|
พอนหล้า |
วันที่ |
08 สิงหาคม 2008 |
เวลา |
23:14:34 |
|
IP |
222.123.211.36 |
|
|
|
เตือนภัยชาวบ้าน กินเห็ดพิษอาจถึงตาย!!
|
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามชนบทใน จ.เชียงใหม่ นอกจากจะทำนาแล้วยังมีการหารายได้หลังจากว่างเว้นการทำไร่ไถนา คือการเก็บเห็ดป่าขาย โดยเฉพาะในระยะนี้พื้นที่ อ.ฮอด อ.จอมทอง อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม อ.ดอยสะเก็ด และอีกหลาย ๆ อำเภอ จะมีเห็ดป่าขึ้นตามป่าเป็นจำนวนมาก มีทั้งเห็ดที่กินได้ และเห็ดที่กินไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่เก็บเห็ดมาขายหรือนำมาปรุงเป็นอาหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และมีความชำนาญ และที่สำคัญจะต้องเป็นคนในพื้นที่เท่านั้นจึงจะมีความปลอดภัยที่จะนำเห็ดนั้นมารับประทาน เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว เมื่อหลายวันก่อน เห็นตามถนนหนทางแม้กระทั่งในตลาดในเมืองเชียงใหม่มีพ่อค้าแม่ค้าต่างนำเห็ดมาวางขาย ซึ่งเท่าที่สอบถามจะเป็นเห็ด ดำเห็ดแดง เห็ดขมิ้น เห็ด ไข่ห่านไข่เหลือง หรือเห็ดระโงกหิน ประเภทไม่มีพิษ และเห็ด หล่ม หรือเห็ดหอม เห็ดพวกนี้ ชาวบ้านมักนำไปปรุงเป็นอาหารประเภท ทอด ผัด ต้ม ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบอันตรายจากการรับประทานเห็ดป่าในระยะนี้
ชาวบ้านรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เห็ดบางชนิดจะสังเกตได้ง่ายว่าเป็นเห็ดพิษหรือเห็ดไม่มีพิษ สามารถที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารได้ โดยเท่าที่มีความรู้จากบรรพบุรุษที่สั่งสอนกันเป็นทอด ๆ หากไม่มีความมั่นใจว่าเห็ดนั้นกินได้หรือเห็ดมีพิษสามารถทดสอบเห็ดพิษด้วยวิธีการของชาวบ้านถึงแม้จะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็จัดว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่จะใช้ตรวจสอบว่าเห็ดชนิดไหนรับประทานได้ ชนิดไหนเป็นเห็ดพิษ ซึ่งจะนำมาใช้ได้เป็นบางส่วนหรือในบางโอกาส ดังต่อไปนี้
1. นำข้าวสารมาต้มกับเห็ด ถ้าไม่เป็นพิษข้าวสารจะสุก ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ
2. ใช้ช้อนเงินคนต้มเห็ด ถ้าช้อนเงินกลายเป็นสีดำ จะเป็นเห็ดพิษ
3. ใช้ปูนกินหมากป้ายดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ
4. ใช้หัวหอมต้มกับเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะเป็นสีดำ
5. ใช้มือถูเห็ดจนเป็นรอยแผล ถ้าเป็นพิษรอยแผลนั้นจะเป็นสีดำ แต่เห็ดแชมปิญญองเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เมื่อเป็นแผลก็จะเป็นสีดำ
6. ดอกเห็ดที่มีรอยแมลงและสัตว์กัดกิน เห็ดนั้นไม่เป็นพิษ แต่กระต่ายและหอยทากสามารถกินเห็ดพิษได้
7. เห็ดที่เกิดผิดฤดูกาล มักจะเป็นพิษ แต่ในทุกวันนี้สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดปี
8. เห็ดพิษมักจะมีสีฉูดฉาด เห็ดรับประทานได้จะมีสีอ่อนการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ หากพบผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว เพื่อเอาเศษอาหารที่ ตกค้าง ออกมาให้มากที่สุด หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่นดื่มจะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แล้วให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน
สำหรับเห็ดที่ขึ้นในฤดูฝนในภาคเหนือ เห็ดระโงกหิน เห็ด ไข่ตายซาก ( ฮาก) เห็ดชนิดนี้มีสีขาวล้วน เมื่อยัง อ่อนมีเปลือกหุ้มสีขาวคล้ายเปลือกไข่ซึ่งด้านบนฉีกขาดออกเมื่อเห็ดเจริญโตขึ้น หมวกเห็ด เป็นรูปกระทะคว่ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ผิวมักจะมีเศษของเปลือกหุ้มดอกอ่อนที่ปริแตกออกเป็นชิ้นบางๆ ติดอยู่บางส่วนซึ่งหลุดหายไปได้ง่าย ด้านล่างมีครีมสีขาวเรียงกันรอบก้านแต่ไม่ยึดติดกับก้าน ก้าน ยาว 5-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 1.5 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก ผิวเรียบ โคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะใหญ่และมีส่วนล่างของเปลือกหุ้มดอกอ่อนติดอยู่ที่โคนเป็นรูปถ้วย บนก้านดอกบนมีวงแหวนเป็นแผ่นบางสีขาวซึ่งหลุดได้ง่าย สปอร์ สีขาว รูปรีกว้าง ผิวเรียบ ผิวบาง ขนาด 8-11 x 7-9 ไมโครเมตรเห็ดชนิดนี้เกิดเป็นดอกเดี่ยวในป่าเบญจพรรณ อย่างไรก็ตามแพทย์สาธารณสุขออกมาเตือนชาวบ้านไว้ว่าหากไม่มีความรู้หรือไม่รู้จักเห็ดดีพอก็ไม่สมควรที่จะนำเห็ดมาปรุงเป็นอาหารเพราะไม่เช่นนั้นอาจจะได้รับอันตรายจากการรับประทานเห็ดขั้นรุนแรงเสียชีวิตได้.
ที่มา เชียงใหม่นิวส์
|
|
|
ยังไม่มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่
ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php
|