที่ประชาชนเรียกขาน ซึ่งตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนทวี แห่วเมืองเชียงรุ้ง อาณาจักรไทโบราณ ต่อมาเมืองนี้ล่มสลายลง มีสภาพเช่นเดียวกันกับเวียงหนองล่มหรือเกาะแม่หม้าย ภายหลังมีการบูรณปฏิสังขรณ์หลาบครั้งจนถึงสมัยพระเจ้ากือนา

 

การพัฒนาสมัยหลัง

พุทธสถานพระเจ้ากือนาก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ ปรากฏอยู่ในป่าข้างลำน้ำกก มีสถาพเป็นพระพุทธรูปสีขาวใหญ่มีต้นไม้โอบครอบด้านหลัง เห็นได้ในระยะไกล ชาวบ้านสักผักฮี้ บ้านเวียงเดิม – ไตรแก้วปัจจุบัน ได้มาสักการบูชาในประเพณีสรงน้ำวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๔ เหนือทุกปี บริเวณที่เป็นเขตพระพุทธรูป ตอนนั้น เพียงแต่ไม่กี่วา มีหนองน้ำเล็กๆอยู่ด้านข้าง ภายหลังมีผู้บุกรุกทำลายองค์พระเพื่อเอาไม้แก่นจันท์ที่อยู่ด้ายหลังองค์พระไป ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๑๒ กรมศิลปากรได้มาสำรวจองค์พระ แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ (รับทราบจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร) การบูรณะเริ่มอย่างจริงจัง เมื่อปี ๒๕๓๒ ได้มีคหบดีกลุ่มหนึ่ง นำโดยคุณพ่อธวัช คุณแม่โมรินทร์ วิบูลย์จักร ได้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งไว้ตรงหน้าหลวงพ่อใหญ่ ต่อมาได้รวบรวมปัจจัยซื้อที่ดินรอบพระพุทธรูปเพิ่มเติม ๙ ไร่ แล้วขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง และนำถวายต่อพระราชรัตนากร เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายขณะนั้น (ปัจจุบันคือ พระธรรมราชานุวัตร พระราชาคณะขั้นธรรม เจ้าคณะภาค ๖) เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ พระเดชพระคุณได้ประกาศให้สถานที่แห่งนี้เป็นพุทธสถานประจำอำเภอเวียงชัย และมอบหมายให้เจ้าอธิการจรัญ จิตุตปณุโญ เจ้าคณะตำบลเวียงเหนือขณะนั้นเป็นผู้ดูแลคณะสงฆ์ (ปัจจุบันคือ พระครูพิธานพิพัฒนคุณ รองเจ้าคณะอำเภอ เวียงชัย) ในปี ๒๕๓๘ เกิดหาอุทกภัยขึ้นในจังหวัดเชียงราย พุทธสถานพระเจ้ากือนาถูกน้ำท่วมสูงถึง ๒ เมตรจนล้นถนนด้านหน้า

 

ต่อมาคณะสงฆ์อำเภอเวียงชัยได้จัดสร้างเหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่มน้ำท่วม ๒๕๓๙ ขึ้น เพื่อบูรณะพุทธสถานและวัดต่างๆที่ถูกน้ำท่วม ส่วนของพุทธสถานได้สร้างศาลาใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญของผู้มาสักการะหลวงใหญ่ ต่อมาในปี ๒๕๔๒ พระครูพิธานพิพัฒนคุณ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของเจ้าคณะอำเภอเวียงชัย จึงได้มอบหมายให้ เจ้าอธิการบุญศรีธมุมาโร เจ้าคณะตำบลเวียงเหนือ เป็นผู้ดูแลสิบมา ( ปัจจุบันคือ พระครูวิจารณ์นวกิจ วัดโพธิ์ชัย )


โบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

การขุดพบเรือไม้ตะเคียนโบราณ

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2552 นายนอง ญาวิชัย และนายณัฐพงษ์ ศิริชัย ได้พบเรือไม้ตะเคียนโบราณ บริเวณแม่น้ำกก บ้านไตรแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และได้แจ้งให้ นายปฐมพงษ์ ฤทธิแผลง และนายไว ขจรคำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ตามลำดับ เข้ามาตรวจสอบเพื่อดำเนินการขุดเรือขึ้นจากแม่น้ำกก

ในวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลา 10.00 – 13.00 น. นายปฐมพงษ์ ฤทธิแผลง และนายไว ขจรคำ พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวน 20 คน จึงช่วยกันขุดเรือไม้ตะเคียนโบราณขึ้นมาจากแม่น้ำกก และนำมาเก็บไว้ให้ประชาชนได้ชื่นชมความสวยงามและสักการบูชา บริเวณพุทธสถานพระเจ้ากือนา เรือไม้ตะเคียนดังกล่าวมีความกว้าง 67 เซนติเมตร ความยาว 13 เมตร 46 เซนติเมตร

