เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เชียงแสน
   พระพุทธนวล้านตื้อ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
ข้อมูลติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อ.เชียงแสน จงเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-650803 (อบต.เวียง)

พิกัด GPRS : 20.351739,100.082595 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 20.351739,100.082595 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
พลิกฟื้นพระเจ้าล้านตื้อ ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงของเมืองเชียงแสน ลำน้ำโขงเป็นสายน้ำใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฝากฝั่ง สายน้ำไหลเชี่ยว ดุดัน จากจีน มุ่งผ่าน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ประวัติศาสตร์ ของชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง จึงหนีไม่พ้นสายน้ำแห่งนี้

 น้ำโขงไหลผ่านทวีปนี้ราวกับมีชีวิต 10 ปี ไหลไปทางหนึ่ง 100 ปี ไหลไปอีกทางหนึ่ง เปลี่ยนทางไปอีกทางหนึ่ง มีตำนานเล่าว่าถึงเกาะเก่าแก่กลางลำแม่น้ำโขง “เกาะดอนแท่น” เดิมทีเป็นผืนดินในไทยโดยเป็นทีอาศัยของผู้คนเชียงแสนในยุคก่อน เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดกว่า 10 วัด ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดาร เมืองงินยางเชียงแสนภาคที่ 61 ที่สำคัญยังเป็นที่ตั้งของ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพทุธรูปสำริดขนาดใหย่ ซึ่งชาวบ้านกล่าวขานนามว่า “พระเจ้าล้านตื้อ คำว่า ตื้อ คือมาตราวัดของชาวล้านนา หมายถึงโกฏิ ดังนั้นคำว่า " ล้านตื้อ" ก็หมายถึงองค์พระนี้มีขนาดและน้ำหนักมาก สันนิฐานว่าองค์พระคงจมลงไปพร้อมกับเการะดอนแท่น ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณน้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน 

ประจักษ์พยานที่เป็นรูปธีทชัดเจนคือ พระรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งมีขนาดกว้าง 55 CM สูง 70 CM คาดกันว่าพระรัษมีถูกงมชึ้นมาก่อนปี พ.ศ. 2446 และมีการประมาณว่าพระเจ้าล้านตื้อหากมีอยู่จริง หน้าคักคงกว้างประมาณราว 8.5 m สูง 10 m 

อย่างไรก็ตามคำเล่าขานจึงไม่ใช่เรื่องที่ฝังนิ่งอยู่ในตำนานแต่เป็นเรื่องจริงต้องรอคอยว่าวันหนึ่งองค์พระเจ้าล้านตื้อจะกลับมาสู่เมือง วิธีการกลับคืนมาสู่เมืองจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามอย่างใจจดใจ่อ ส่วนจะกลับมาในรุ่นเรา รุ่นลูก หรือรุ่นหลาน หรือกว่านั้น ก็ต้องรอคอยด้วยในอันศรัทธาเหมือนกัน



ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ 
จากคำบอกเล่าของชาวเชียงแสน ที่บรรทุกไว้ในหนังสือตามรอยพระเจ้าล้านทองทิพ (พระเจ้าล้านตื้อ) ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงเมืองเชียงแสน (หาซื้อได้ ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน กล่าวว่าคืนพบพระพุทธรูปกลางลำน้ำโขงครั้งแรกเมือราวปี พ.ศ. 2479 พรานหาปลา ผู้หนึ่งทอดแหหาปลาอยู่กลางน้ำโขงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงแสนได้เห็นพระพุทธรุปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำจำได้ว่ามีพระรัศมีบนพระเกศาและเห็นส่วนพระเศียรเพียงแค่พระหนุ แต่อย่างไรก็ตาม การพบเห็นของพรานปลาผู้นั้นขัดกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่ว่าการค้นพบพระรัศมีนั้นพบก่อน ปี พ.ศ.2446 เมื่อครั้งแรกได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดคว้าง (หลังตลาดเชียงแสน) ต่อมาย้ายไปรักษาที่วัดปงสนุก และวัดมุงเมืองตามลำดับ เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ เสร็จจึงนำออกแสดงจนมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2488 มีพรานปลาอีกคนหนึ่งพบเสาวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2-3 ต้นล้มทับกันจมอยู่ในน้ำโขง ลึกลาว 4 เมตร ที่บริเวณสามแยกหน้าสถานีตำรวจ


ครั้นถึงปี พ.ศ. 2492 – 2493 เพียสมบูรณ ์(ชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงแสน) ฝันว่าพระพุทธรูปล้มคว่ำพระเศียรลง หันไปทางทิศใต้ ดังนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของปีเดียวกันนั้นจึงมีการลงคลำหาพระพุทธรูปกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากตั้งศาลเพียงตาขึ้นในบริเวณเกาะดอนแท่นและทำพิธีบวงสรวงพระพุทธรูป เตรียมเรือเหล็กขนาดใหญ่ 2 ลำ พร้อมช้าง 3 -4 เชือก นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธี เนื่องจากกระแสน้ำแรงและเย็นมากจึงไม่อาจพบพระรูปแต่อย่างใด

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อิตาเลียน – ไทย จำกัด ได้สัมปทานการสร้างสนามบินในหลวงพระบาง มาพักอยู่ที่เชียงแสน(สมัยนั้นการเดินทางไปหลวงพระบางต้องใช้วิธีการเดินเรือจากเชียงแสนไปถึงจะสะดวกที่สุด) นายชูสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขณะนั้นจึงได้ให้ทางบริษัทฯ ดังกล่าว ส่งนักประดาน้ำและอุปกรณ์ต่างๆดำเพื่อค้นหาและกู้เอาพระพุทธรูปขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เกาะกลางน้ำตรงหน้าสถานีตำรวจฯบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำวน เชี่ยวมาก นักประดาน้ำทนความเย็นไม่ไหว การค้นหาในตอนนั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เพียงพระพุทธรูปองค์เล็ก และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อยจึงหยุดค้นหา

การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้าน

พระพุทธรูปนวล้านตื้อ (จำลอง) 
หากท่านที่ไปเที่ยวเชียงแสนผ่านไปทางป้ายสามเหลี่ยมทองคำ เลยไปทางร้านค้าของที่ระลึกต่างๆ ท่านจะได้พบเห็นองค์พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า69 ตัน เฉพาะองค์พระตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีตุง(ธง) เฉลิมพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถฯ อยู่เบื้องข้าง พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธนวล้านตื้อ


พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3 โน้น...
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่ อย่างที่เห็นในรูปที่ 1 นั่นแหละครับ
..พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ สูง 17.99 ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว ์(เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง 9.99 ม.) ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง 69 ล้านบาท

เปิดดู 6734 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com