|
เจ้ากำกึด |
วันที่ |
03 กรกฏาคม 2009 |
เวลา |
09:01:11 |
garavig@hotmail.com |
IP |
117.47.46.234 |
|
|
|
เอาเรื่องกบฎเงี้ยวมาฝาก
|
ประวัติความเป็นมาในเรื่องของกฎเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ในยุค อดีตที่ผ่านมา จุลศักราช 1264 พ.ศ. 2445 ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงกำกับการปกครองเมืองแพร่อยู่นั้น ปรากฏว่ามีพวกเงี้ยวหรือไทยใหญ่ได้คบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กบฎเงี้ยว วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 เวลาประมาณ 7 นาฬิกา พวกไทยใหญ่นำโดยพะกาหม่อง และสลาโปไชย หัวหน้าพวกโจรเงี้ยวนำกองโจรประมาณ 40 50 คน บุกเข้าเมืองแพร่ทางด้านประตูชัยจู่โจมสถานีตำรวจเป็นจุดแรก ขณะนั้นสถานีตำรวจเมืองแพร่มีประมาณ 12 คน จึงไม่สามารถต้านทานได้ กองโจรเงี้ยวเข้ายึดอาวุธตำรวจแล้วพากันเข้าโจมตีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โจรเงี้ยวได้ตัดสายโทรเลข และทำลายอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เพื่อตัดปัญหาการสื่อสาร ครั้นแล้วก็มุ่งหน้าสู่บ้านพักข้าหลวงประจำเมืองแพร่ แต่ก่อนที่กองเงี้ยวจะไปถึงบ้านพักข้าหลวงนั้นพระยาไชยบูรณ์ ( ทองอยู่ สุวรรณบาตร ) ได้พาครอบครัวพร้อมด้วยคุณหญิงเยื้อน ภริยาหลบหนีออกจากบ้านพักไปก่อนแล้ว พวกโจรเงี้ยวไปถึงบ้านพัก ไม่พบพระยาไชยบูรณ์ จึงบุกเข้าปล้นทรัพย์สินภายในบ้านพักข้าหลวงและสังหารคนใช้ที่หลงเหลืออยู่จนหมดสิ้น จากนั้นจึงยกกำลังเข้ายึดที่ทำการเข้าสนามหลวงทำลายคลังหลวงและกวาดเงินสดไปทั้งหมด 37 อัฐ หลังจากนั้นพวกเงี้ยวก็มุ่งตรงไปยังเรือนจำ เพื่อปล่อยนักโทษเป็นอิสระ พร้อมกับแจกจ่ายอาวุธให้กับนักโทษเหล่านั้น ทำให้พวกกองโจรเงี้ยวได้กำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีก จนภายหลังมีกำลังถึง 300 คน ในระหว่างที่กองเงี้ยวเข้าโจมตีสถานที่ราชการต่าง ๆ อยู่นั้นราษฏรเมืองแพร่ตื่นตกใจกันมากบางส่วนได้อพยพหลบออกไปอยู่นอกเมืองทันที กองโจรเงี้ยวจึงประกาศให้ราษฏรอยู่ในความสงบ เพราะพวกตนจะไม่ทำร้ายชาวเมืองจะฆ่าเฉพาะคนไทยภาคกลางที่มาปกครองเมืองแพร่เท่านั้น ราษฏรจึงค่อยคลายความตกใจและบางส่วนได้เข้าร่วมกับพวกกองโจรเงี้ยวก็มีทำให้กองโจรเงี้ยวทำงานคล่องตัวและมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ขณะเดียวกันพระยาไชยบูณ์ ซึ่งพาภริยา คือคุณหญิงเยื้อน หลบหนีออกจากบ้านพัก ตรงไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ หวังขอพึ่งกำลังเจ้าเมืองแพร่ หรือเจ้าหลวงเมือง แพร่ คือ พระยาพิริยวิไชย เมื่อไปถึงคุ้มเจ้าหลวง เจ้าหลวงเมืองแพร่กล่าวว่า จะช่วยอย่างไรกัน ปืนก็ไม่มี ฉันก็จะหนีเหมือนกัน พระยาไชยบูรณ์ ตัดสินใจพาภริยาและหญิงรับใช้หนีออกจากเมืองแพร่ไปทางบ้านมหาโพธิ์ เพื่อหวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นมาปราบ ส่วนเจ้าเมืองแพร่นั้น หาได้หลบหนีตามคำอ้างไม่ ยังคงอยู่ในคุ้มตามเดิม ตอนสายของวันที่ 25 กรกฎาคม