เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 
 
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ประเทศพม่า และ สปป.ลาว
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศลาว......... (เที่ยวพม่า คลิก>>)

หลายปีมานี้เอง ลาว กำลังพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่องลาว เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อสัญจรท่อง ไปยังขุนเขา ลำน้ำ อุโมงค์ และ เมืองต่างๆที่มีภูมิทัศน์มหัศจรรย์ที่สวยสดงดงามตาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้ ตระการไปกับภาพอดีตแห่งความรุ่งเรืองบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่างๆของอาณาจักร ล้านช้าง ลาวมีสภาพไม่ต่างไปจากไทยเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ที่มีการค้าพาณิชย์และ ความเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงประปรายเท่านั้นแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนธรรมชาติ แบ่งสองชนชาติผ่าน ฝั่งไทย และ ลาว แต่วิถีชีวิตบนสองฟากฝั่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมืองหลวงพระบาง หรือ นครล้านช้าง เมืองแห่งมรดกโลก "หลวงพระบาง " เมืองแห่งมรดกโลก ซึ่งเคยเป็นนครหลวงและเป็น ที่ประทับของกษัตริย์ลาวมาถึงศตวรรษที่ 16 ได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก ในสมัยโบราณนั้น เมืองหลวงพระบางเคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้น ต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคาน แม่น้ำอู และแม่น้ำเชืองมาก่อนในปี ค.ศ.1353 เจ้าฟ้างุ้มได้มีการรวบรวมแผ่นดิน ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นในบริเวณเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "เมืองชวา"เพระามีชาวชวาเข้ามาอาศัยอยู่มาก ครั้นในปี ค.ศ.1357 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เชียงทอง"
        ต่อมาไม่นานนัก พระเจ้าแผ่นดินของเขมรได้ส่งพระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูป แบบสิงหลมาพระราชทานให้ เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมือง เป็น "หลวงพระบาง" ตามชื่อพระพุทธรูปในปี ค.ศ.1545 พระเจ้าโพธิสาร โปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมาอยู่ เวียงจันทร์แต่หลวงพระบางก็ยังคงเป็นราชธานี ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตอยู่ดังเดิม หลังปี ค.ศ.1694 นครล้านช้างล่มสลายลงและแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทร์ และ จำปาศักดิ์ กษัตริย์สายล้านช้างหลวงพระบางยังคงสืบทอดบัลลังก์ ต่อกันเรื่อยมาจนขบวนการประเทศลาวล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ลงในปี ค.ศ.1975 แต่ส่วนใหญ่แล้วมักตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศไทย เวียดนาม และ ฝรั่งเศสในต่างวาระกัน
วัดเชียงทอง
      ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
วัดแสนสุขาราม

       ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่
องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้นสร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการ
ทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสัน
สวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

      ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
พระราชวังหลวงพระบาง
ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบางซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิดรับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.

วัดวิชุนราช
ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให ้วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน "ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน" ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว

       

ตลาดม้ง
เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่ เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยา "ถ้ำติ่ง" ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆมีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า "สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด" ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้ มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง

นครเวียงจันทน์
พระธาตุหลวง สัญลักษณ์ของประเทศลาว เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ เรียกว่า สปป. ลาว ตั้งอยูบริเวณริมแม่น้ำโขงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามของอำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของไทย เมืองหลวงรูปพระจันทร์เสี้ยวแห่งนี้ ยังคงไว้ความสงบ เมื่อเทียบกับเมืองหลวงที่สับสนหลายแห่งในเอเซีย บรรยากาศความรุ่งโรจน์ที่เสื่อมสลายลงเรื่อยๆขับเน้นให้เสน่ห์อันเรียบง่ายของเวียงจันทน์ แม้ลาวจะเปลี่ยนไปมากตลอด 25 ปีที่ตกอยู่ในการปกครองแบบคอมมิวนิตย์ แต่เวียงจันทน์ก็ยังรักษาจิตวิญญาณ ของเมืองโบราณอยู่ตามวิถีของมันแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเวียงจันทน์มักต้องรับศึกต้อง ตกเป็น เมืองขึ้นของต่างชาติตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นไทย เวียดนาม พม่า เขมร รวมทั้งฝรั่งเศส และ อเมริกา แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งด้านความศรัทธาของพุทธศาสนาซึ่งอยู่ในหัวใจของชนชาวลาว ตลอดจนขนบะรรมเนียมประเพณีที่ดูอย่างดีงามผสมผสานอย่างเรียบง่ายคล้ายคลึงกับอีสานบ้านเรา จึงทำให้นักท่องเที่ยวไทยมีความรู้สึกอบอุ่น เหมือนอยู่เมืองไทยนี้เอง และ อีกอย่างหนึ่งเวียงจันทน์ เป็นแหล่ง จำหน่ายสินค้า ด้านหัตถกรรม ผ้าฝ้ายทอมือ รวมทั้ง เครื่องเงินที่มีราคาถูก

ให้คนไทยได้ซื้อหาเป็นของฝาก กับบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยว เดินทางผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สามารถท่องเที่ยว แบบ ไปเช้า- เย็นกลับ หรือ แบบ ค้างแรม 1-2 คืน โดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เพียงแต่ทำใบผ่านแดนเท่านั้น สามารถติดต่อได้ที่ บริษัทท่องเที่ยวด้านฝั่งจังหวัด หนองคาย สะดวก สบาย อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย พระธาตุหลวงแห่งนครเวียงจันทน์ถือว่าเป็นศาสนสถาน ที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว และ สัญลักษณ์ประจำชาติของลาว มีความหมายของประชาชนชาวลาว เป็นอย่างมาก พระธาตุหลวงสร้างเมื่อปี ค.ศ.1566 เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะอันโดดเด่นที่สุด ในอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้า มีเรื่องเล่ากันว่า คณะฑูตจากอินเดีย ได้มีการอัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่นี่ใน ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล พระธาตุหลวงได้มีการสร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของประชาชนชาวลาว และ สมเด็นพระเชษฐา ได้มีการตั้งชื่อ พระธาตุหลวงว่า เจดีย์โลกจุฬามุณี องค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นสัญลักษณ์แทนภพภูมิต่างๆ โดยฐานหมายถึง กามภูมิ องค์ระฆังหมายถึงรูปภูมิ และ ส่วนยอดหมายถึง อรูปภูมิ ตามระเบียงมีประติมากรรม ระหว่างลาว กับ กัมพูชา นอกจากนั้นในช่วงของเจ้าอนุวงค์ได้มีบัญชาให้เจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เอาไว้บนผนังเพื่อต่อต้านข้าศึก แต่ก็มีประโยนช์น้อย จนพระธาตุหลวงถูกทำลายเสียหายไปมาก จนปี ค.ศ.1931 ฝรั่งเศสจึงได้บูรณะขึ้นใหม่โดยใช้เวลานานถึง 4 ปีเต็ม

หอพระแก้ว
อยู่บนถนนเชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงค์ลาว พระเชษฐาธิราช มีประประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา และเมื่อครองบัลลังก์ล้านช้างหลังจากพระโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในศึกสงครามกับสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตกพ่าย กองทัพสยามได้เอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของนครเวียงจันทน์ไปพร้อมกับกวาดต้อนพระราชวงค์ลาวไปยังกรุงเทพ แม้กองทัพสยามจะทำการบูรณะเท่าไร วัดนี้ก็ต้องถูกกองทัพสยามเหยียบย่ำทำลายลงอีก สำหรับหอพระแก้วปัจจุบันที่เห็นบูรณะใหม่ขึ้นมาทั้งหมด โดย การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศกรรมจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศลาวหลังจากที่ประเทศลาวได้รับเอกราช

