 |
เสี่ยวเอ้อ |
วันที่ |
07 พฤษภาคม 2009 |
เวลา |
12:06:07 |
|
IP |
202.176.131.248 |
|
|
|
โดนฟ้องให้จ่ายส่วนต่างที่ไฟแนนซ์ควรจะได้
|
ได้อ่านบทความของ ทนาย บุญร่วม เทียมจันทร์ (มติชนรายสัปดาห์) ทนายท่านนี้ได้บอกว่า หากเราผ่อนรถกับไฟแนนซ์แล้ว ส่งค่างวดไม่ไหว แล้วได้ปล่อยให้บริษัทเรียกคืนทรัพย์สิน(รถ)กลับเป็นของไฟแนนซ์ดังเดิม พูดง่ายๆคือ ปล่อยให้ยึด นะแหละ ถ้า รถที่ไฟแนนซ์ยึดไปอยู่ในสภาพเรียบร้อย ใช้งานได้ดี ไม่มีข้อบกพร่องใดๆ เมื่อ ไฟแนนซ์นำรถนั้นไปประมูลขายแล้วบอกว่าได้ต่ำกว่ามูลหนี้ที่ค้างอยู่กับเรา แล้วจะเรียกเก็บส่วนต่างที่ไฟแนนซ์อ้างว่าได้รับความเสียหายนั้น ท่านว่า ไฟแนนซ์จะถือเอามาอ้างมิได้ เพราะลูกค้า(เราๆนี่แหละ) ไม่ได้ทำให้เกิดค่าเสื่อมราคา แต่มันเสื่อมราคาตามสภาพความเป็นจริงอยู่แล้ว หาใช่เป็นความผิดลูกค้าไม่ เช่น ซื้อมา จอดไว้เฉยๆ มันก็เสื่อมลงตามสภาพอยู่แล้ว อยากถามท่านทนายที่ไม่ได้เป็นทนายของไฟแนนซ์ใดๆ มาชี้แจงด้วยครับ |
|
|
ความคิดเห็นที่
1 |
|
เชียงราย |
|
11 พฤษภาคม 2009
13:31:41 |
|
|
IP :
222.123.65.55 |
|
เท่าที่ทราบมา นะครับ
ราคารถ ซื้อขาย 150,000 บาท
เอาไปเข้าไฟแนนซ์ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี เป็นเวลา 36 งวด
ค่างวด 4,028 รวมเป็นเงิน 145,008 บาท
ตามสัญญาเช่าซื้อ ระบุไว้ว่า เมื่อเจ้าของบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อแล้ว เจ้าของจะมีหนัสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนทำการขาย เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิ์ซื้อได้ตามราคาประมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิ์ซื้อและเจ้าของได้นำทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อออกขายโดยวิธีการประมูลหรือขายทอดตลาด ได้น้อยกว่าราคาประมูล หนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น หากได้ราคามากกว่าราคาประมูลหรือขายทอดตลาดหรือการขายโดยรูปแบบอื่นๆ เจ้าของจะคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ และกรณีเจ้าของบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อแล้ว ผู้เช่าซื้อยินยอมชำระค่าเสียหาย เบี้ยปรับค่าใช้จ่ายในการทวงถาม การติดตามทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ค่าทนาย ค่าใช้จ่ายอื่นใดให้แก่เจ้าของเท่าที่ได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร
3 เดือน บริษัท ส่งจดหมายครั้งสุดท้าย ให้เวลา 30 วัน นับจากได้รับ จดหมาย
4เดือน บริษัท ส่งจดหมาย ยกเลิกสัญญา ให้เวลา 7 วัน
หลังจากที่บริษัท กลับเข้าครอบครองรถ หมายถึง บริษัท ยึด หรือ คืนรถ
บริษัท จะส่งจดหมาย แจ้งการประมูล กำหนดวัน เวลา สถานที่ ประมูล
รถคันดังกล่าว ข้างต้น ไม่มีการชำระค่าวดเลย ตามที่คุณเสี่ยวเอ้อบอก
ยอดมูลค่า ฟ้องตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเงิน 145,008 บาท ไม่รวมเบี้ยปรับ
สมมุติ บริษัท ขายรถออกไป 100,000 บาท จึงไม่เพียงพอที่จะปิดบัญชี
บริษัท ฟ้อง 45,008 บาท (ไม่รวมค่า เบี้ยปรับ ค่าทนาย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
|
|
ความคิดเห็นที่
2 |
|
เสี่ยวเอ้อ |
|
18 พฤษภาคม 2009
20:51:23 |
|
|
IP :
202.176.130.139 |
|
หากจำเลยต่อสู้คดีจะทำได้ไหมครับ และส่วนใหญ่ศาลพิพากษาว่ายังไงครับ |
|
ความคิดเห็นที่
3 |
|
เจียงฮาย |
|
19 พฤษภาคม 2009
10:48:23 |
|
|
IP :
117.47.41.128 |
|
ทำได้ ครับ คุณ เสี่ยวเอ้อ
ตั้งทนายเก่งๆ ที่เคยทำคดีเกี่ยวกับ เช่าซื้อ สู้คดี แต่จะชนะต้องไปวัดกันที่ศาล
รายละเอียดการสู้ คดี ผมไม่กล้าบอก ครับ ว่าเขายก ข้อไหนมาสู้กันในชั้นศาล
คดีฟ้องแพ่ง มูลค่าหนี้ ไม่ถึง 300,000 บาท จำเลยสามารถ จบในชั้นไกล่เกลี่ยได้
แต่หากเกิน 300,000 บาท ขึ้นศาลอย่างเดียว ครับ
ทางที่ดี ขอจบในชั้นไกล่เกลี่ย ครับ เพราะหากบริษัท ฟ้องแล้ว เอกสาร หลักฐาน
ทางบริษัทฯเขาเตรียมมาอย่างเต็มที่แล้ว ครับ ...จะจบกันอย่างไร ก็คุยได้ ครับ
ในกรณี นี้ มูลค่าหนี้ ฟ้อง ไม่ถึง 300,000 ศาลจะนัดไกล่ไกลี่ย แล้วไม่ไปตามศาลนัด
ทีนี้ จะยาว ครับ ขึ้นศาลตัดสิน ...เติมจำนวนฟ้อง + ค่าทนาย + ค่าฤชาศาล +"""
แถม หากถึงขั่น คดีถึงที่สุด เจ้าหน้าที่บังคับคดี จะไปเที่ยวบ้าน..ทีนี้ ยิ่งเหนื่อยเลย ครับ
|
|
ความคิดเห็นที่
4 |
|
เจียงฮาย |
|
19 พฤษภาคม 2009
10:58:11 |
|
|
IP :
117.47.41.128 |
|
ลืมบอกไปอีกข้อ ที่ถามว่า ส่วนใหญ่ จบกันอย่างไร
อย่างที่บอก ครับ ว่า อยู่ที่จำเลย จะให้จบอย่างไร
ส่วนใหญ่ จะจบกันที่ไกล่เกลี่ย ครับ |
|
ความคิดเห็นที่
5 |
|
วันชัย |
|
09 มิถุนายน 2009
11:25:38 |
y-wiwan@hotmail.com |
|
IP :
192.168.200.239 |
|
ขอสอบถามท่านผู้รู้ คือเป็นคนค้ำประกันซื้อรถยนต์ แล้วผู้ซื้อใช้ ได้ไป 3เดือนก็ขับไปคืนไฟแนนซ์ หลังจากนั้นก็โดนฟ้องเรียกส่วนต่างจาการที่บริษัทนำไปประมูลขาย 170,000 ไม่รวมดอกเบี้ยแล้วไปศาลเซ็นยอมชดใช้ ผ่อนมาได้อีก 3 เดือนเดือนละ 2,500 หลังจากนั้นก็ขาดส่งประมาณ 8 เดือน อยากถามว่าเราจะโดนยึดทรัพย์หรือเปล่าหรือจะโดนดำเนินการอย่างไรต่อไป |
|
ความคิดเห็นที่
6 |
|
เจียงฮาย |
|
16 มิถุนายน 2009
13:18:48 |
|
|
IP :
117.47.42.219 |
|
ตอบ คุณ วันชัย หากคดีที่มีการยินยอม (เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ)
ไปตกลงกันที่ศาล จะมีเอกสารที่ออกโดยศาลจังหวัด
คดีหมายเลขดำที่......../ ๒๕........
