อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนหน้าผาเบื้องต้น
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการปีนผาเบื้องต้นแบบ Top Roping มีดังนี้
ฮาร์เนส (Harness) หรือสายรัดสะโพก ลักษณะเป็นห่วงส่วนเอวและส่วนขา ซึ่งถูกโยงไว้ด้วยกันโดยสายในล่อนทั้ง ด้านหน้าและด้านหลัง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน
คาราไบเนอร์ (Carabiner) เป็นห่วงเหล็กหรืออะลูมิเนียม อัลลอย (อย่างหลังนิยมกว่าเพราะน้ำหนักน้อยกว่า) สามารถ รับแรงดึงได้ 2 ตัน หลายรูปร่างและขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มี 2 ประเภทหลักคือ แบบมีตัวล็อก (Screwgate Carabiner) และแบบไม่มีตัวล็อก (Snap Carabiner) สำหรับตัวที่ใช้เกี่ยวกับห่วงฮาร์เนสทุกตัวต้องมีตัวล็อกเสมอ
ควิกดรอว์ (Quickdraw) คือสายไนลอนสั้นๆ ซึ่งมีคาราไบเนอร์เกี่ยวอยู่ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับเกี่ยวกับหมุด ตามหน้าผา ป้องกันการตกจากที่สูงทีเดียวถึงพื้น
อุปกรณ์บีเลย์ (Belay Device) ใช้สำหรับผ่อนเชือกให้นักปีนผาและควบคุมความเร็วในการโรยตัว มีชื่อเรียกแตก ต่างกันไปตามรุ่นที่ผลิต เช่น Grigri, Figure of Eight, ATC
รองเท้าปีนผา จะมีพื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบเพื่อให้สอดเท้าเข้าไปบนช่องหินได้สะดวก เมื่อสวมแล้วต้อง รู้สึกว่าคับแน่นจึงจะเหมาะกับการปีนหน้าผา แมกนีเซียม คาร์บอเนต หรือ ผงชอล็ก เป็นผงคล้ายแป้ง ใส่ถุงผ้า ห้อยไว้ด้านหลังของนักปีนผา ใช้สำหรับลดความชื้น ที่มือเพื่อความถนัดในการเกาะเกี่ยว
เชือกสำหรับปีนผา (Kernmantle) เป็นเชือกลักษณะพิเศษ คือ มีความเหนียว ไม่ยืดง่าย สามารถรับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน เชือกเส้นหนึ่งประกอบด้วยเชือกเส้นเล็ก 2 เส้นควั่นกันอยู่ชั้นในสุดและพันด้วยไนลอน ความยาวมาตรฐานของเชือกคือ 45 เมตร 50 เมตร และ 60 เมตร
การฝึกปีนผาเบื้องต้น
ตัวอย่างหนึ่งของการฝึกปีนหน้าผา ของชมรมปีนหน้าผากรุงเทพฯ ซึ่งเปิดเป็นโรงเรียนสอนปีนหน้าผา ทำการฝึกโดย เริ่มจากการเรียนรู้ถึงอุปกรณ์ การใช้ ระบบการทำงานและเทคนิคในการปีน
ในการฝึกขั้นต้นหลังจากการแนะนำอุปกรณ์แล้ว จะเป็นการฝึกการปีนแบบ Bouldering ซึ่งเป็นการปีนโดยใช้เพียง รองเท้าและผงแมกนีเซียม คาร์บอเนตกันลื่นเท่านั้น ในการฝึกปีนหน้าผานั้น มีหลักอยู่ว่าการปีนหน้าผาที่ดี คือต้องเคลื่อน ไหวโดยให้ร่างกายอยู่ในลักษณะสมดุลกัน ลักษณะการปีนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ผู้ปีนจะต้องสังเกตว่าการเคลื่อน ไหวแบบไหนที่ตนเองถนัดและสามารถเคลื่อนต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียแรงมากเกินไป การปีนต้องอาศัยความมั่นคงของมือ และเท้าในการเกาะและเหยียบ
หลังจากการฝึก Bouldering ก็เป็นการฝึกผูกเงื่อนเชือกปีนผา (Kernmanle) ซึ่งมีความเหนียวแข็งแรง สามารถ รับแรงดึงได้ถึง 2 ตัน บิดให้เป็นห่วง หมุนเกลียว 2 ครั้ง ใช้ปลายเชือกด้านหนึ่งสอดเข้าไปในห่วง แล้วย้อนกลับมาพันขึ้น พันลงตามแนวเดิมของเชือก ซึ่งเป็นการผูกแบบเงื่อนเลขแปด การผูกเชือกนี้สำคัญมากสำหรับนักปีนผา เพราะจะใช้ผูกกับ ห่วงฮาร์เนสเพื่อดึงตัวนักปีนผาไว้กรณีที่ตกลงมา
การปีนผาเบื้องต้นมักจะเริ่มจากการปีนแบบ Top Roping คือมีผู้ปีนนำ (Leader) นำเชือกขึ้นไปสอดผ่าน แองเคอร์ (Anchor) ซึ่งอยู่ตรงจุดปลายทางของการปีน ดึงเชือกลงมายังพื้นให้ปลายด้านหนึ่งยาวพอที่ผู้ปีนสามารถ ผูกเงื่อนเลขแปดไว้กับฮาร์เนสของตัวเอง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งนั้น บีเลเยอร์จะร้อยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า บีเลย์ (Belay Device) แล้วคล้องอุปกรณ์บีเลย์ไว้กับห่วงฮาร์เนสของตัวเอง
อุปกรณ์บีเลยมีอยู่หลายแบบ ทั้งบีเลย์ เพลต (Belay Plate) รูปร่างแบน มีรู 2 รู คล้ายกระดุมอะลูมิเนียมเม็ดใหญ่ ฟิกเกอร์ ออฟ เอท (Figure of Eight) เป็นอะลูมิเนียมรูปร่างลักษณะคล้ายเลขแปดอาระบิก ห่วงบนและห่วงล่างมีขนาด ไม่เท่ากัน อุปกรณ์อีกตัวคือ ATC ลักษณะคล้ายตะกร้าใบเล็ก เป็นชนิดหนึ่งของบีเลย์ บางครั้งอาจจะใช้กรีกรี (Grigri) ซึ่งมีคันโยกสำหรับผ่อนเชือกและมีตัวล็อกอัตโนมัติช่วยผ่อนแรงได้ด้วย
สำหรับการฝึกเบื้องต้นของชมรมปีนเขา จะใช้เวลาในการฝึกที่ชมรมเป็นเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ จึงจะมีการเดินทางไป ยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
|