วัดสีสะเกด
ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ตรงข้ามกับหอพระแก้ว เจ้าอนุวงค์ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2361 เนื่องจากในสมัยนั้น ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของกองทัพสยาม เจ้าอนุวงค์จึงออกแบบวัดตามอย่างศิลปะไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นสาเหตุที่กองทัพสยามไม่ทำลายวัดแห่งนี้ หลังบุกเข้าสู่นครเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2371 วัดสีสะเกดจึงอาจนับว่า เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองเพราะวัดอื่นๆที่เหลืออยู่ ผนังด้านในของระเบียงที่รอบอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน และ ดินเผา มากกว่า 2,000 องค์ ส่วนใหญ่ เป็นพระที่สร้างที่เวียงจันทน์ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ปัจจุบันวัดสีสะเกดเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ของลาว

ประตูชัย
ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึก ถึงประชาชนชาวลาว ผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฎิวัติของพรรคคอมมิวนิตย์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซิเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ใน นครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันสร้างเพราะอเมริกาพ่ายเวียดนามเสียก่อน จึงนำปูนเหล่านั้นมากสร้างประตูชัยแทน ตามลักษณะประคูชัยที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ลักษณะสถาปัตยกรรม ก็ยังคงเป็นลักษณะของลาว วังเวียง หรือ กุ้ยหลิน แห่งเมืองลาว เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบอยู่ทางตอนเหนือของนครเวียงจันทน์ ห่างจากนครเวียงจันทน์ เพียง 160 กิโลเมตร ตามถนนหมายเลข 13 วังเวียง สวรรค์บนดิน ที่มีความสวยงามแบบอมตะ และมนต์เสน่ห์ที่ยากจะหาชมได้ในปัจจุบัน ด้วยความเงียบสงบ และ บรรยากาศ แบบ สบายๆ ที่นักท่องเที่ยวทุกมุนโลก ต่างนิยมมาท่องเที่ยว เมืองวังเวียงแห่งนี้ หรือ เปรียบได้ว่า เป็น ถนน ข้าวสาร ของเมืองลาว อีกแห่งก็ว่าซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุม หรือ นัดหมาย ของนักท่องเที่ยว แบบ Backpacker จากทั่วทุกมุนโลกที่ต้องการท่องเที่ยวแบบผจญภัย และ แบบพักผ่อน แบบ ไม่เร่งรีบ และที่สำคัญ เมืองวังเวียงแห่งนี้ สถานที่พัก และ อาหาร ราคาถูกย่อมเยาว์ ไม่แพงอย่างที่คิด จึงไม่แปลกใจเลยว่า ที่วังเวียงเป็นแหล่งรวม นักท่องเที่ยว แบบ Backpacker วังเวียงเป็นแหล่งที่ เทือกเขาหินปูน และ เต็มไปด้วยถ้ำที่สวยงามอยู่มากมายที่จะรอนักท่องเที่ยวมายลโฉม


วังเวียง มีสถานที่ท่องเที่ยว และ กิจกรรม ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าเป็น การล่องเรือ คายัด ตามลำน้ำแม่น้ำโสม ชมความงามของเทือกเขาหินปูน และ วิถีชีวิตของคนลาว ที่สวยงามยากจะหาชมได้ในปัจจุบัน

ถ้ำจัน
เป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในวังเวียง ถ้ำนี้เคยเป็นที่กำบัง และ หลบซ่อนในการต่อต้ากบฎ จีนฮ่อในช่วงศตวรรษที่ 19 และ อีกหลายถ้ำ ที่คุณสามารถติดต่อกับ ไกค์ท้องถิ่น ตามสถานที่พัก ของท่าน จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับคุณ เมืองปากเซ แขวง จำปาศักดิ์ เมืองปากเซ เป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจ และ การค้าขาย ของลาวทางเขตภาคใต้ ซึ่งมีความเจริญกว่า เมืองจำปาศักดิ์ และ มีระยะทางใกล้กับชายแดนช่องเม็ก และติดอยู่กับเขตชองจังหวัดอุบลราชธานี การเดินทางคมนาคมขนส่ง จากประเทศไทย สู่เมือง ปากเซ นั้นสะดวกอย่างง่ายดาย

เมืองปากเซ ไม่เคยเป็นถิ่นกำเนิดของอารยธรรมโบราณเหมือนสุวรรณเขต และ หลวงพระบาง ฝรั่งเศสได้มีการก่อตั้งเมือง แห่งนี้ขึ้นในปี 1905 เพื่อทานอำนาจของจำปาศักดิ์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนการเข้ามาตั้งรกราก ของพวกเขมร ปากเซตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบของแม่น้ำโดนกับแม่น้ำโขง และ มีพื้นที่เพียงครึ่งหนึ่งของสุวรรณเขต เท่านั้น ปากเซมีประชากรอยู่ราว 100,000 คน เศษ แต่มีความหลากหลายทางอุปนิสัยและชาติพันธุ์อย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังมีชาวเวียดนาม และ ชาวจีน เข้ามาตั้งอาศัยรกรากอยู่อีกไม่น้อยบรรยากาศโดยทั่วไปค่อนข้างผ่อน คลาย ไม่เข้มงวดอะไรนัก การโดยสารรถจากสุวรรณเขตมายังปากเซใช้เวลาราวเจ็ดชั่วโมง และ ยิ่งเข้าเขตทางใต้ ลึกเข้ามาใด ถนนก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น แต่ทางการก็เร่งปรับปรุงเส้นทางอยู่แผนผังเมืองปากเซเป็นตารางสี่เหลี่ยมตัดกัน
จึงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องทิศทาง

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในปากเซ
ศาลเจ้าสุขศรี
ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำโดนช่วงที่ไหลมารวมเข้ากับแม่น้ำโขงพอดี ศาลเจ้าแห่งนี้มีบรรยากาศสงบ และธรรมชาติ งดงาม สร้างขึ้น เมืองจำปาศักดิ์ แขวง จำปาศักดิ์ เมืองแห่งมรดกโลก เมืองจำปาศักดิ์ มีวัดโบราณ น้ำตกแสนสวย หมู่บ้านชนกลุ่มน้อย และ ภูมิทัศน์อันสวยสดงดงามที่สุดของ ภาคใต้ของลาว ทางภาคใต้มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันนัก ผู้มาเยือนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม และ เป็นเมืองแห่งมรดกโลก

    
จำปาศักดิ์
เป็นเมืองที่สร้างก่อนเมืองปากเซ และมีความสำคัญในการค้าขาย ของเส้นทางอารยขอม จำปาศักดิ์ มีฐานะ เป็นศูนย์กลางการปกครองของแขวงและเป็นที่ประทับของพระราชวงค์ในสมัยที่ยังมีเอกราช แต่อดีตอันรุ่งเรือง กลับเหลือเพียงแต่ตำหนักยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส เพียงสองหลังทางทิศใต้เท่านั้น บนถนนลาดยางสายเดียว ในเมืองจำปาศักดิ์

