"chiangraifocus"

  สมัครสมาชิก |  ล็อคอิน |  ติดต่อโฆษณา | ติดต่อทีมงาน | ร่วมงานกับเรา |  Mobile Version |   บริการของเว็บ |   คำถามที่พบบ่อย
ชื่อผู้ส่ง :
อีเมล์ผู้ส่ง :
อีเมล์ผู้รับ :
ข้อความ :

* พิมพ์ตัวอักษรได้สูงสุด 150 ตัวอักษร

คำตอบ : 0 + 0 =
 
รวมสถานที่ กิน ดื่ม เที่ยว ช้อป ที่พัก บริการด้านการท่องเที่ยว ข่าวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชียงราย


« ก่อนหน้า   ถัดไป »
วัดแสงแก้วโพธิญาญ @แม่สรวย เชียงราย
Home » ท่องเที่ยว » สถานที่ท่องเที่ยว » อำเภอแม่สรวย » วัดแสงแก้วโพธิญาญ @แม่สรวย เชียงราย
23930 views     อัพเดทข้อมูลล่าสุด  04 พฤษภาคม 2016 เวลา 14:20:57
พิมพ์ข้อมูล ส่งให้เพื่อน

Tags : วัดแสงแก้วโพธิญาญ , ม่อนแสงแก้ว , บ้านป่าตึง , เจดีย์หลวง , แม่สรวย , จุดชมวิวตัวอำเภอแม่สรวย , พระครูบาอริยชาติ , นักบุญแห่งล้านนา ,

 
วัดแสงแก้วโพธิญาญ @แม่สรวย เชียงราย
 วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง 

วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง  หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยม จึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างวัด กับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง โดยใช้เวลานานหลายวันก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ในการก่อ สร้างวัด แต่แล้วด้วยบุญญาบารมี ของท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต และความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวบ้านที่จะสร้างวัด คืนหนึ่งขณะที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จำวัดอยู่ได้นิมิตรว่ามีที่ดินเป็นเนินไม่สูงมากนัก มีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยไม้ไผ่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต พึงพอใจในสถานที่แห่ง นี้เป็นยิ่งนัก จึงได้เล่านิมิตที่ท่านพบมาให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านฟัง คณะพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านได้พาท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน จนมาถึงท้ายของหมู่บ้าน พบสวนของชาวบ้าน ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้สำรวจพื้นที่ โดยรอบสวนพบว่ามีลักษณะเป็นสวนและมีต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับสถานที่ที่ท่านได้ นิมิตรพบในคืนที่ผ่านมา ท่านครูบาเดินออกสำรวจพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว แล้วบอกกับคณะที่ติดตามท่านไป ในการสำรวจครั้งนั้นว่า ท่านพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นยิ่งนัก เหมาะสำหรับการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นศาสนสถานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและ เป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และสถานที่แห่งนี้เป็นของใคร พ่อหลวงยา ศรีทาจึงได้บอกว่าเป็นสวนของผู้ที่มีฐานะดี คงจะไม่ยอมขายให้และถ้าหากขายก็คงจะต้องราคาแพง ความเป็นไปได้ที่จะได้ที่ดินเพื่อมาสร้างวัดคงจะไม่มีท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จึงได้เดินไปจนถึงยอดเนินของสถานที่แห่งนั้น และได้จุดธูปเทียน พร้อมทั้งกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมังคละคู่ยารมีท่านในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไป แล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา”

เมื่อท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตตั้งจิตอธิษฐานเสร็จแล้ว พ่อหลวงยา ศรีทา ได้เชิญเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีมาพบกับท่านครูบาเพื่อพูดคุยปรึกษา หารือในเรื่องการสร้างวัดบนของที่ดินผืนนี้ เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินประมาณ 19 ไร่เศษให้กับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตเพื่อสร้างวัดอย่างง่ายดาย สร้างความประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะผู้ติดตามท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นอย่างมากหลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ร่วมกับคณะศรัทธาปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ทราบข่าวการสร้างวัด ได้แสดงความจำนงค์ในการร่วมสมทบทุน สร้างวัดเป็นจำนวนมาก



 วัดแสงแก้วโพธิญาญ, ม่อนแสงแก้ว, บ้านป่าตึง, เจดีย์หลวง, แม่สรวย, จุดชมวิวตัวอำเภอแม่สรวย, พระครูบาอริยชาติ, นักบุญแห่งล้านนา, 
 