ศาลจังหวัด....................
วันที่....................
ความแพ่ง ระหว่าง บริษัท......................... .โจรทก์
นาย....(ลูกค้า) ที่ 1 (ค้ำ) ที่ 2 (ค้ำ)ที่ 3......................................จำเลย
เรื่อง ผิดสัญญาเช่าซื้อ,ค้ำประกัน,เรียกค่าเสียหาย
ข้าพเจ้า โจทก์ - จำเลย ทั้งสาม
ขอทำสัญญาประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีข้อความตามที่กล่าวที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1 จำเลยทั้งสามยินยอมร่วมกัน หรือแทนกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องเป็นเงิน
xxx,xxx บาท(...................)บาทโดยจำเลยทั้สามตกลงผ่อนชำระให้แก่โจรทก์เป็น
รายเดือนๆละ 2,500 บาท ทุกๆวันที่.....ของเดือน เริ่มชำระงวดแรก.....เดือน....พศ..
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
หากผิดนัดชำระหนี้งวดหนึ่งงวดใดยินยอมให้โจรก์บังคับคดีได้ทันที
สัญญาจะระบุตามนี้(ในข้อ 1)ที่แนบมากับ คำพิพากษาตามยอม
หากผิดนัด........ก็ลองคิดดูว่า บริษัท จะบังคับคดีคุณหรือเปล่า ครับ
โชคดี บริษัท ตัดหนี้ o เพราะบังคับแล้วไม่คุ้ม
โชคร้ายโดนบังคับคดี เอาทรัพย์สินขายทอดตลาด ชดใช้หนี้ตามยอม
|
|
ความคิดเห็นที่
7 |
|
Jacky |
|
17 กันยายน 2009
18:29:06 |
chainarose9@gmail.com |
|
IP :
10.7.13.78 |
|
ขอคำปรึกษาถึงความเข้าใจในการคำนวณมูลค่าส่วนต่างจากการขายทอดตลาดที่แท้จริงดังนี้ค่ะ วิธีคิดของดิฉัน 1.มูลค่ารถยนต์เงินสด 630,000 บาท 2.ดอกเบี้ยรถยนต์ 5.5% 60 งวด (630,000x5.5%x5ปี)=173,250 บาท 3.รวมมูลค่ารถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งสิ้น(630,000+173,250)=803,271 บาท 4.การชำระค่าเช่าซื้อต่อเดือน (803,271/60)=13,387.85xvat 7% =14,325 บาท 5.ผ่อนชำระมาแล้ว 22 งวด (13,387.85x22)=294,532.70 (ยอดก่อนvat) 6.ราคาขายทอดตลาดที่ทางธนาคาทิสโก้แจ้ง 475,080 บาท (ราคานี้คิดว่าเป็นราคาก่อน vat ค่ะ แต่ถ้าเค้าบอกว่าเป็นราคารวม vat เราสามารถขอดูหลักฐานใบกำกับภาษีได้หรือไม่) 7.ดังนั้นยอดที่จ่ายเพิ่มคือ (มูลค่าตามสัญญา - จำนวนเงินที่ผ่อนชำระ 22 งวด - ราคาขายทอดตลาด) ( 803,271- 294,532.70-475,080) = 33,658.30 บาท 8.แต่ทางธนาคารเรียกส่วนต่างจากการขายทอดตลาดมาทั้งสิ้น 82,808 บาท 9.ค่าธรรมเนียมและเบี้ยปรับที่ธนาคารคิด(82,808 - 33,658.30)=49,150.19 บาท ทั้งนี้เมื่อดิฉันโทรไปถามกับทางธนาคาร ว่าส่วนต่าง 49,150.19 คืออะไร ก็ได้รู้ว่าทางธนาคารเค้าใช้วิธีคิดดังนี้ 1.