จำปาศักดิ์มีถนนที่ร่มรื่นไปด้วยทิวไม้ที่น่าเดินเที่ยวเล่นหลายสาย และ สามารถปั่นจักรยานโดยรอบเมืองได้อย่างง่ายดาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองจำปาศักดิ์ อยู่แบบ เรียบๆง่าย เหมือน เป็นหมู่บ้านเล็กๆเท่านั้น ไม่น่าเชื่อเลยว่า จะเป็นเมืองจำปาศักดิ์ ที่เคยรุ่งโรนจ์ในอดีต มีชาวบ้านอยู่ในเมืองจำปาศักดิ์ไม่กี่พันคนเท่านั้น สถานที่ท่องเที่ยวของจำปาศักดิ์
วัดทุ่ง
ตั้งอยู่บนถนนลูกรังทางทิศตะวันตกของคุ้มหลวงนั้น เดิมเป็นวัดประจำราชวงค์และเป็นที่ฝังพระศพ ของเจ้านายหลายองค์ จึงยังมีบรรยากาศแบบโบราณที่มักเลือนหายไปกับกาลเวลาเหลืออยู่ แม้ความรุ่งโรจน์ จะลาลับไปแล้ว แต่จำปาศักดิ์ก็มีสภาพแวดล้อมที่น่าชื่นชม โรงแรมศาลาวัดภูนั้นเป็นอาคารชุดอาณานิคมที่ มีการช่อมแชมขึ้นมาใหม่ มีห้องพักที่สะดวกสบายเปิดให้บริการ ปราสาทวัดภูกับปราสาทอุ้มเมือง โบราณสถานที่ได้ให้เป็นมรดกโลกแหล่งที่สองของประเทศลาว รองจาก เมืองหลวงพระบาง

ปราสาทวัดภ
เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของแหล่งอารยธรรมโบราณต่างๆถึง สามสมัยด้วยกันคือ สมัยอาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่6-8 ต่อมาพวกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ได้สร้างปราสาทหินขึ้นที่นี่ในราวศตวรรษที่ 9 สุดท้าย อาณาจักรล้านช้างก็ได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูแห่งนี้ให้เป็นวัดในพุทธศาสนาสายเถรวาท

ข้อมูลการเดินทาง
การเดินทางไปยังประเทศลาว โดยเครื่องบิน ปัจจุบันมีเครื่องบินโดยสาร จาก ประเทศไทย สู่ ประเทศลาว มีดังต่อไปนี้ เส้นทาง กรุงเทพ-เวียงจันทร์ โดยสายการบิน สายการบินไทย โทร 02-545-1000
สายการบินลาว โทร 02-236-9822-3

เส้นทาง กรุงเทพ-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ โทร 02-265-5555
สายการบิน ลาว โทร 02-236-9822-3
เส้นทาง เชียงใหม่-หลวงพระบาง โดยสายการบิน
สายการบินไทย โทร 02-545-1000

โดยรถโดยสารปรับอากาศ
เส้นทางเดินทางจาก กรุงเทพ สู่ เวียงจันทร์ ประเทศ ลาว
เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด หนองคาย โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต ทุกวัน
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง

โดยรถไฟ
มีรถไฟจาก กรุงเทพ สู่ หนองคายทุกวัน ติดต่อได้ที่ สถานนีรถไฟหัวลำโพง

จากหนองคาย มีรถโดยสารประจำทาง ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทุกวัน ออกทุก 10 นาท คนละ 10 บาทคุณสามารถเรียกรถสามล้อ จากสถานนีรถไฟ หรือ สถานนีรถขนส่ง คนละ 30 บาท เพียงแต่บอกว่าไปที่ท่ารถข้ามสะพานอย่าลืมต้องมีใบผ่านแดน หรือ วีซ่าให้เรียบร้อย

เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงของ-ท่าทราย-หลวงพระบาง ขอบอกว่าเส้นทางนี้หฤโหดมาก เดินทางจากรุงเทพ สู่ จังหวัด เชียงราย อำเภอเชียงของ โดย รถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีหมอชิต ทุกวันบริษัท สยามเฟริสท์ ทัวร์ โทร 02-936-2953 หรือ 02-954-3601-7

ห้วยทราย-หลวงพระบาง
ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย อยู่ฝั่งตรงข้ามคือ ด่านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว อยู่ท่าเรือบั๊ค ด่านตรวจ
คนเข้าเมืองลาวที่ห้วยทรายสามารถขอวีซ่าแบบเร่งด่วน เดินทางเข้าประเทศลาวได่ โดยเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 US$ ในกรณีที่ไม่ได้ขอวีซ่ามาจากกรุงเทพ หรือ ทำใบผ่านแดนชั่วคราวก็ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมทางฝั่งด่านตรวจ คนเข้าเมืองไทยคนละ 35 บาท และ ด่านตรวจคนเข้าเมืองลาว ที่เมืองห้วยทราย อีกคนละ 90 บาท สามารถอยู่ ห้วยทรายได้ 3 วัน 2 คืน จากเมืองห้วยทรายสามารถเดินทางไปยังเมืองหลวงพระบางได้โดยทางรถยนต์ แต่สภาพถนนไม่ค่อยดี ระยะทางประมาณ 473 กิโลเมตร อาจต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายวัน เหมาะสำหรับ นักท่องเที่ยวแบบ ประเภทแบกเป้ ไม่คำนึงถึงเรืองเวลาซึ่งเหมาะที่จะแวะเที่ยวตามเมืองต่างๆที่เดินทางผ่านอย่าง เช่นเมืองภูคา อุดมไชย ปากมอง หลังจากนั้นก็สิ้นสุดที่หลวงพระบาง หรือ หลวงน้ำทา และ เดินทางต่อไปยังเมือง เชียงรุ้ง ประเทศจีนได้เช่นเดียวกัน

เมื่อถึงอำเภอเชียงของ สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ล้านช้าง Easy Trip โทร 09-6355999,06-9100629,09-9222030 หรือแฟ็กซ์ 053-655174 หรือที่เว็บไซต์ www.discoverylaos.com เพื่อติดต่อ เรือเดินทางจากห้วยทราย ไปยัง หลวงพระบาง

โดยทางเรือเร็ว ซึ่งทราบว่าเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนอนค้างคืน (เส้นทางหฤโหดมาก )ลักษณะเป็นเรือหางยาวท้องแบน บรรทุกได้ 7-8 คน สำหรับการเดินทางด้วยเรือเร็วอาจจะเป็นอันตรายต่อแก้วหู ดวรเตรียมอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง และ อุปกรณ์การช่วยหายใจ และ เบาะรองที่นั่ง

โดย เรือช้า ต้องนอนค้างคืนที่ ปากเบ็ง (เหมาะสำหรับคนไทย และนักท่องเที่ยวแบบแบกเป้มากที่สุด)มีที่พักราคาถูกที่ปากเม็งคอยบริการนักท่องเที่ยวใข้เวลาเดินทาง 2 วัน 1 คืน

เส้นทาง กรุงเทพ-นครพนม-ท่าแขก แขวง คำม่วนต่อไป เมือง วินห์ ประเทศ เวียดนาม
เส้นทาง กรุงเทพ-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต

เส้นทาง กรุงเทพ-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก-ปากเซ
สถานที่พัก โรงแรม เก็ตเฮาส์

สถานที่พักในเวียงจันทร์

โรงแรม

Settha Palace Hotel

6 Pang Kham Street, P.O. Box: 1618, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 217581-2. Fax: (856-21) 217583.
Email: reservations@setthapalace.com

Novotel Hotel

Unit 9, Samsenthai Road, P.O. Box 585, Vientiane, Lao P.D.R.
Tel: (856-21) 213 570. Fax: (856-21) 213 572.
Email: novotlao@loxinfo.co.th

Lao Plaza Hotel
63 Samsenethai Road PO Box 6708 Vientiane, Lao PDR.
Tel: +(856 21) 218800 - 1 Fax: +(856 21) 218808 - 9
Email: lph@laoplazahotel.com Website: http://www.laoplazahotel.com

Bangkok Sales & Reservation Office:
Pratunam Prestige Condominium
3/294 Floor 27, Soi 15 Phetburi Road Phayathai, Rajthevee Bangkok, Thailand.
Parkview Executive Suites,
Luang Prabang Rd., Sikottabong District, P.O. Box: 4793, Vientiane, Lao PDR. (Laos)
Tel: (856-21) 250888. Fax: (856-21) 250777.