ปฐมเหตุการณ์สร้างวัดแสงแก้วโพธิญาณ เนื่องด้วยพ่อหลวงยา ศรีทา และชาวบ้านป่าตึงงาม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น หมู่บ้านใหม่แสงแก้ว) และคณะศรัทธา อยากจะมีวัดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญ ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงได้กราบอาราธนาพระครูบาอริยชาติ อริยจิตโตมาจาก วัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน ท่านพระครูบาตอบตกลง และเริ่มตามหาที่ดินที่เคยนิมิตเห็น เมื่อพบที่แล้ว กรวดน้ำอธิษฐานของสร้างบารมีในที่แห่งนี้ หลังจากนั้นอีกไม่นาน ก็มีเจ้าภาพนำที่ดินแห่งนั้นมาถวาย จำนวน 19 ไร่ จึงเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (แปดเป็ง) วันวิสาขบูชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่าครูบาฯ จึงได้เริ่มก่อสร้างศาสนสถาน และศาสนวัตถุต่างๆ โดยใช้ศิลปะแบบผสมผสานล้านนา พม่า ไต(ไทลื้อ) ซึ่งใช้ระยะเวลาอย่างรวดเร็วในการก่อสร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 และผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556 (ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 เหนือ) และพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
 
 
 ที่มาของชื่อ วัดแสงแก้วโพธิญาณ
 
แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นพ้นน้ำ แล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยพระครูบาอริยชาติ ท่านเกิดนิมิตว่า ฝนตกหนักมาก มองอะไรก็ไม่เห็น ครูบาก็เดินหลงไปหลงมาอยู่บนภูเขาสักพัก ก็ได้เห็นป่าทั้งป่าบนภูเขา มีดอกบัวบานเต็มไปหมด มีแสงสว่างไสวสวยงาม ครูบาจึงคิดชื่อได้จากเหตุนิมิัต ที่เห็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้ว กลายเป็นดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ หมายถึง หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ แล้วเปล่งแสง คล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งเชื่อว่า "วัดแสงแก้วโพธิญาณ"
 
 พุทธศิลป์และงานสถาปัตยกรรมวัดแสงแก้วโพธิญาณ
 
พุทธศิลป์และศิลปะต่างๆ ที่อยู่ภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณนั้นออกแบบสถาปัตยกรรม โดย พระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณซึ่งผสมผสานระหว่าง โลกธรรม แสดงออกถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวพุทธในดินแดนล้านนาอย่างชัดเจน แล้วยังมีการผสานงานศิลป์ 3 รูปแบบไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนคือ ศิลปะล้านนา ศิลปะไต (ไทยใหญ่) และศิลปะพม่า ซึ่งล้วนมีนัยที่สื่อความหมายในเชิงธรรมะและแฝงหลัก "พุทธธรรม" อันลึกซึ้งเอาไว้ แทบทุึกองค์ประกอบของวัด
 
ซึ่งการออกแบบวัดนี้พระครูบาอริยชาติ อริยจิตโต ท่านออกแบบเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเมื่อเข้ามาจะเห็นรูปเหมือนแทนพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า มีสิงห์คู่ตัวใหญ่ ซึ่งครูบาเปรียบเทียบเป็นปริศนาธรรม เหมือนพ่อกับแม่ของพระศรีอริยเมตไตรยมานั่งรอพระศรีอริยเมตไตรยมาตรัสรู้แล้วมาโปรดโลกในภายหน้าเหมือนคนเราทั้งหลาย นั่งรอผู้มีบุญ ผู้มีบารมี ผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ผู้ที่จะมาโปรดคนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร ระหว่างเดินขึ้นไป ชั้นสองตรงบันไดจะมีนาค 3 หัว และจะมีตัวกินนาคอีก 3 ตัว ซึ่งเป็นปริศนาธรรม หมายถึง กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย แล้วยังหมายถึงว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า ความตามครอบงำคนเราทั้งหมดส่วนนาค 3 หัว ก็หมายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และตัวกินนาค 3 ตัว หมายถึง ชรา พยาธิ มรณะ คือ เทวทูต 3 เพราะไม่สมถนะ ถ้าหากมีสมณะด้วยจะเป็น เทวทูต 4 แต่นี่ไม่รวมสมณะ ดังนั้นที่พระพุทธเจ้าเห็นจึงมี ชรา พยาธิ และมรณะ
 
