02 กุมพาพันธ์ 2015 เวลา 11:31:51 น. |
พุทธสถานพระเจ้ากือนา |
พุทธสถานพระเจ้ากือนา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก หมู่ที่ ๘ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของอำเภอเวียงชัย มีหลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ที่สำคัญพุทธสถานแห่งนี้ปรากฏในคำขวัญของอำเภอเวียงชัยที่ว่า “พระเจ้ากือนาลือไกล” ปัจจุบันพุทธสถานพระเจ้ากือนา สมควรที่จะได้รับการบูรณะพัฒนาให้เป็นสถานที่พักผ่อนท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน พุทธสถานพระเจ้ากือนา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชื่อว่า หลวงพ่อใหญ่พระเจ้ากือนา พระพุทธรูปองค์นี้ก่อด้วยอิฐถือปูน มีหน้าตักกว้าง ๖ ศอก สูง ๖ ศอกคืบ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๘ มีประวัติโดยย่อ คือ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช หรือพญากือนา พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาลำดับที่ ๖ แห่งราชวงศ์เม็งราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘ พระเจ้ากือนาเป็นโอรสของพระเจ้าผาชู ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าแสนภู พระเจ้าแสนภูเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าศรีชัยสงคราม พระเจ้าศรีชัยสงครามเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย วีระกษัตรย์แห่งแคว้นโยนก และล้านนาในสมัยแรกสร้าง พระเจ้ากือนาเป็นกษัตริย์ที่ทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างพระธาตุดอยสุเทพ สร้างวัดบุปผารามสวนดอก ได้นิมนต์พระสุมนเถระมาจากกรุงสุโขทัยมาตั้งปรับปรุงพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่จนรุ่งเรือง โดยที่พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน จึงไม่โปรดประทับอยู่ที่เชียงใหม่ ได้เสด็จกลับมาครองเมืองเชียงแสน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่ระลีกไว้ ณ ที่ฝั่งแม่น้ำกกนี้ พร้อมทั้งให้ข้าราชบริพารทำการสร้างบ้านแปงเมือง เรียกว่า เวียงกือนา พระพุทธรูปองค์นี้ จึงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้ากือนา ด้วยเหตุผลดังกล่าว เวียงกือนาถูกทิ้งเป็นเมืองร้างมานานเท่าไม่ปรากฏ เนื่องจากภัยสงคราม ปัจจุบันพื้นที่ ๒ ฝั่งลำน้ำกก มีปรากฏฏหลักฐานร่องรอยที่จะเชื่อมโยงไปยังเวียงกือนาในอดีต เช่น ฟากฝั่งทิศเหนือตรงข้ามพุทธสถาน มีชื่อวัดพระเจ้ากกแอ่นเวียงกือนา, หมู่บ้านเวียงกือนา ตำบลริมกก เป็นต้น ตำนานพระเจ้ากือนาเท่าที่ได้รับฟังจากผู้รู้เมื่อ ๒๐ ปีก่อน มีความเป็นมาคล้ายกัน พ่อหนานอรุณ จิตเกษมบ้านไตรแก้ว ท่านเล่าให้ฟังว่า พุทธศักราช ๒๔๐๐ มีพระเจ้าพังคราช ผู้เป็นเจ้าเมืองโยนกนาคพันธุ์ ขณะนั้นอยู่ในการปกครองของขอม เมืองกุมงคเสลา พระเจ้าพังคราชมีโอรส ๒ พระองค์ พระองค์แรกชื่อว่าทุกขิตกุมาร พระองค์ที่ ๒ ชื่อว่า พรหมกุมาร เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ขอมมิได้อนุญาตให้มีบุตรชาย ถ้ามีให้ฆ่าเสียด้วยกลัวว่าจะมาชิงเมืองคืน มเหสีของพระเจ้าพังคราชเมืองทรงพระครรภ์จึงได้หนีเข้าป่า เมือประสูติออกมาเป็นโอรสจึงมอบถวายให้ฤาษีเป็นผู้เลี้ยงดู และสอนศาสตรศิลป์ต่างๆให้ ครั้งเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้นำทัพชาวไทขับไล่ขอมจนพ้นเขตแดน แล้วจึงได้เดินทางกลับ เมื่อมาถึงฝั่งน้ำกุกนทีหรือน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปไว้ ๒ ฝั่งน้ำ ทุกขิตกุมาร สร้างพระพุทธรูปทางฝั่งซ้าย พรหมกุมารสร้างทางฝั่งขวา ทำการสักสาระบูชาแล้วเสร็จกลับไปครองบ้านเมือง ต่อมาอีก ๕๐๐ ปี สมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน เมื่อว่างจากราชกิจ ได้เสด็จไปเยี่ยมเมืองเชียงแสน อยู่เนืองๆ โดยเสด็จเส้นทางลำน้ำกก พระองค์เป็นผู้บูรณะ ปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์ เข้าใจว่าเป็นสถานที่พักแรมของการสัญจรทางน้ำในขณะนั้น จากนั้นทรงสร้างเวียงขึ้นเพื่อรักษาพระพุทธรูปดังกล่าว จึงได้นามตามที่ประชาชนเรียกขาน ซึ่งตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนทวี แห่วเมืองเชียงรุ้ง อาณาจักรไทโบราณ ต่อมาเมืองนี้ล่มสลายลง มีสภาพเช่นเดียวกันกับเวียงหนองล่มหรือเกาะแม่หม้าย ภายหลังมีการบูรณปฏิสังขรณ์หลาบครั้งจนถึงสมัยพระเจ้ากือนา การพัฒนาสมัยหลัง พุทธสถานพระเจ้ากือนาก่อนพุทธศักราช ๒๕๐๐ ปรากฏอยู่ในป่าข้างลำน้ำกก มีสถาพเป็นพระพุทธรูปสีขาวใหญ่มีต้นไม้โอบครอบด้านหลัง เห็นได้ในระยะไกล ชาวบ้านสักผักฮี้ บ้านเวียงเดิม – ไตรแก้วปัจจุบัน ได้มาสักการบูชาในประเพณีสรงน้ำวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๔ เหนือทุกปี บริเวณที่เป็นเขตพระพุทธรูป ตอนนั้น เพียงแต่ไม่กี่วา มีหนองน้ำเล็กๆอยู่ด้านข้าง ภายหลังมีผู้บุกรุกทำลายองค์พระเพื่อเอาไม้แก่นจันท์ที่อยู่ด้ายหลังองค์พระไป ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๑๒ กรมศิลปากรได้มาสำรวจองค์พระ แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ (รับทราบจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร) การบูรณะเริ่มอย่างจริงจัง เมื่อปี ๒๕๓๒ ได้มีคหบดีกลุ่มหนึ่ง นำโดยคุณพ่อธวัช คุณ ต่อมาคณะสงฆ์อำเภอเวียงชัยได้จัดสร้างเหรียญครูบาศรีวิชัยรุ่มน้ำท่วม ๒๕๓๙ ขึ้น เพื่อบูรณะพุทธสถานและวัดต่างๆที่ถูกน้ำท่วม ส่วนของพุทธสถานได้สร้างศาลาใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญของผู้มาสักการะหลวงใหญ่ ต่อมาในปี ๒๕๔๒ พระครูพิธานพิพัฒนคุณ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของเจ้าคณะอำเภอเวียงชัย จึงได้มอบหมายให้ เจ้าอธิการบุญศรีธมุมาโร เจ้าคณะตำบลเวียงเหนือ เป็นผู้ดูแลสิบมา ( ปัจจุบันคือ พระครูวิจารณ์นวกิจ วัดโพธิ์ชัย ) โบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย |
การขุดพบเรือไม้ตะเคียนโบราณ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2552 นาย ในวันที่ 30 มีนาคม 2552 เวลา 10.00 – 13.00 น. นาย |
ต้นไม้ยาง
มีการพบไม้ยางขนาดใหญ่อายุนับร้อยปี บริเวณน้ำกกใกล้ๆกับโบราณสถานพระเจ้ากือนา เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2547 ซึ่งไม้ยางนี้มีขนาดรอบลำต้น |
เรือโบราณ และต้นไม้ตะเคียน ที่ขุดพบบริเวณพุทธสถานพระเจ้ากือนา |
องค์ หลวงพ่อใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในโบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้ |
ทุกๆวันจะมีชาวบ้านเข้ามากราบไหว้ บูชา หลวงพ่อใหญ่ ณ โบราณสถานเวียงกือนาแห่งนี้ |
ลานด้านหน้าหลวงพ่อใหญ่ ปัจจุบันชาวบ้านใช้เป็นที่ทำกิจกรรมและศูนย์รวมของชุมชน |
คำค้น :พุทธสถานพระเจ้ากือนา,พระเจ้ากือนาลือไกล,เวียงกือนา,พระเจ้ากือนา,วัดพระเจ้ากกแอ่นเวียงกือนา |
ข้อมูลติดต่อ :องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย |
การเดินทาง : เส้นทางที่ 1 จากเชียงราย ผ่านศูนย์ราชการ ไปทางบ้านฟาร์มสัมพันธกิจ ผ่านชุมชนไปจนถึงสะพานข้ามน้ำกก เลี้ยวขวาขึ้นสะพาน มุ่งหน้าไปทางอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ไปอีกไม่ใกล พระเจ้ากือนาจะอยู่ซ้ายมือ หรือเส้นทางที่ 2 จากเชียงรายวิ่งผ่านถนนหน้าสนามกีฬากลาง ไปทางบ้านป่ายางมน ก่อนจะถึงแยกเลียวไปทาง อ.เวียงชัย จะมีป้ายบอกทางไปพระเจ้ากือนา หรือเส้นทางที่ 3 ขับรถมุ่งสู่ตัวอำเภอเวียงชัย เลี้ยวซ้ายไฟแดงหน้าสถานีตำรวจ มุ่งหน้าไปทางอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ก่อนถึงเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จะมีป้ายบอกทางไปพระเจ้ากือนา ดูตามแผนที่ประกอบ จะเข้าใจง่ายขึ้น |
ภาพ และข้อมูล จาก www.chiangraifocus.com |