Anou Hotel
1 - 3 Hengboun Street, Vientiane
Tel: 213384 Fax: 213398 E-mail: anouhotel@laonet.net

Asian Pavilion Hotel
379 Samsenthai Rd, Vientiane
Tel: (856-21) 213430, 213431, 222890Fax: (856-21) 213432
E-mail: asianlao@loxinfo.co.th

Hotel Day Inn
059/3 B Sisakhet Unit 1 Chanthaboury District Vientiane, Lao, PDR
Tel: (856-21) 223847/8 Fax: (856-21) 222984

Muang Lao-China Hotel
Km 3, Thadeua Road, PO Box 5720, Vientiane
Tel: 856 21 313325/8 Fax: 313380

The Royal Dokmaideng Hotel
Lane Xang Avenue (PO Box 3925)Vientiane, Lao PDR
Tel: (856) 21 214477Fax: (856) 21 214454
Email: dok@laonet.net

เกสต์เฮาสท์ ในเวียงจันทร์ คืนละ 3-20 US$

Boulichanh Guest House
24 Lane-Xang Avenue, Vientiane
Tel & Fax: (856 21) 22 34 75

Haysoke Guest House
TEL:(856-21) 219711 & 219722 FAX: 219755
083/1-2 Heng Boun Road, Ban Haysoke, Vientiane

Lani I House
281 Setthathirath Road Haysok, Vientiane
Tel: + 856 21 214 919, 216 103 Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net

Lani II House
268 Saylom RoadBan Hatsay Neua, Vientiane
Tel: + 856 21 213 022, 216 095Fax: 215639
E-mail: lanico@laonet.net

Lakeo Guest House
Sibounheuang Road PO Box 9907 Vientiane
Tel/Fax + 856 21 21 49 30

Saylom Yen Guesthouse,
Saylom Road, Vientiane
Tel: + 856 21 214 24

Thawee Guesthouse
64 Ban Anu(PO Box 8815)Vientiane
Tel & Fax: 217903 Mobile: 020 511 717
...........................................................................................................................................................................................................
 
 
 


สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศพม่า........ (เที่ยวลาว คลิก>>)

Country (long form) Union of Myanmar (Burma) ชื่อเป็นทางการ สหภาพพม่า

Capital: Pyanmana เมืองหลวง - เปียงมะนา

ที่ตั้งของเมืองเปียงมะนาอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 244 ไมล์ และเป็นจุดตัดของถนนสายหลัก 2 เส้น ซึ่งเชื่อมพม่าตอนเหนือกับตอนใต้เข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่ใช้กันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังเชื่อมกับเส้นทางรถไฟที่ติดต่อไปยังตอนใต้ของจีน
อย่างไรก็ดี ศูนย์กลางที่รัฐบาลพม่าใช้ก่อตั้งเมืองหลวงใหม่จริงๆ อยู่ห่างจากเปียงมะนาไปทางตะวันตกราว 7 ไมล์ เป็นจุดที่เรียกว่า “ไจ้เปี่ย” (Kyep Pyay) ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากนายพลอองซาน เคยใช้เป็นชัยภูมิสู้รบจนได้เอกราชจากอังกฤษ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่พรรคคอมมิวนิสต์เคยใช้ปักหลักต่อสู้กับรัฐบาลพม่าในอดีต

เมืองหลวงเดิม- ย่างกุ้ง

พื้นที่ 261,970.31 sq mi , 678,500.00 sq kmตั้งอยู่ทวีปเอเชีย (เอเชียตะวันตกเฉียงใต้) พรมแดนติดกับ ทะเลอันดามัน และอ่าวเบงกอล ติดกับบังคลาเทศและไทย ภาษาใช้ Burmese แต่กลุ่มชนต่างๆ มีภาษาของตัวเอง


สกุลเงิน ใช้ จ๊าด kyat
ชาติพันธุ์ในพม่า
ในสหภาพพม่ากลุ่มชาติพันธุ์ มีอยู่หลายชนเผ่าประมาณ 135 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีภาษาของตนเอง โดยชนเผ่าใหญ่ๆ ที่รู้จักได้แก่ พม่าBamer, ฉิ่น Chin, ขะฉิ่น Kachin, ขะญ่าKayah, ขะยิ่นKayin, มอญ Mon, ระขิ่น Rakhine และ ฉาน Shan .ในสหภาพพม่ามีทั้งหมด 14 รัฐแต่ละรัฐแบ่งเป็น
1. Chin
2. Kayah
3. Kachin
4. Kayin
5. Mon
6. Rakhine
7. Shan
8. Ayeyarwady
9. Bago
10. Magway
11. Mandalay
12. Sagaing
13. Tanintharyi
14. Yangon
พระเจ้าบุเรงนอง พม่าเรียกบะยินเนาว์ (Bayinnaung )
ในบทนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ ตั้งสมญานาม พระเจ้าบุเรงนองว่า The Conqueror of Ten Direction ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่ง ที่ชื่อ "จะเด็ด" พ่อแม่ของจะเด็ด เป็นคนยากจน ยังชีพด้วยการปาดตาลแต่จะเด็ด เป็นผู้มีบุญญาธิการที่จะได้เป็นกษัตริย์ ได้ครองเศวตฉัตรของพุกามประเทศ จึงวันหนึ่ง ขณะเมื่อยังเป็นทารก พ่อแม่ของจะเด็ดกำลังทำงาน ปีนต้นตาลคนละต้น ก็มีงูใหญ่ตัวหนึ่งได้มาขด ล้อมรอบกายจะเด็ดที่กำลังนั่งเล่นอยู่ สองสามีภรรยาเห็นเหต อัศจรรย์ดังนั้น จึงรีบนำเรื่องนี้ไปเล่า ให้พระราชาคณะรูปหนึ่งฟัง ราชาคณะรูปนั้นได จับยามผูกดวงชาตาเด็กทารกนั้นดู ก็รู้ว่าเด็กทารกนี้ เป็นผู้มีบุญ จะได้เป็นถึงมหาราช

