|
น้องอร..SCNYL |
วันที่ |
09 สิงหาคม 2008 |
เวลา |
19:40:46 |
aon0111@hotmail.com |
IP |
118.172.66.133 |
|
|
|
เส้นทางเจ้าสัวเริ่มต้น เมื่อเริ่มออม
|
เมื่อพูดถึงเจ้าสัว คิดว่าใครๆ ก็คงต้องการที่จะเป็นกันทั้งนั้น เราจะเห็นได้ว่าคนที่เรียกว่าระดับเจ้าสัวแล้วส่วนใหญ่ก็จะต้องทำงานหนัก ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามรูปแบบชีวิตของแต่ละคน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ก่อนที่จะรวยและเป็นเจ้าสัวนั้นเกือบทุกคนจะต้องผ่านขึ้นตอนการทำงานหนัก และต้องรู้จักเก็บออมสำหรับนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น
วันนี้ถึงแม้ว่าเราออมเงินแล้วอาจจะไม่ทำให้ถึงขั้นรวยได้ แต่รับรองว่าการออมจะทำให้ชีวิตของเราสบายขึ้นด้วยการมีวินัยในการออมที่ดี
หลายคนสงสัยว่ามีเงินเท่าไหร่จึงจะพอ สำหรับใช้จ่ายเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลักที่เป็นสากล และสามารถคำนวณได้ง่ายๆ คือ
1/10 * อายุ * เงินได้ทั้งปี
จำนวนนี้อาจมากไปสำหรับบางท่านแต่ก็น่าจะเป็นหลักคิดให้เราได้อย่างดี เพราะอย่างน้อยถ้าตั้งเป้าหมายเอาไว้สูงและทำได้ใกล้เคียงก็ถือว่าดีกว่าทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ตำเกินไป เห็นอย่างนี้แล้วเริ่มออมเงินได้เลยดีกว่าไหมค่ะ??
**โอกาสหน้าจะมาพูดถึงทำไมออมก่อนถึงรวยกว่า...สวัสดีค่ะ*** |
|
|
ความคิดเห็นที่
1 |
|
ออม |
|
10 สิงหาคม 2008
02:06:31 |
|
|
IP :
117.47.47.224 |
|
เห็นด้วย การออมทำให้เรามีเงินเก็บ แต่จะมีวิธีออมอย่างไรเพื่อที่จะไม่ต้องควักเงินออมมาใช้อีก |
|
ความคิดเห็นที่
2 |
|
คนไทยรึปล่าว.ว..ว...ว |
|
11 สิงหาคม 2008
13:41:02 |
|
|
IP :
222.123.135.214 |
|
เป็นไปไม่ได้ ..ไร้สาระ .สำหรับเมืองไทยเพราะโครงสร้างรายได้และรายจ่ายของคนไทยไม่สมเหตุสมผลกัน เช่น คนกินเงินเดือน 10,000- / เดือน แต่ผ่อนรถ เดือนละ 8,000- (นี่ยังไมรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆในชีวิตประจำวันอีก) คนไทยอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะ 1.สมบัติเก่า(ขายของเก่ากิน) 2.สมบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ( +++้ ) น่าเศร้าไหมครับพี่น้องชาวไทยทุกๆคนเอ๋ย |
|
ความคิดเห็นที่
3 |
|
เชียร์คนไทยด้วยกัน |
|
13 สิงหาคม 2008
08:54:36 |
|
|
IP :
118.172.69.125 |
|
แนวคิดนี้ใช้ได้เฉพาะคนที่มีพื้นฐานครอบครัวที่มั่นคงเท่านั้นครับ ถ้าใครไม่มีพื้ฐานครอบครัวที่ดีแล้วเลิกคิดได้เลยว่าคุณจะเก็บออมได้คุณจะต้องจ่ายทั้งนั้น เช่นค่าน้ำ,ค่าไฟ,ค่าอาหาร,ค่าเดินทาง,ค่าสังคมอื่นๆถ้าคุณไม่มีรายจ่ายพวกนี้ก็ว่าไปอย่างแล้วรายได้ของคนไทยเมือเทียบกับสภาวะเศษฐกิจแล้วถือว่าน้อยมากรายได้ไม่พอจึงจำเป็นต้องมีหนี้ สิ่งที่คนไทยควรคิดคือคือคำว่า รัฐสวัสดิการ ไม่ใช้ว่ารัฐจะต้องอุ้มชูทุกคนแต่คนที่ทำงานควรมีมาตราฐานทางรายได้สอดคล้องกับสภวะเศษฐกิจอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ ยังดีกว่าที่ภาษีที่เราจ่ายไปจุนเจือให้กับคนที่เห็นแก่ได้ในสภา |