เมื่อกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้แล้ว พะกาหม่องและสลาโปไชย ก็ไปที่คุ้มเจ้าหลวง เพื่อเชิญให้เจ้าเมืองแพร่ปกครองบ้านเมืองตามเดิม ก่อนจะปกครองเมือง พะกาหม่องได้ให้เจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานทำพิธีถือน้ำสาบานก่อน โดยมีพระยาพิริยวิไชย เป็นประธานร่วมด้วยเจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม และเจ้านายบุตรหลานอื่น ๆ รวม 9 คน ในพิธีนี้ มีการตกลงร่วมกันว่า จะร่วมกันต่อต้านกองทัพของรัฐบาล โดยพวกกองโจรเงี้ยวเป็นกองหน้าออกสู้รบเอง ส่วนเจ้าเมืองและคนอื่น ๆ เป็นกองหลังคอยส่งอาหารและอาวุธตลอดทั้งกำลังคน วันที่ 26 กรกฎาคม พวกกองเงี้ยวเริ่มลงมือตามล่าฆ่าข้าราชไทยและคนไทยภาคกลางทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือสตรีที่หลบหนีไปโดยประกาศให้รางวัลนำจับ เฉพาะค่าหัวพระยาไชยบูรณ์ และพระเสนามาตย์ยกบัตรเมืองแพร่ คนละ 5 ชั่ง นอกนั้นลดหลั่นลงตามลำดับความสำคัญ วันที่ 27 กรกฎาคม พระยาไชยบูรณ์ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลา 3 วัน กับ 2 คืน โดยหลบซ่อนอยู่บนต้นข่อยกลางทุ่งนา ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านร่องกาศ ได้ออกจากที่ซ่อน เพื่อขออาหารจากชาวบ้านร่องกาศ ราษฎรคนหนึ่งในบ้านร่องกาศชื่อ หนานวงศ์ จึงนำความไปแจ้งต่อพะกาหม่อง เพื่อจะเอาเงินรางวัล พะกาหม่องนำ กำลังไปล้อมจับพระยาไชยบูรณ์ทันที จับตัวได้ก็คุมตัวกลับเข้าเมืองแพร่ และได้บังคับขู่เข็ญพระยาไชยบูรณ์ตลอดทาง พระยาไชยบูรณ์จึงท้าทายให้พวกโจรเงี้ยวฆ่าตนเสียดีกว่า ดังนั้นพอมาถึงทางระหว่างร่องกวางเคา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ ถนนยันตรกิจโกศล ขึ้นอยู่กับ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่) โจรเงี้ยวคนหนึ่งชื่อ จองเชิน จึงคิดฆ่าพระยาไชยบูรณ์ทันที นอกจากพระยาไชยบูรณ์แล้ว พวกเงี้ยวยังได้จับข้าราชการไทยอีกหลายคนฆ่า ที่สำคัญได้แก่ พระเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วย ขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง นายเฟื่อง ผู้พิพากษา นายแม้น อัยการ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีในอำเภอต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเข่นฆ่าข้าราชการไทยครั้งยิ่งใหญ่จริง ๆ ในภาคเหนือ ทางรัฐบาลไทยได้ส่งกองทัพจากเมืองใกล้เคียง เช่น พิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่เข้ามาปราบปรามพวกกองโจรเงี้ยวในเมืองแพร่พร้อมกันทุกด้าน และยังได้มอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) นำกองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามพร้อมทั้งให้ดำเนินการสอบสวนสาเหตุการปล้นครั้งนี้ด้วย และให้ถือว่าเป็น กบฎ ด้วย ดังนั้นจึงเรียกว่า กบฎเงี้ยวเมืองแพร่ ส่วนพวกกองโจรเงี้ยว เมื่อสามารถก่อการกบฎได้สำเร็จ ก็ไม่ได้ตระเตรียมกำลังป้องกันแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ 1 สิ่งหาคม พ.