จึงแนะนำให้พากันไปอาศัยอยู่กับภิกษุมังสินธู เจ้าอาวาสวัดกุโสดอ ในเมืองตองอู ต่อมาบิดาของจะเด็ดเสียชีวิตลง และนางเลาชีผู้เป็นแม่ ได้มาเป็นแม่นมให้แก่ราชโอรส และราชธิดา เมืองตองอู ทำให้จะเด็ดได้คลุกคลีกับบุคคลในวงศ์กษัตริย์ของเมืองตองอู โดยเฉพาะ มังตรา ราช โอรสเมืองตองอู ผู้มีลิ้นดำ ซึ่งอ่อนเยาว์กว่า จะเด็ดจงรักภักดีต่อมังตราเจ้านายเหนือหัวของตนเป็นอันมาก ได้เรียนวิชาการ รวมทั้ง เพลงอาวุธ โดยเฉพาะเพลงทวนบนหลังม้า จากพระอาจารย์มังสินธู อดีตนักรบคู่บุญ พระเจ้าเมงกะยินโย ผู้ตั้ง เมืองตองอู นอกจากนี้จะเด็ดยังได้เรียนเพลงดาบจาก ตะคะญี นักรบเฒ่าชาวกะเหรี่ยงสหายรักของมังสินธู ซึ่ง มีอาชีพเป็นช่างตีดาบและเป็นครูดาบแห่งหมู่บ้านกะเหรี่ยง เมื่อพระเจ้าเมงกะยินโย (หรือพระเจ้าสิริชัยะสุระ) เสด็จสวรรคตลง มังตรา เยาวกษัตริย์ แห่งเมือง ตองอู กับจะเด็ดสหายร่วมน้ำนม ก็ได้พยายามแผ่อาณาเขตของเมืองตองอู ไปจนทั่วลุ่มน้ำอิระวดี จนตีได้ เมืองแปร เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองยะไข่ รวมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน แล้วตั้งเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่เมืองหงสาวดี สถาปนาพระเจ้ามังตราขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ ทรง พระนามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้(พระเจ้าลิ้นดำ) กับ บุเรงนอง (จะเด็ด) ซึ่งเป็นพี่เขย ได้กรีธาทัพ พร้อมไพร่พลโยธา ช้าง ม้า จำนวนมากมาล้อมกรุงศรีอยุธยา จนเกิดเรื่องราวของความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์และความ หวงแหนแผ่นดินถิ่นเกิดของคนไทย ต่อมาเมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สิ้นพระชนม์ลง จะเด็ดก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์แทน ทรงนามว่าพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองกับการเสียเมืองของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพล ๒๐๐,๐๐๐ คน จัดเป็นทัพกษัตริย์ถึงหกกองทัพ มีเมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกส อาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นพลปืนใหญ่ พม่าตีได้เมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลก ปะทะทัพไทยที่ชัยนาท แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องยอมเป็นไมตรี พ.ศ.๒๑๑๑ สงครามไทย – พม่า คราวเสียกรุง พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังพล ๕๐๐,๐๐๐ คน ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ประชวรและสวรรคต กองทัพพระไชยเชษฐา กษัตริย์ล้านช้างยกมาช่วย แต่ถูกพม่าโจมตีแตกกลับไป เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ (พ.ศ.๒๑๑๒) กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่กองทัพพม่าซึ่งมีพระเจ้ากรุงหงสาวดี หรือ พระเจ้าบุเรงนอง ที่เรา รู้จักกันดีในนามว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" ทรงเป็นจอมทัพ ภายหลังที่ได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมานานถึง ๙ เดือนเศษ พระเจ้าหวสาวดี บุเรงนอง และพระสุพรรณกัลยาพระสุพรรณกัลยา เป็นธิดาองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถ วีรกษัตริย์ไทยผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติ ให้พ้นจากอำนาจของพม่า พระนางทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๓ ณ พระราชวังจันทน์ (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุปัน)เมื่อกรุงศรีอยุธยาแพ้ศึกพระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าบุเรงนอง) พุทธศักราช ๒๑๑๒ พระนางและพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ ได้ถูกบุเรงนอง กษัตริย์พม่า กวาดต้อนไปเป็นเชลยที่เมืองหงสาวดีพร้อมด้วยพระมหินทราธิราชเจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราชเสด็จสวรรคตเสียที่เมืองอังวะ พม่าจึงแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรสและธิดา ยังเป็นเชลยอยู่เพื่อเป็นตัวประกัน ป้องกันการคิดทรยศของฝ่ายไทย ทั้งสามพี่น้องอยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี จึงได้กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุที่พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองเกิดความพึงพอใจในสิริโฉมงดงาม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษกเป็นพระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ กลับสู่กรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยพระบิดารับศึกพระยาละแวกแห่งเขมร นับเป็นมหาวีรกรรม ที่ทรงมีแต่ปวงชนชาวไทย อันควรยกย่องพระเกียรติยศให้ปรากฏ

เมืองย่างกุ้ง
    
    นานมาแล้วที่เมืองย่างกุ้ง ติดอยู่ในมิติของกาลเวลาที่บิดเบือนเลือนลาง เมืองโบราณแห่งนี้เคยอบอวลไปด้วยไอร้อน ฝุ่นผงธุลีดิน และสรรพสำเนียงเสียงเซ็งแซ่ ไม่มีอาคารสูงระฟ้า มีแต่ตึกรามเก่าๆ ที่ชาวอังกฤษสร้างไว้ บนท้องถนนก็มีแต่รถประจำทางที่แน่นขนัด แท็กซี่รุ่นคุณปู่ และสามล้อที่เก่าจวนจะพังมิพังแหล่แต่ช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ย่างกุ้งได้พลิกเปลี่ยนโฉมหน้าไปเมื่อนักลงทุนจากต่างประเทศเพื่อนบ้านทยอยกันเข้ามาไม่ขาดสาย รถรุ่นคุณปู่ต้องหลีกทางให้รถญี่ปุ่นรุ่นใหม่สีมันวับ แท็กซี่รุ่นเก่าที่เคยวิ่งโคลงเคลงอยู่ตามท้องถนนถูกแทนที่ด้วยแท็กซี่รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เป็นรถยี่ห้อ มาสด้ากับซูบารุ ตึกรามอันเก่าแก่ทรุดโทรมถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างโรงแรมกับอาคารสำนักงานที่สูงระฟ้าขึ้นมาแทนที่แต่นั่นไม่ได้ทำให้เสน่ห์ของย่างกุ้งลดน้อยถอยลงในสายตาของนักท่องเที่ยว พาหนะที่ทันสมัยช่วยให้เดินทางได้สะดวกสบายขึ้น และถึงแม้ว่าจะมีตึกสูงขึ้นแซมอยู่กับหมู่โบราณสถาน แต่วิถีชีวิตของผู้คนกลับเปลี่ยนแปลงไปน้อยกว่า เราจึงสามารถนั่งแท็กซี่ไปเยือนชุมชนโปรตุเกสเก่าที่ตั่นหลินได้โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 30 นาที แทนที่จะนั่งเรือเป็นครึ่งค่อนวันและตั่นหลินก็ยังคงเป็นเมืองที่เงียบสงบซ่อนเหตุวุ่นวายในประวัติศาสตร์ไว้เบื้องหลังซากโบถส์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พระบรมธาตุชเวดากอง(SHWEDAGON PAGODA) พระมหาเจดีย์ทองคำที่งดงามตั้ง เด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง มีความสูงประมาณ 109 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินดินที่ชื่อ “SINGUTTARA” ซึ่งมีลานรูปสี่เหลี่ยมและเป็นเนินที่สูงที่สุดในเขตปริมณฑลเมืองย่างกุ้งมีความยาว โดยรอบ ประมาณ 473 เมตร รอบฐานพระมหาเจดีย์รายล้อมไปด้วยเจดีย์องค์เล็กๆ อีกร้อยองค์ มีซุ้มประตูสี่ด้านยอดฉัตรองค์พระมหาเจดีย์ประกอบด้วยเพชรและพลอยมากมาย นับเป็นงานถาปัตยกรรมฝีมือช่างพม่าที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษแรกๆ เชื่อกันว่าภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้บรรจุเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น พระมหาเจดีย์นี้ยังคงฐานะของพุทธสถานอันเป็นที่พึ่งทางใจของคนพม่าในทุกชั้นวรรณะทุกเพศทุกวั

พระเจดีย์สุเล (Sule Pagoda)
องค์พระเจดีย์สูงถึง 157 ฟุต ศาสนสถานหลักใจกลางกรุงย่างกุ้ง สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ สุเลนัต หนึ่งในสี่นัตที่เกี่ยวข้องกับตำนานของพระมหาเจดีย์ชเวดากอง