เดินขึ้นมาถึงชั้นที่ 2 เป็นพุทธาวาสเป็นเขตของพระพุทธเจ้า เป็นที่ทำสังฆพิธีต่างๆ มีอุโบสถ วิหาร หอไตร มีปราสาท 16 หลัง แทนพรหม 16 ชั้น มีศาลา 16 ห้อง แทน 16 ชั้นฟ้า
 
ขึ้นมาถึงชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ตั้ง กุฏิ ของพระครูบาอริยชาติ และเป็นที่ตั้งขอพรจากท่านเทพทันใจ แม่นางกวัก แม่กระซิบ อีกทั้งยังเป็นที่ให้เช่าบูชา วัตถุมงคลต่างๆ ของทางวัด มีศาลาเอนกประสงค์ไว้สำหรับพักผ่อน กับบรรยากาศที่ร่มรื่น หอฉัน ห้องน้ำ ก็อยู่ในชั้นนี้ด้วย
 
ขึ้นต่อไปชั้นที่ 4 เป็นการจำลองเรื่องโลกและจักรวาลด้านหน้าของทางเ้ข้ามี เทพนพเคราะห์ 9 องค์ แทนด้วยวันทั้ง 9 มี อาทิตย์, จันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี, ศุกร์, เสาร์, ราหู, เกตุ, พระตรีมูรติแทนด้วย โลกทั้งสาม ก่อนเข้าวงเวียนเจอ ยักษ์หลับและยักษ์ตื่น แทนกลางคืนและกลางวัน อันนี้คือความหมายทางโลก แต่ถ้าเป็นความหมายทางธรรม จะหมายถึง พุธโธ คนเราทำอะไรให้มีสติ เช่น เวลาเราเจริญสติ จะมีพุทโธ ถ้ามีพุทอยู่ โธก็หาย ถ้าพุทหาย โธก็อยู่ คือให้เรามีสติอยู่ตลอดเวลา ตรงกลางแทนด้วยเขาสุเมรุ ข้างบนสุดบนเขาพระสุเมรุ ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย หมายถึง ผู้ที่มีบารมีเต็มเปี่ยม จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เหนือสิ่งอื่นใดในโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ และโลกชั้นพรหมถัดจากพระศรีอริยเมตไตรยลงมา มีมหาเทพต่างๆ คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ พระอินทร์ ท้ายจตุโลกบาลทั้ง 4 เทพประจำทิศ
 
ทิพยาธรกินนร ยักษา ยักษี ฤาษี และสัตว์ป่าหิมพานต์ รอบๆ เข้าพระสุเมรุเป็นเทพ 12 ราศี แทนด้วย 12 นักษัตร รอบนอกเป็นสระน้ำพุแทนด้วย วัฏสงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด คนเราการจะข้ามพ้นวัฏสงสารได้ ต้องข้ามฝั่งมหาสมุทรก็คือ ห้วงวัฏสงสาร ถ้าพ้นก็จะถึงฝั่งคือ พระนิพพาน เขาพระสุเมรุมีน้ำ 3 สาย แทนห้วงน้ำพุทธมนต์แห่งพระรัตนตรัยผ่านโลกและจักรวาล ผ่านบารมี 3 ครูบา
 
สองข้างขนาบเขาพระสุเมรุ มีพระพิฆเนศเป็นตัวแทนเทวดาทั้ง 6 ชั้นฟ้า พระพรหมแทนด้วยสวรรค์ชั้นพรหม 16 ชั้นฟ้า และพรหมวิหารทั้ง 4 พระอวโลกิเตศวรกวนอิมปางพันมือ แทนพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย และพระสีวลีแทนพระอรหันต์ทั้งหลาย
 
เมื่อพ้นจากเขาพระสุเมรุ ด้านหลังขึ้นบันไดไป เป็นรูปเหมือน ครูบาศรีวิชัย, ครูบาอภิชัยขาวปี, ครูบาชัยวงศาพัฒนา สามองค์นี้สื่อแทนพระรัตนตรียแต่สื่อออกมาเป็น พระอริยสงฆ์ เพราะว่าวัดนี้ใช้ชื่อว่า วัดแสงแก้วโพธิญาณ หมายถึง ผู้สร้างบารมี เปรียบพระครูบาศรีวิชัย เหมือนพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาสร้างบารมี แล้วพระครูบา 3 ท่านนี้ ก็เปรียบเหมือนต้นแบบของนักบุญล้านนาที่นั่งอยู่ในใจคนล้านนามายาวนาน