ต้นไม้ยาง

มีการพบไม้ยางขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี บริเวณน้ำกกใกล้ๆกับโบราณสถานพระเจ้ากือนา เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2547 ซึ่งไม้ยางนี้มีขนาดรอบลำต้น 4.1 เมตร ยาว 29 เมตร โดยขุดออกจากพื้นน้ำกกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547 และนำขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2547   ปัจจุบันได้มีการนำขึ้นมาตั้งให้ประชาชนได้สักการะบูชา ณ โบราณสถานพระเจ้ากือนา

 
 เรือโบราณ และต้นไม้ตะเคียน ที่ขุดพบบริเวณพุทธสถานพระเจ้ากือนา
องค์ หลวงพ่อใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในโบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้
 
 ทุกๆวันจะมีชาวบ้านเข้ามากราบไหว้ บูชา หลวงพ่อใหญ่ ณ โบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้
 ลานด้านหน้าหลวงพ่อใหญ่ ปัจจุบันชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกิจกรรมและศูนย์รวมของชุมชน
 
 
 
 
 
ข้อมูลติดต่อ : องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
การเดินทาง : เส้นทางที่ 1 จากเชียงราย ผ่านศูนย์ราชการ ไปทางบ้านฟาร์มสัมพันธกิจ ผ่านชุมชนไปจนถึงสะพานข้ามน้ำกก เลี้ยวขวาขึ้นสะพาน มุ่งหน้าไปทางอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ไปอีกไม่ใกล พระเจ้ากือนาจะอยู่ซ้ายมือ

หรือเส้นทางที่ 2 จากเชียงรายวิ่งผ่านถนนหน้าสนามกีฬากลาง ไปทางบ้านป่ายางมน ก่อนจะถึงแยกเลียวไปทาง อ.เวียงชัย จะมีป้ายบอกทางไปพระเจ้ากือนา

หรือเส้นทางที่ 3 ขับรถมุ่งสู่ตัวอำเภอเวียงชัย เลี้ยวซ้ายไฟแดงหน้าสถานีตำรวจ มุ่งหน้าไปทางอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ก่อนถึงเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จะมีป้ายบอกทางไปพระเจ้ากือนา

ดูตามแผนที่ประกอบ จะเข้าใจง่ายขึ้น
** พิกัดพุทธสถานพระเจ้ากือนา : 

 
แสดงความคิดเห็น

 
 Event เทศกาลและงาน เชียงราย »
ห่างกันสักพัก เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวกับ 7สถานที่ท่องเที่ยวสวยจากการท่องเที่ย
2020-05-28 14:00:53
รวมภาพพิธีถวายสักการะพระธาตุดอยตุง พิธีนมัสการและสรงน้ำ และพิธีห่มผ้าพระธาตุดอยต
2020-03-08 12:47:01
ภาพขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน ขบวนเครื่องสักการะพระธาตุดอยตุง และ 18 ชาติติพันธุ์ (0
2020-03-08 12:25:09
ประมวลภาพ พิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง เนื่องในงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยต
2020-03-08 09:33:26
  แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ »
ทัศนาอาราม งามวิจิตรตรึงใจ ณ วัดร่องเสือเต้น จ.เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
23157 views
เสพงานศิลป์ ให้ติสต์แตก @ขัวศิลปะ เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
23061 views
มนต์เสน่ห์ กาดหลวง สัมผัสวิถีชีวิตในตลาดใจกลางเมืองเชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
24756 views
วัดเชตวัน หรือ วัดพระนอน เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
24376 views
 

 
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
ส่งข้อเสนอแนะการพัฒนาเว็บไซต์
แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
สถิติ ปี 2012 | สถิติปี 2013
สถิติเว็บไซต์ ปัจจุบัน stats | histats
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012
ข้อมูลบริการ
+ ฝากประกาศข่าว + ฝากประกาศตำแหน่งงาน
+ ลงทะเบียนหางาน(ฝากประวัติ) + เพิ่มที่พัก กิน ดื่ม เที่ยว ทัวร
+ เพิ่มข้อมูลธุรกิจ (ไดเร็กทอรี่) + จองโรงแรมเชียงราย
+ เพิ่มธุรกิจบนแผนที่ออนไลน + เพิ่มโปรโมชั่น ส่วนลด
เว็บไซต์แห่งนี้รองรับการแสดงผลได้ดีสุดที่ขนาดจอภาพ 1024x768 พิกเซล บนโปรแกรมบราวเซอร์ Google Chorm หรือ Mozilla Firefox
สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2018
http://www.chiangraifocus.com
.