โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำรินำร่องภาคเหนือที่จังหวัด |
|
ประกาศเมื่อ
26 พฤศจิกายน 2010 เวลา 00:21:22 เปิดอ่าน
1322 ครั้ง |
|
|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์เปิดโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริที่จังหวัดเชียงราย
เมื่อบ่ายวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนาตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่บ้านใหม่บัวแดง ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีนายภวัต เลิศมุกดา นายอำเภอเมืองเชียงราย นายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายและประชาชนให้การต้อนรับ ตลอดจนได้ร่วมกันเกี่ยวข้าวและมอบกระบือให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนา เกิดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับตั้งที่พระองค์ท่านได้ดำริไว้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2511 ณ ตำหนักจิตรลดา รโหฐาน พระราชวังดุสิต พระองค์ท่านทรงห่วงใยชาวนาไทยที่ประสบปัญหาความยากจนจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา ทั้งนี้ เกิดจากราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจาก ภาวะน้ำมันแพง ปุ๋ย เคมีมีราคาแพง พระองค์ท่านจึงทรงรับสั่งให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกษตรกรหันกลับมาใช้แรงงาน ควายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำนา โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้น้อมรับที่จะสนองพระราชดำริจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นที่ จังหวัดเชียงราย ถือเป็นจังหวัดนำร่องในภาคเหนือ ในการเป็นแบบอย่างในการรณรงค์ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรชาวนาไทยให้หันกลับ มาใช้แรงงานกระบือไถนาถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรค่าแห่งการส่งเสริม และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีที่สามารถแก้ไขปัญญาเชิงระบบทั้งระยะสั้น กลางและระยะยาวได้อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สำหรับนายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายได้รายงานว่า จังหวัดเชียงรายให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามโครงการ พลิกฟื้นธนาคารควายไถนา เพื่อสนองพระราชดำริและเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องเกษตรกรจึงดำเนินการตามคำสั่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรเป้าหมายกับคณะทำงานตามโครงการฯระดับจังหวัดขึ้น พร้อมกับจัดฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะการใช้แรงงานกระบือให้แก่เกษตรกรและเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลกระบือรวมทั้ง จัดหาและสนับสนุนกระบือเพศเมียที่ได้จากธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระ ราชดำริที่ผ่านการฝึกไถนามาแล้วส่งมอบให้เกษตรกรจำนวน 25 ตัว โดยในปัจจุบันแม่กระบือดังกล่าวได้คลอดลูกตัวแรกจำนวน 11 ตัว พร้อมส่งมอบให้แก่เกษตรกรผู้ร่วมโครงการและยังมีแม่กระบือตั้งท้องใกล้คลอด อีก 14 ตัว ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีเกษตรกรใช้แรงงานกระบือในการทำนารวม 8 อำเภอ เกษตรกร 362 ราย มีจำนวนกระบือ ที่ใช้งานทั้งสิ้น 591 ตัว ในพื้นที่ทางการเกษตร 1,503 ไร่ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงกระบือในตำบลแม่ข้าวต้ม มีการพัฒนากระบวนการต่างๆ ไม่ว่าการจัดกิจกรรมใช้แรงงานกระบือเป็นแผนงานพัฒนาตำบลแม่ข้าวต้ม มีโรงเรียนบ้านหนองบัวแดงร่วมสนับสนุนด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนและเยาวชน ได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาควายไทยจากหลักสูตรที่จัดทำขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเครื่องมือ อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำนา จัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและที่ผ่านมาได้จัดทำแปลงสาธิตของโรงเรียนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาอีกด้วย |
|
|
|
|
|
|