พระเจดีย์โบตะตอง
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรับพระเกศาธาตุก่อนที่นำไปบรรจุในพระเจดีย์ชเวดากอง เมื่อพระเกศาธาตุได้ถูกอัญเชิญขึ้นจากเรือ ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์โบตะตองแห่งนี้ก่อน พระเจดีย์แห่งนี้ได้ถูก ทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยมีความแตกต่างกับ พระเจดีย์ทั่วไปคือ ออกแบบให้ใต้ฐานพระเจดีย์มีโครงสร้างโปร่งให้คนเดินเข้าไปภายในได้ โดยอัญเชิญพระบรมธาตุไว้ในผอบทองคำให้ผู้คนได้เข้ามากราบไหว้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนผนังใต้ฐานเจดีย์ได้นำทองคำและของมีค่าต่างๆ ที่มีพุทธศาสนิกชนชาวพม่านำมาถวายแก่องค์พระเจดีย์ มาจัดแสดงไว้

 

พระพุทธไสยาสน์เชาตาจี
พระพุทธไสยาสน์เชาตาจีแห่งเมืองย่างกุ้ง พระพุทธรูปองค์นี้ มีลักษณะพิเศษคือ ที่บริเวณพระบาทมีภาพวาดรูปสรรพสิ่ง อันล้วนเป็นมิ่งมงคลสูงสุด เพราะประกอบด้วย ลายลักษณธรรมจักร ข้างละองค์ ในบริเวณใจกลางฝ่าพระบาท และล้อมด้วย รูปอัฏฐุตรสตกตมงคล 108 ประการ

ตลาดโป๊ะโยค หรือ “สก๊อตมาร์เก็ต” ซึ่งตลาดแห่งนี้ท่านสามารถเลือกซื้อของฝากญาติมิตรได้นานาชนิดเป็นต้นว่า เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ไม้แกะสลักพระพุทธรูปเทวรูปที่ทำด้วยไม้จันทน์, เครื่องแกะสลัก, เครื่องลงรักปิดทองต่างๆ, ถ้วยชามกังไสจีนโบราณ, โคมไฟแก้ว และแจกันเจียระไนโบราณ, นาฬิกาข้อมือเก่า, ผ้าไหมลายต่างๆ ไปจนถึงบรรดาว่านต่างๆเช่น ว่านหงสาวดี ภาพ วาดสีน้ำมันรูปทิวทัศน์ของพม่า ฯลฯ หงสาวดี หรือ Bago

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

วัดพระหินขาว

พระธาตุมุเตา หรือ พระมหาเจดีย์ชเวมอดอ

พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace วังพระเจ้าบุเรงนอง
พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง

พระมหาเจดีย์
พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)

วัดพระหินขาว
หรือที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า “Lawka Chantha Abaya
Labamuni Buddha Image” พระหินขาวนี้สร้างจากหินขาวที่มีลักษณะมันวาว สีขาวสะอาดและไม่มี
ตำหนิ สูง 37 ฟุต กว้าง 24 ฟุต หนัก 600 ตัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสิงคโปร์ และศรีลังกายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกจากองค์ หมายถึงการไล่ศัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมีการนำหินที่เหลือมาสลักเป็นพระพุทธบาทซ้าย-ขวา ประดิษฐานอยู่ บริเวณด้านหลังพระพุทธรูปด้วย จากนั้นชมช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าในบริเวณใกล้กันศาสนสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ใน เมืองหงสาวดี เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี เคยพังทลายลงมาเพราะแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ต่อมาได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพระธาตุมุเตามีความสูงประมาณ 125 เมตร พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace อดีตพระราชวังของ “พระเจ้าบุเรงนองกยอดิน นรธา” ที่คนไทยรู้จักในดีในนามของผู้ชนะสิบทิศ สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็น ตำหนักที่บรรทมและท้อง พระโรงที่ออกว่าราชการซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังทุกวันนี้ และเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกจับเป็นตัวประกัน ในอดีตพระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2109 มีผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงแต่ละด้านยาวประมาณ 1.5 ไมล์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามบันทึกของ นายราล์ฟ ฟิตซ์ ชาวอังกฤษซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายและได้เห็นเมืองหงสาวดีในยุครุ่งเรืองได้บรรยายไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2129 ก่อนที่พระราชวังหงสาวดีซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงามจะถูกเผาทำลายลงในปี พ.ศ. 2143 พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์อันดับสองของเมืองหงสาวดี พระพุทธรูป องค์นี้มีความยาว 60 เมตร สูง 17 เมตร สร้างขึ้นโดยพระเจ้ามิคทิปปะ ใน พ.ศ. 1537 พระพุทธรูปองค์นี้ได้ตากแดดกรำฝนอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งทรุดโทรมลง ระหว่างนั้นก็ได้มีการบูรณะมาโดยตลอด แต่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบอง ปราบมอญราบคาบ เมืองหงสาวดีถูกทิ้งร้างพระพุทธไสยาสน์ก็ถูกทอดทิ้งจนกลางเป็นเพียงกองอิฐถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุมหมด จนถึงปี พ.ศ. 2424 เมื่ออังกฤษ สร้างทางรถไฟสายพม่าใต้ จึงได้พบพระนอนองค์นี้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 หลังพม่าได้รับเอกราชก็มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง โดยทาสีและปิดทองใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน พระมหาเจดีย์ พระมหาเจดีย์ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2103 เพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจากลังกาและ พระเจดีย์ไจปุ่น ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระพักตร์ไปทุกทิสทาง แทนความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป ได้เวลาสมควรนำท่านเดินกลับสู่กรุงย่างกุ้ง


พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)
ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระ พักตร์ไปทุกทิสทางแทนความหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป มีตำนานเล่าว่า พระราชธิดาทั้งสี่องค์ของกษัตริย์มอญสร้างไว้ โดยอธิษฐานว่า จะไม่ยอมอภิเษก แต่ตอนหลังพระธิดาองค์เล็กได้อภิเษก เป็นการผิดสัจจะ พระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนสี่องค์นี้ ก็เลยพังทลายลงมา. เมืองพุกาม นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขาน ยกทัพมาเหยียบเมืองพุกาม ในปี 1287 นั้น มีการ สร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถาน หลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐ ที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจาก ยุคทอง ของการสร้างวัดวาอาราม ที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คน ในปัจจุบัน ได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บน เส้นทาง การท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและ แห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาล ไปเสียนานแล้ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาว ปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบ ที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัย ของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง จนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์พุกามด้วยการพิชิตราชธานี ของ พวกมอญลงได้ในปี 1507 เมืองพุกาม หรือที่เรารู้จักในนาม อาณาจักรพุกามเดิม (Pagan หรือ Bagan) เมืองมรดกโลก ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงย่างกุ้ง 680 กิโลเมตร เป็นดินแดนอารยธรรม แห่งหนึ่งของโลก เพราะมีวัดวาอารามมากมาย ตลอดจนเจดีย์กว่า 2,000 องค์