บนอาคารครูบาศรีวิชัย ประกอบด้วยศาลา 2 หลัง คือ
1. ศาลาด้านเหนือ ศาลาบูรพาอาจารย์ หมายถึง คนเราจะมีศิลปะวิยาความรู้ ต้องมีครูบาอาจารย์ และต้องรู้คุณคนแห่งครูบาอาจารย์
 
2. ศาลาด้านใต้ ศาลาบูรพามหากษัตริย์ หมายถึง กว่าเราจะมีแผ่นดินอยู่อาศัยทุกวันนี้ เพราะพระปรีชาสามารถแห่งบูรพามหากษัตริย์ทั้งหลาย ควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
 
ด้านใต้ฐานมีพระองค์ใหญ่ 3 องค์ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต แทนครูบาอาจารย์ภาคกลางหลวงปู่ทวด แทนครูบาอาจารย์ภาคใต้ หลวงปู่มั่น แทนครูบาอาจารย์ภาคอีสาน ด้านหลังพระครูบาศรีวิชัย มีพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 25 เมตร สูง 32 เมตร แทนด้วยพระนิพพานคือจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา ก่อนขึ้นอาคาร ทั้งซ้ายและขวา มีมณฆป อยู่กลางสระน้ำ ซึ่งเป็นมณฆป เศรษฐีนวโกฏิ หมายถึง คนที่จะเป็นเศรษฐีต้องเป็นผู้เสียสละ ต้องรู้จักให้และอีกมณฆปคือ มณฆปพระอุปคุตขี่เต่า เปรียบเหมือนผู้รักษาศาสสถานให้เกิดความร่มเย็น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อมูลติดต่อ : วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

ติดต่อ หลวงพี่อั้ม พระเลขาครูบาอริยชาติ โทร. 089-262-4973
ติดต่อกับทางวัด,บูชาวัตถุมงคล โทร. 085-614-3764 , 081-034-4309 แฟ็กซ์ 053-163-302
** พิกัดวัดแสงแก้วโพธิญาญ @แม่สรวย เชียงราย : 

 
แสดงความคิดเห็น

 
 Event เทศกาลและงาน เชียงราย »
ห่างกันสักพัก เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวกับ 7สถานที่ท่องเที่ยวสวยจากการท่องเที่ย
2020-05-28 14:00:53
รวมภาพพิธีถวายสักการะพระธาตุดอยตุง พิธีนมัสการและสรงน้ำ และพิธีห่มผ้าพระธาตุดอยต
2020-03-08 12:47:01
ภาพขบวนแห่น้ำสรงพระราชทาน ขบวนเครื่องสักการะพระธาตุดอยตุง และ 18 ชาติติพันธุ์ (0
2020-03-08 12:25:09
ประมวลภาพ พิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง เนื่องในงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยต
2020-03-08 09:33:26
  แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ »
ทัศนาอาราม งามวิจิตรตรึงใจ ณ วัดร่องเสือเต้น จ.เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
23186 views
เสพงานศิลป์ ให้ติสต์แตก @ขัวศิลปะ เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
23090 views
มนต์เสน่ห์ กาดหลวง สัมผัสวิถีชีวิตในตลาดใจกลางเมืองเชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
24811 views
วัดเชตวัน หรือ วัดพระนอน เชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย
24428 views
 

 
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
ส่งข้อเสนอแนะการพัฒนาเว็บไซต์
แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
สถิติ ปี 2012 | สถิติปี 2013
สถิติเว็บไซต์ ปัจจุบัน stats | histats
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012
ข้อมูลบริการ
+ ฝากประกาศข่าว + ฝากประกาศตำแหน่งงาน
+ ลงทะเบียนหางาน(ฝากประวัติ) + เพิ่มที่พัก กิน ดื่ม เที่ยว ทัวร
+ เพิ่มข้อมูลธุรกิจ (ไดเร็กทอรี่) + จองโรงแรมเชียงราย
+ เพิ่มธุรกิจบนแผนที่ออนไลน + เพิ่มโปรโมชั่น ส่วนลด
เว็บไซต์แห่งนี้รองรับการแสดงผลได้ดีสุดที่ขนาดจอภาพ 1024x768 พิกเซล บนโปรแกรมบราวเซอร์ Google Chorm หรือ Mozilla Firefox
สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2018
http://www.chiangraifocus.com
.