17 เมษายน 2018 เวลา 12:05:05 น. | ||||||||||
วัดพระสิงห์ พระอารามหลวงคู่เมืองเชียงราย |
||||||||||
วัดพระสิงห์เชียงราย (พระอารามหลวง) เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงรายมาแต่โบราณด้วยในอดีตเคยเป็นทีประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” หรือ “พระสิงห์” พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันวัดพระสิงห์มีสถานภาพเป็นพระอารามหลวงประจำจังหวัดเชียงราย สาเหตุที่วัดนี้ มีชื่อว่า “วัดพระสิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” ปัจจุบันวัดพระสิงห์เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ (หรือพระสิงห์) จำลองศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๖๖ เซนติเมตร พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมีหลักฐานปรากฏในสิหิงคนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช ๗๐๐ ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา ๑๑๕๐ ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้ พ.ศ.๑๘๕๐ ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย ๗๐ ปี พ.ศ.๑๙๒๐ ประดิษฐานที่พิษณุโลก ๕ ปี พ.ศ.๑๙๒๕ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๕ ปี พ.ศ.๑๙๓๐ ประดิษฐานที่กำแพงเพชร ๑ ปี พ.ศ.๑๙๓๑ ประดิษฐานที่เชียงราย ๒๐ ปี พ.ศ.๑๙๕๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๕๕ ปี พ.ศ.๒๒๕๐ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๑๐๕ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๘ ปี พ.ศ.๒๓๓๘ ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ – ปัจจุบัน ประประธาน พระประธานในพระอุโบสถวัดพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เนื้อสำริดปิดทอง ปางมารวิชัย สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ มีหน้าตักกว้าง ๒๐๔ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๒๘๔ เซนติเมตร ที่ฐานมีอักษรล้านนาจารึกว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา" |
||||||||||
พระอุโบสถ
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อราวจุลศักราช ๑๒๕๑ - ๑๒๕๒ (พ.ศ.๒๔๓๒ - ๒๔๓๓) ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระครูสิกขาลังการ และ พ.ศ.๒๕๓๓ โดยพระเดชพระคุณ พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระเจดีย์ พระเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ มีการบูรณะใหม่ในปี ๒๔๙๒ และบูรณะอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๓๓ แต่เดิมทาสีขาว ปัจจุบันทาสีทองเด่นเป็นสง่า ประดิษฐานอยู่ทิศตะวันตกชิดด้านหลังพระอุโบสถ “ ลออเพียงพิษณุแกล้ง เกลาทรง บานประตูหลวง บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดยศิลปินเอกผู้มีผลงานเป็นที่กล่าวขานในระดับโลก นามว่า “อ.ถวัลย์ ดัชนี” เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกาย คนเราทุกคน
พระพุทธบาทจำลอง พระพุทธบาทจำลองจำหลักบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕๐ เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณ ว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา" ปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาไทย “ จำหลักจำรัสให้ โลกเห็น หอระฆัง เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง ๒๕ นิ้ว ยาว ๓๙ นิ้ว หนา ๑ นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พลโทอัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตะ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ และปลูกไว้ ณ วัดพระสิงห์เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๖ “ ระบัดใบประดับฟ้า เฟือนจันทร์ ต้นสาละลังกา ต้นสาละลังกาเป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัด จนปัจจุบันจำนวน ๙ รูป คือ ๑. ครูบาปวรปัญญา พ.ศ. ๑๙๔๓ - ๑๙๖๒ ๒. ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. ๑๙๖๒ - ๑๙๘๕ ๓. พระอธิการอินตา พ.ศ. ๑๙๘๕ - ……… ๔. พระมหายศ พ.ศ. ………………… ๕. พระธรรมปัญญา พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๔๐ ๖. พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๗๓ ๗. พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๔๘๘ ๘. พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๒๒ ๙. พระราชสิทธินายก พ.ศ. ๒๕๒๓ - ปัจจุบัน | ||||||||||
พระสิงห์ภายในอุโบสถ | ||||||||||
คำค้น :วัดพระสิงห์เชียงราย, พระพุทธสิหิงค์เชียงราย, พระสิงห์เชียงราย, พระอุโบสถ, เจดีย์, พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง | ||||||||||
ข้อมูลติดต่อ :วัดพระสิงห์ ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 <br /> โทร 053-711735 , 053-744523 แฟกซ์ 053-744523 <br /> <a href="https://www.facebook.com/watphrasingha" target="_blank">https://www.facebook.com/watphrasingha </a> |
||||||||||
การเดินทาง : ใช้เส้นทางเดียวกับการไปวัดพระแก้ว แต่อยู่ถึงก่อนวัดพระแก้ว วัดพระสิงห์อยู่ทางด้านซ้ายมือตรงข้ามกับสำนักงาน ททท ภาคเหนือเชียงราย | ||||||||||
ภาพ และข้อมูล จาก www.chiangraifocus.com |