ศ.2445 เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพรัฐบาลจะมาปราบปราม จึงได้แบ่งกำลังออกเป็น 2 กอง กองหนึ่งนำโดยสะลาโปไชยยกกำลังไปทางด้านใต้เพื่อขัดตาทัพรัฐบาลที่ส่งมาอีกกองหนึ่ง นำโดยพะกาหม่อง ยกกำลังไปทางด้านตะวันตก เพื่อโจมตีนครลำปาง หวังยึดเมืองเป็นฐานกำลังอีกแห่งหนึ่ง การโจมตีนครลำปางนั้น พวกกองโจรเงี้ยวต้องประสบกับความผิดหวังเพราะนครลำปางรู้เหตุการณ์และเตรียมกำลังไว้ต่อสู้อย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเงี้ยวไปถึงนครลำปางในวันที่ 3 สิงหาคม จึงถูกฝ่ายนครลำปางตีโต้กลับ ทำให้กองโจรเงี้ยวแตกพ่ายกระจัดกระจายไปตัวผู้นำคือพะกาหม่องต้องสูญเสียชีวิต เพราะถูกยิงในระหว่างการต่อสู้ ส่วนพวกกองโจรเงี้ยวที่นำโดยสะลาโปไชยนั้น ในระยะแรกสามารถสกัดทัพเมืองพิชัยไว้ได้ชั่วคราว แต่ก็ไม่สามารถต้านทางทัพเมืองสวรรคโลก และสุโขทัยได้ จึงถอยกลับไปตั้งหลักที่เมืองแพร่ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม แต่ในที่สุดพวกโจรเงี้ยวก็หนีกระจัดกระจายไป เพราะต่อสู้ไม่ไหว ดังนั้น ในวันที่ 14 สิงหาคม พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) ผู้ว่าราชการเมืองพิชัย จึงนำกองกำลังตำรวจภูธรและทหารจำนวนหนึ่งบุกเข้าเมืองแพร่ได้สำเร็จ วันที่ 20 สิงหาคม เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ก็นำทัพหลวงถึงเมืองแพร่ หลังจากเหตุการณ์สงบลงหลายวันแล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงทำการสอบสวนความผิดผู้เกี่ยวข้องทันที ขั้นแรก ได้สั่งจับตัวชาวเมืองแพร่ ราษฎรบ้านร่องกาศ คือ หนานวงศ์ ที่หวังเงิน รางวัลนำจับพระยาไชยบูรณ์มาประหารชีวิตเป็นเยี่ยงอย่างก่อน ขั้นที่สอง สั่งให้จับตัว พญายอด ผู้นำจับหลวงวิมลมาประหารชีวิตอีกคนหนึ่ง จากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้สอบสวนพยานหลายคนโดยยึดถือตามแนวนโยบายที่กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงกำชับไว้ คือ ไม่ให้ตั้งข้อสงสัย หรือกล่าวหาเจ้าเมืองแพร่ และเจ้านายบุตรหลานล่วงหน้า เมื่อสอบสวนพยานเสร็จไปหลายคน ก็พบหลักฐานต่าง ๆ ผูกมัดเจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานบางคน เช่น เจ้าราชบุตรเจ้าไชยสงครามอย่างแน่นหนาว่า มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับกบฎครั้งนี้ ดังคำให้การของพระยาเขื่อนขัณฑ์อดีตนายแคว้น (กำนัน) เมืองสอง เป็นคนที่เจ้าเมืองแพร่ไว้วางใจ ได้กล่าวให้การไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าแพร่พูดว่า เมืองแพร่ต่อไปจะไม่เป็นของไทยนานเท่าใด จะต้องเป็นเมืองของเงี้ยว เจ้าแพร่จะคิดให้พะกาหม่อง สะลาโปไชย ซึ่งเป็นหัวหน้าเงี้ยวบ่อแก้วเข้ามาตีปล้นเมืองแพร่ พวกเงี้ยวจะจับคนไทยฆ่าเสียให้หมด แต่พะกาหม่องและสะลาโปไชยจะยกเข้าตีเมืองแพร่เมื่อใดยังไม่มีกำหนด ถ้าจะให้พะกาหม่องและสะสลาโปไชยยกเข้าตีเมืองแพร่วันใดจะได้มีหนังสือไปนัด พะกาหม่อง และสะลาโปไชยทราบ เจ้าแพร่ได้สั่งว่า ข้าพเจ้าว่า เมื่อออกนอกราชการแล้ว อย่ามาเที่ยวเกะกะวุ่นวายทำราชการกับไทย