|
ความคิดเห็นที่
4 |
|
อร..SCNYL |
|
17 สิงหาคม 2008
20:44:41 |
|
|
IP :
118.172.68.142 |
|
การออมเป็นสิ่งที่ดี จริงๆแล้วการออมจะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ อยู่ที่ตัวเรา เราไม่ต้องไปมองคนอื่น เริ่มจากตัวเราก่อน เรามีมาก ก็ออมมากหน่อย มีน้อยก็ออมน้อย ถ้ามีหนี้สินก็ต้องจ่ายส่วนที่เป็นหนี้ก่อน การออมทำให้เรามีเงินใช้ในวันข้างหน้า และยังเป็นการฝึกให้เราวางแผนการเงินของตนเองด้วย ถ้าเราไม่เริ่มวางแผนทางการเงิน วางแผนทางการออม และวางแผนในการใช้ชีวิตแล้ว จะทำให้เราประสบปัญหาการเงินในภายภาคหน้า
บางท่านอาจรู้สึกว่ายังไม่พร้อมจึงยังไม่เริ่มออมเงิน แต่อยากจะฝากให้คิดไว้สักนิดว่าจริงๆ แล้วที่เรารู้สึกไม่พร้อมเพราะเรายังไม่ได้เริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังนี้นถ้าเราเริ่มออมทันทีให้เป็นนิสัย การใช้จ่ายของเราจะลดลงไปอย่างอัตโนมัติ เพราะโดยปกติถ้าเรามีเงินอยู่ในมือ ก็อาจจะใช้เพลินจนหมด หรือ ถ้าไม่วางแผนการใช้จ่ายให้ดี อาจทำให้เราเป็นหนี้สินได้ เช่น การผ่อนรถ ผ่อนสินค้าที่ไม่จำเป็น คนเรามักจะคิดสร้างหนี้สินก่อนทรัพย์สินเสมอ เพราะหลงคิดว่ารถหรือบ้านใหม่ที่เราผ่อนนั้นคือ ทรัพย์สิน แต่จริงๆแล้ว เรายังไม่เข้าใจคำว่าทรัพย์สินดีพอ
อย่างที่กล่าวไว้ว่า การออมไม่จำเป็นที่จะออมมากเกินความสามารถ ทำเท่าที่เราเริ่มทำได้ หากใครที่ไม่มีเงินเหลือออม ตรงนี้น่าเป็นห่วง วิธีแก้ปัญหาคือ ให้ทดลองเขียนบันทึกและทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครอบครัว คุณจะรู้และเห็นได้ชัดขึ้นว่าเงินของคุณหายไปไหนบ้าง และมีวิธีทางไหนบ้างที่คุณจะสามารถกำจัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ หรืออาจจะหาวิธีเพิ่มรายได้โดยมองหางานเสริม
การออมไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือตัวใคร ขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งนั้น หากเรายังไม่สามารถบริหารเงินของเราได้ แล้วเราจะสอนลูกหลานได้อย่างไร
ชีวิตเราจะต้องสูญเสียเท่าไหร่ถ้าไม่มีแผน อย่างที่คนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า " ถ้าเราไม่เตรียมพร้อม เราก็ควรจะเตรียมตัวที่จะล้ม" |
|
ขณะนี้เชียงรายโฟกัส ได้ย้ายไปใช้เว็บบอร์ดใหม่
ท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่นี่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php
|