นับแต่พระเจ้าอโนรธาตีเมืองตะโถ่งได้ในปี 1057 จนกุบไล่ขานยกทัพมาเหยียบเมืองพุกามในปี 1287 นั้น มีการ สร้างวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ขึ้นบนที่ราบอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้กว่า 13,000 แห่ง แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปได้เพียง เจ็ดร้อยปี กลับมีศาสนสถานหลงเหลืออยู่ราว 2,000 แห่งเท่านั้น นอกนั้นกลายเป็นซากกองอิฐที่ปรักหักพังบ้าง ถูกแม่น้ำ เอยาวดี พัดหายไปบ้าง แต่มรดกจากยุคทองของการสร้างวัดวาอารามที่เหลือตกทอดมาให้ผู้คนในปัจจุบันได้ชื่นชม ก็ยัง ต้องถือว่ามีอยู่ไม่น้อยเลยอยู่ดี ถ้าพุกามตั้งอยู่บนเส้นทางการท่องเที่ยวสำคัญของเอเชีย แทนที่จะเป็นที่ราบอันร้อนและ แห้งแล้ง ในภาคกลางของพม่าเช่นนี้ ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชาวตะวันตก ไม่ต่างจากกำแพงเมืองจีน หรือ ทัชมาฮาลไปเสียนานแล้ว ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 พระเจ้าตะมุดะริด (สมุทรฤทธิ์) ทรงนำชาวปยู มาตั้งบ้านเมืองขึ้นในเขต ที่ราบพุกาม แต่เมืองแบบที่มีกำแพงล้อมรอบนั้น เพิ่งมาสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 849 ในรัชสมัยของพระเจ้าปหยิ่นปยา ครั้นพระเจ้าอโนรธา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 42 แห่งราชวงศ์พุกาม ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองจนรุ่งเรือง และรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปอีกใน รัชสมัยพระเจ้าญานสิทธา พระเจ้าอโนรธา ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1044 ทรงพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ พุกามด้วยการพิชิตราชธานีของพวกมอญลงได้ในปี 1507

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
พระเจดีย์ชเวซิกอง ( Shwezigon Pagoda ) อันศักดิ์สิทธ เจดีย์องค์ใหญ่ ที่มีสีทองอร่ามตา เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ 1627 โดยพระเจ้าอโนรธามหราช แต่สร้างไม่เสร็จ จนกระทั่งมาสร้างเสร็จในรัชสมัยของพระเจ้าจันสิธาเมื่อปี พ.ศ 1656 เชื่อกันว่าภายในบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งรูปแบบถาปัตยกรรมของพระ เจดีย์ชเวซิกองนี้ ต่อมาเป็นแบบอย่างของการสร้างเจดีย์ของประเทศพม่า ในยุคต่อ ๆ มา


วัดถ้ำจันสิทธา (Kyanzittha Umin )

ซึ่งมีลักษณะอาคารเตี้ยก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ดิน ครึ่งหนึ่งบนพื้นดินครึ่งหนึ่ง พบกับภาพเขียนโบราณซึ่งวาดขึ้นในระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ 16-19 ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าจันสิทธา

วัดทิโลมินโล (Htilominlo Pagoda )
ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ไตร โลกมงคล “ สร้างโดยพระเจ้าติโลมิโล เมื่อปี พ.ศ 1761 ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความ สวยงามมากทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะปูนปั้นบริเวณฐานด้านนอก วิหารนันปยะ ( Nanpaya ) ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้ามนูหะ ซึ่งพระเจ้า อโนรถา ทรงจับเป็นเชลยมาจากเมือง สะเทิน สร้างด้วยอิฐและสอดินแต่พื้นปูด้วยหิน มี แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมีมุขยื่นยาวออกไปทางทิศตะวันออก ใกล้กับแท่นบูชา ภายในอาคารมีเสาหิน 4 เสา และบนแต่ละด้านของเสาก็สลักลายดอกไม้รูปสามเหลี่ยมและ เทวรูปพระพรหมทรงถือดอกบัวอยู่ในแต่ละหัตถ์ งานตกแต่งภายนอกอาคารที่น่าสนใจยิ่ง คือ บานหน้าต่างเป็นช่องปรุทำจากศิลา อันเป็นแบบอย่างและกรรมวิธีของงานงางพุกามใน ส่วนที่เชื่อว่ารับวัฒนธรรมมอญ ทั้งนี้รวมถึงลวดลายที่ประดับกรอบของหน้าต่างและส่วน อื่นของผนังด้วยพระเจดีย์ธรรมยาจี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้านรถุ (พ.ศ. 1710 – 1713) เจดีย์อานันทะ (ชื่อดังเดิมคือ อนันตปัญญา) เป็นวิหารทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขเด็จ ออกไปเท่ากันทั้ง 4 ด้านแต่ละด้านมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทรงสูง 10 เมตร ใหญ่โตสูงสง่าและเป็นศิลปะพระพุทธรูปต้นแบบสมัยพุกามดั้งเดิม เจดีย์สัพพัญญู (THATBYINYU) เป็นวิหารสูงที่สุดในพุกามทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความสูง 201 ฟุต เป็นวัดประจำรัชกาลพระเจ้าอลองสินธสร้างเลียนแบบวัดในประเทศอินเดีย สูงห้า ชั้นโดยชั้นที่สี่เป็นที่ปดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับต้นแบบและชั้นที่ห้าเป็นองค์พระสถูปอัน ศักดิ์สิทธิ์ พระเจดีย์กูบยางคยี (GUPYAUKKYI PAGODA) ที่สร้างโดยพระโอรสของพระเจ้าจันสิธะในราวปี พ.ศ. 1656 พระเจดีย์แห่งนี้สร้างแบบศิลปะของพยูหรือพุกามตอนต้น ภายใน พระเจดีย์ท่านจะได้ชมจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดของเมืองพุกามที่ยังคง หลงเหลืออยู่ พระเจดีย์มิงกาลา

ชมทัศนียภาพของอาณาจักรพุกามจากมุมสูง จากสถานที่ แห่งนี้ ท่านจะได้พบกับพระเจดีย์น้อยใหญ่จำนวนมากมายที่เป็นที่มาของชื่อ “ดินแดนแห่ง
พระจดีย์สี่พันองค์” พระอาทิตย์ตกริมฝังแม่น้ำอิรวดีที่พระเจดีย์บุพะยา (BUPAYA PAGODA) ซึ่งจะทำให้ท่านประทับใจมิรู้ลืม ช้อปปิ้งสินค้าพื้นเมืองจำพวกเครื่องเขิน (LACQUERWARE ) ในบริเวณหมู่บ้าน พุกามใหม่ (New Bagan) ซึ่งดำเนินกิจการติดต่อนานกว่า 1,000 ปี
มิงกุน มิงกุนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำเอยาวดี ทางตอนบนสุดของทิวเขา ที่โอบล้อมเมืองสกายน์เอาไว้ ที่นี่มีระฆังใบใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังคงสภาพดีเยื่ยม กับพระเจดีย์ขนาดมหึมา ที่ยังสร้างไม่เสร็จอีกองค์หนึ่ง ตั้องยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของเขามัณฑะเลย์ ห่างไปกว่า 10 กิโลเมตรมิงกุน ไม่ใช่ราชธานี ที่ประทับของกษัตริย์อย่างอินน์วะ กับอมรปุระ แต่ก็มีความสำคัญในตัวเอง และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก หมู่บ้านแห่งนี้ เข้ามาได้โดยทางน้ำเท่านั้น โดยจะมีเรือ อกจากมัณฑะเลย์ทุกวัน และใช้เวลาเดินทาง ราวหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ถ้าคุณไม่ได้โดยสารเรือกลไฟเยาวดี จากมัณฑะเลย์มายังปะกั่น อย่างน้อย ก็น่าจะลองนั่งเรือ สำหรับการเดินทาง ในช่วงนี้ดู จะได้ชมวิถีชีวิต ของชาวบ้านบนลำน้ำสายนี้ จากมยิตจีนากับปะเต่งลงมายังย่างกุ้ง เมืองมิงกุน “เจดีย์ยักษ์มิงกุน”เจดีย์องค์นี้ถ้าสร้างสำเร็จก็จะมีความสูงถึงราว 165 เมตร และจะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่ สุดในประเทศพม่า อย่างไรก็ดีเมื่อพระเจ้าปะดุงสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2362 เจดีย์องค์นี้ก็ถูกทอดทิ้งไม่มีการสร้าง คงเหลือไว้เป็นกองอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากนั้นชม “ระฆังยักษ์มิงกุน” ซึ่งพระเจ้าปะดุงทรงสร้างไว้ เป็นระฆังสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า น้ำหนักประมาณ 90 ตัน ระฆังนี้สูง 4 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากกว้างราว 5 เมตร นับว่าเป็นระฆังที่แขวนอยู่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก พระเจดีย์สินพยุเม ซึ่งพระเจ้าพะคยีดอทรางสร้างใน พ.ศ. 2359 ก่อนที่จะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เจดีย์องค์นี้เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา


พระเจ้าพะคยีดอทรงสร้างอุทิศแด่พระชายาคือ เจ้าหญิงสินพยุเมที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว แม้จะถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว แต่ก็ได้รับการซ่อมแซมและปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ ไม่ถึง 150 ปี ดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมือง ของพม่าที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกหาแต่อย่างใด ชื่อ มัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆ กับ แม่น้ำเอยาวดี (อิระวดี) ที่ทอดสาย ไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของ พระราชวงศ์พม่า หมู่สถูปเจดีย์ ที่มีให้เห็นอยู่ทั่ว ทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวา เปี่ยมไปด้วย น้ำใจไมตร มัณฑะเลย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูง เหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่า สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ของพม่า คือมัณฑะเลย์ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลาง การค้า ในเขตพม่าบนช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ไม่ถึง 150 ปีดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมืองของพม่า ที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกแต่อย่างใด ชื่อมัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆกับ แม่น้ำเอยาวดี(อิระวดี) ที่ทอดสายไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของพระราชวงศ์พม่า หมู่สถูป -เจดีย์ที่มีให้เห็นอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวาเปี่ยมไปด้วยน้ำใจ ไมตรีมัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่าสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบันของพม่าคือมัณฑะเลย์ ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตพม่าบน ช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามกรรมวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย สถานที่ท่องเที่ยวในมัณฑะเลย์เจดีย์เจาตอจี (Kyauktawgyi Pagoda ) หรือเรียกว่า วัดหินใหญ่ ภายในมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่แกะสลักจากหินอ่อนก้อนเดียว เนินเขามัณฑะเลย (Mandalay Hill ) มีความสูง236 เมตร ซึ่งทางขึ้นเป็นบันไดที่มีหลังคาทอดตัวขึ้นสู่ยอดเขาทั้งหมด 1,729 ขั้น และศาลเล็ก ๆ ตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ มีอยู่หลายหลังที่เป็นผลงานของฤาษีอู่ขั้นตี่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งบนยอดเขามีวิหารหลังใหญ่แห่งแรกที่บรรจุพระบรมธาตุสามองค์ ของพระพุทธเจ้าไว้ ท่านจะสามารถเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองมัณฑะเลย์ ยามอาทิตย์อัสดงได้อย่างชัดเจน สะพาน อูเป็ง ( U Bien Bridge ) เป็นสะพานที่สร้างขึ้นจากไม้สักที่นำมาจาก พระราชวังในเมืองอังวะ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 200 กว่าปี ที่แล้วมีความยาว 1.2 ก.ม


วัดมหากันดายงค์ ( Maha Gandayon Monastery )

ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่สุดของพม่าที่เมืองอมรปุระ ซึ่งในช่วงเพลจะมีภิกษุสงฆ์นับร้อยรูปเดินเรียงแถวด้วยอาการสำรวมเพื่อรับอาหาร
พระพุทธมหามุนี (Mahamui Pagoda )หรือรู้จักกันในนามพระล้างหน้า ที่มีความงดงามตามศิลปกรรมพม่า ที่มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ที่อย คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานที่สร้างขึ้นราว ปี พ.ศ 2327 เป็นสถานที่ที่สำคัญรองจากพระธาตุเชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง พระราชวังมัณฑะเลย์ของพระเจ้ามินดงและกษัตริย์ สีป่อ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้าย พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างขึ้นสมัยพระราชามินดง Mindon ราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ภายหลังจากมีสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2395เวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่ อมรปุระ Amarapura ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 พระราชามินดงต้องการที่จะหาที่ตั้งของเมืองหลวงที่จะสร้างใหม่หลังสงครามเพราะเมืองหลวงเก่าได้ซึ่งผ่านสิ่งร้ายๆมา ประกอบกับการยึดมั่นในหลักศูนย์กลางพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานครบ 2,400 ปี จึงมีรับสั่งให้สร้างเมืองหลวงใหม่ให้เป็น "เมืองสีทอง" Golden City ได้ปรึกษากับพระโหราจารย์ และได้ศุภฤกษ์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 โดยได้วางศิฤาฤกษ์ และต่อมาก็ตั้งผังเมือง โดยฝั่งทางตะวันตกนั้นได้นำชีวิตมนุษย์สังเวย โดยนำชาย หญิง และเด็กจำนวน 52 ชีวิต ฝังไว้ภายใต้เสาหลักเมือง เชื่อว่าวิญญาณของคนเหล่านี้จะปกป้องคุ้มครองเมือง การก่อสร้างเมืองเสร็จสมบูรณ์ในปี 2402 รวมระยะเวลาในการสร้าง 2 ปี เมืองสร้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส วัดได้ ประมาณ 2,030 เมตร ในแต่ละด้าน พระราชวังตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัส มีกำแพงล้อมรอบโดยมีประตู 12 ด้าน ตามจักราศรีพระราชวังโดดเด่นด้วยหอสูง 78 เมตร ซึ่งตั้งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา หลังคาสูงเจ็ดชั้นประดับด้วยทองคำเปลว โดยได้สร้างให้สมเกียรติ กับบัลลังค์สิงโตซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เช่นพิธีKadaw เทิดพระเกียรติ ซึ่งจัดขึ้น 3 ครั้งต่อปี พระราชวังทั้งหมดทำจากไม้ซึ่งนำมาจากวังเดิมที่อมรปุระ พระราชวังตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปตามเทพนิยาย รูปดอกไม้และสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ มีหอนาฬิกาที่ทำจากไม้สักเพื่อเป็นที่สังเกตุการณ์ของทหารเพื่อระวังไฟไหม้ กษัตริย์มินดงได้สวรรค์คตในปี 2421 ต่อมาพระราชวังได้ถูกไฟไหม้วอดวาย ในปี 2488 รัฐบาลพม่าจึงได้บูรณะวังใหม

วัดกุโสดอ (Kuthodaw)
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ทำสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 และมีแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ที่หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้บันทึกไว้ว่าเป็นแผ่นจารึกพระไตรปิฎกที่ใหญ่สุดในโลก

วัดชเวนันดอ (Shwenandaw)
ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ลวดลายแกะสลักวิจิตร อ่อนช้อยทั้งหลังคา บานประตู และหน้าต่างอันเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธประวัติ และทศชาติของพระพุทธเจ้าซึ่งความงดงามตามแบบศิลปะพม่าแท้ ๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปอันวิจิตรงดงามศิลปะพม่า

วัดอะตูมาชิ
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน วัดนี้เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน 114 แห่งที่สร้างขึ้นใน รัชสมัยของพระเจ้ามินดง

ตลาดเซโจ
เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตพม่าบน ช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามกรรมวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า


เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com