เมื่อเงี้ยวมันเข้าตีบางทีจะถูกปืนตายเสียเปล่า ผู้ที่ร่วมคิดให้เงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่คราวนี้ เจ้าหลวงบอกข้าพเจ้าว่า พระยาราชบุตรพระไชยสงคราม เป็นผู้ร่วมคิดด้วย นอกจากนั้น ก่อนที่พวกโจรเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ ก็ได้ส่งข่าวมาบอกเจ้าเมืองแพร่ไว้แล้ว ดังคำให้การของหลวงจิตรจำนงค์ เจ้าของสัมปทานป่าไม้มีความว่า พระไชยสงครามไปที่บ้านข้าพเจ้าว่า วันที่ 24 กรกฎาคม เวลากลางคืนประมาณ 3 ทุ่มเศษ พวกเงี้ยวมีหนังสือมาบอกเจ้าแพร่ว่า ถ้าในกลางคืนนี้ไม่ทัน ก็จะยกเข้าปล้นเวลาเช้ามืด เจ้าเมืองแพร่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจึงได้ป้องกันภัยแก่ญาติและคนสนิท ดังนายส่าง กราบ ผู้ดูแลคุ้มหลวงได้ให้การไว้ตอนหนึ่งว่า ครั้นข้าพเจ้าเข้านอนเฝ้าคุ้มหลวงได้ 6 คืน เจ้าหลวงก็บอกข้าพเจ้าว่า พวกเงี้ยวจะพากันเข้ามาปล้นเมืองแพร่วันพรุ่งนี้รู้หรือเปล่า ข้าพเจ้าบอกว่าไม่รู้ เจ้าหลวงจึงบอกข้าพเจ้าให้ไปเอาปืน 12 นัดที่บ้านพระไชยสงครามมาป้องกันตัวไว้ 1 บอก ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม นั้นเจ้าเมืองแพร่ก็ได้เรียกตัว เจ้าพลอยแก้ว หลานสาว ซึ่งไปคลุกคลีอยู่ในบ้านพักข้าหลวงกับคุณหญิงเยื้อน ภริยาของพระยาไชยบูรณ์ ให้กลับคุ้มด่วน เพราะเกรงอันตรายจากพวกเงี้ยวจะเกิดแก่เจ้าพลอยแก้ว เมื่อพวกกองโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่สำเร็จแล้ว เจ้าเมืองแพร่ได้แสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนพวกโจรเงี้ยวอย่างเด่นชัดโดยเกณฑ์ข้าวสารชาวบ้านหลังคาละ 2 ทะนาน อาวุธปืนกระสุนดินดำ เงิน และกองกำลังจำนวน 50 คน ส่งไปช่วยพะกาหม่องต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล จากหลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวมาทำให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เข้าใจว่า เจ้าเมืองแพร่ เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฎขึ้นอย่างแน่นอน และเชื่อว่าต้องมีการตระเตรียมการล่วงหน้ามาช้านานพอสมควร ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจะได้ชำระความผิดผู้ใด เจ้าราชวงศ์และภริยา ก็ตกใจกลัวความผิด ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อน เพราะได้ข่าวลือว่ารัฐบาลจะประหารชีวิตผู้เกี่ยวข้องกับขบฎเงี้ยวทุกคน เมื่อเกิดอัตวินิบาตกรรมขึ้นเช่นนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเกรงว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจผิดกันว่า รัฐบาลกระทำการรุนแรงต่อเจ้านายเมืองแพร่ ครั้นจะสืบหาพยานต่อไปอีก หลักฐานก็จะผูกมัด เจ้าเมืองแพร่และเจ้านายบุตรหลานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้นจนในที่สุดจะต้องถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหากบฎอย่างแน่นอน หากคดีจบในรูปนั้นย่อมกระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือทุกเมือง เพราะต่างเกี่ยวพันธ์ฉันท์ญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน ทั้งยังสร้างความสะเทือนใจแก่ราษฎรทั้งหลายในลานนาไทย ดังนั้นเจ้าพระยาสุรศักด์มนตรี จึงพยายามคิดวิธีละมุนละม่อมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งต้องการใช้วิธีผ่อนปรนต่อเจ้านายเมืองแพร่ ขณะเดียวกันก็พยายามให้เจ้าเมืองแพร่ตื่นตกใจหนีเข้าพึ่งอิทธิพลอังกฤษอันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศได้ ในที่สุด เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ก็ใช้วิธีปล่อยข่าวว่า จะมีการจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่และเจ้าราชบุตร ข่าวลือนี้ได้ผล เพราะตอนดึกคืนนั้นเจ้าเมืองแพร่พร้อมด้วยคนสนิทอีกสองคนก็หลบหนีออกจากเมืองแพร่ทันที อย่างไรก็ดี การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่ในคืนนั้นได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี โดยมีคำสั่งลับมิให้กองทหารที่ตั้งสกัดอยู่รอบเมืองแพร่ขัดขวาง ทำให้การหลบหนีของเจ้าเมืองแพร่เป็นอย่างสะดวกจนถึงหลวงพระบางอย่างปลอดภัย เมื่อเจ้าเมืองแพร่หนีไปได้ 15 วัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ จึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสามารถออกคำสั่งถอดเจ้าพิริยเทพวงศ์ออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ทันที พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฎก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่คนสุดท้ายได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง จนถึงแก่พิราลัย สำหรับเจ้าราชบุตร ผู้เป็นบุตรเขยเจ้าเมืองแพร่นั้น มีพยานหลักฐานและพฤติการณ์บ่งชัดว่าได้รู้เห็นเป็นใจกับพวกเงี้ยวเพราะโดยหน้าที่เจ้าราชบุตรเป็นร้อยตำรวจเอก จะต้องนำกำลังออกต่อสู้ต้านทานพวกโจรเงี้ยวแต่ปรากฎว่า ราชบุตรไม่ได้ทำหน้าที่อันควรกระทำ กลับไปทำสิ่งตรงกันข้าม คือ เป็นผู้เกณฑ์กำลังออกไปสนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ทั้งยังส่งกระสุนดินดำพร้อมเสบียงอาหารให้พวกเงี้ยว พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นความผิดขั้นรุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจาก รัฐบาลมีนโยบายหลีกเลี่ยงการประหารชีวิตเพราะไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าราชบุตรเป็นบุตรชายเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน หากกระทำตามกฎเกณฑ์ ก็จะกระทบกระเทือนใจเจ้าเมืองน่าน ดังนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงสั่งให้ร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ อันเป็นวิธีสร้าง ความดีลบล้างความผิด ซึ่งร้อยตำรวจเอกเจ้าราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จ คือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก ในปีต่อมา พ.