มูลค่ารถยนต์ (803,271+vat7%)=859,500 2.มูลค่าผ่อนชำระราคารวม Vat (14,325x 22 งวด) =315,150 3.ราคาขายทอดตลาด 475,080 (ในหนังสือไม่มีบอกว่าเป็นราคาก่อน vat หรือรวม vat แต่ในความเข้าใจของดิฉันรถคันนี้สภาพดีมากถ้าถอด vat จะเหลือแค่ (475,080x100/107)=444,000 ซึ่งเป็นราคาที่ไม่น่าจะเป็นไปได้) 4.ส่วนต่างจากการขายทอดตลาด (859,500-315,150 -475,080)=69,270 บาท 5.ค่าเบี้ยปรับที่ธนาคารคิด (82,808-69,270) =13,538 บาท จากเรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้ดิฉันจึงขอปรึกษาดังนี้ค่ะ 1.ดิฉันสามารถขอดูเอกสารใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี ที่ทางธนาคารขายทอดตลาดได้หรือไม่ เพื่อจะได้รู้ว่านั่นเป็นราคารวม vat หรือไม่ 2.ธนาคารแจ้งว่าคิดดอกเบี้ยล่าช้า 15% ดิฉันขอต่อรองให้ลดเหลือ 7.5% แต่ทางธนาคารไม่ยอม และบอกว่าเขาคิดตามกฏหมายกำหนดจริงหรือไม่ 3.และดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อ 60 งวด เป็นเงิน 173,250 ดิฉันขอลดดอกเบี้ยในอนาคตที่เหลือ 38งวด(173,250/60x38)=109,725 เหลือเพียง 50% ได้เหมือนที่กฏหมายกำหนดกรณีผู้เช่าซื้อนำเงินสดมาปิดยอดเช่าซื้อก่อนกำหนดได้หรือไม่ ซึ่งจากที่ดิฉันคำนวนดูดอกเบี้ยอนาคตที่เหลือนี้ถ้าให้คิดเต็มจำนวนมันไม่ยุติธรรมสำหรับผู้บริโภค เพราะ ธนาคารได้เงินไปดังนี้ 3.1 (เงินสดจากการขายทอดตลาด + จำนวนเงินที่ผ่อนชำระมาทั้งหมด 22 งวด) =(475,080+294,532.70) เป็นเงินสดที่ธนาคารรับไปทั้งสิ้น 769,612.70 3.2 ธนาคารได้กำไรทั้งสิ้น (769,612.70 - ราคาเงินสดที่จ่ายให้เต็นท์ 630,000)=139,612.70บาท 3.3 ธนาคารบวกเพิ่มเงินส่วนต่างที่เรียกเก็บจากผู้ค้ำอีก 82,808 ก็เท่ากับธนาคารได้กำไรจากการขายรถที่ถูกยึดทั้งสิ้น (139,612.70+82,808)=222,420.70 3.4 ธนาคารได้กำไรมากกว่าดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด(222,420.70-173,250)=49,170.70 4.ดิฉันสามารถยกกำไรทั้งหมดที่ธนาคารได้รับนี้เป็นข้ออ้างไม่จ่ายส่วนต่างที่ทางธนาคารเรียกเก็บเพิ่มได้หรือไม่ เพราะยังไงธนาคารก็มีกำไรอยู่แล้ว 5.ถ้าดิฉันไม่มีเงินสดจะจ่ายถึง 82,808 ดิฉันจะขอประนอมหนี้โดยการขอผ่อนชำระเป็นรายเดือน แต่ให้หยุดการคิดดอกเบี้ย 15% นี้ได้หรือไม่ |
|
ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่
ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php
|