ศ.2446 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่านได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรไปรับราชการที่เมืองน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัย อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย เมื่อพิจารณา สาเหตุกบฎเงี้ยวเมืองแพร่ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ ประการแรก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในเมืองแพร่ นับตั้งแต่ช่วงจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นตอนที่รัฐบาลยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราช และรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ดังจะเห็นได้ว่าฐานะทางการเมืองนั้น เจ้าเมืองมีแต่เกียรติยศ ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะอำนาจสิทธิ์ขาดตกเป็นของข้าหลวงซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง ในทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกตัดทอนผลประโยชน์ลงสร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมือง และเจ้านายาบุตรหลานทั้งหลายในแต่ละเมือง จึงปรากฎปฏิกิริยาออกมา ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่นที่เชียงใหม่ เจ้านายบุตรหลานไม่พอใจเรื่องลดผลประโยชน์เป็นอันมาก เมืองแพร่ตกอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากในช่วงที่พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ.2442 ได้จัดการอย่างรุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่น ๆ โดยไม่คำนึงถึงว่า เมืองแพร่เพิ่งจะจัดการปกครองเป็นครั้งแรก พ.ศ.2437 ในครั้งนั้น ด้านการคลังพระยาทรงสุรเดชยังผ่อนปรน ไม่ได้แบ่งเงินผลประโยชน์ของเจ้าเมืองออกจากเงินแผ่นดิน ดังนั้น เจ้าพิริยเทพวงศ์ จึงเก็บรักษาเงินปนกันหมด และนำเงินบางส่วนแจกจ่ายในกิจการป่าไม้ ของตนเอง โดยเข้าใจว่าเป็นเงินของตน เมื่อพระยาศรีมหเทพตรวจสอบการเงิน ก็พบว่าเงินหลวงขาดไป จึงสั่งกักขังเจ้าเมืองแพร่ไว้จนกว่าจะหาเงินมาชดใช้ให้ครบ ภายใน 24 ชั่วโมง เจ้านายบุตรหลานต้องหาเงินมาชดใช้จนครบ เจ้าเมืองแพร่จึงได้รับการปล่อยตัว นับเป็นการกระทำที่บีบคั้นจิตใจและไม่ให้เกียรติกัน นอกจากนั้นยังกำหนดอัตราการใช้จ่ายเงินของเจ้าเมืองแพร่ไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพราะฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนกระทั่งกำหนด ให้ใช้เงินเพียงเดือนละ 2,000 บาท และจะต้องขอยืมจากท้องพระคลังก่อน ประการที่สอง เนื่องจากเงี้ยวชาวเมือง และราษฎรพื้นเมืองให้การสนับสนุนกองโจรเงี้ยว การโจมตีเมืองแพร่ มิใช่มีแต่บรรดาเจ้านายเมืองแพร่เท่านั้นที่สนับสนุนพวกโจรเงี้ยว ชาวเมืองก็จับอาวุธขึ้นช่วยเหลือกองโจรเงี้ยวด้วย ทั้งนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากชาวเงี้ยวซึ่งเป็นกลุ่มน้อยจากรัฐฉาน เข้ามาอาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในมณฑลพายัพเป็นเวลานานแล้ว พวกเงี้ยวส่วนใหญ่มักเป็นผู้ทำมาหากินตามปกติ และปะปนอยู่กับชาวบ้านเมืองแพร่ ทำให้มีความสนิทสนมกันเป็นอันดีเมื่อเกิดความทุกข์ยากลำบากใจ จึงร่วมมือสนับสนุนทันที
|
|
|