การจัดงานประชาสัมพันธ์เชิงวิชาการ : โค้งสุดท้ายการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz "2.1 GHz ภารกิจเพื่อชาติ" ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดเชียงราย เป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงความคืบหน้า ขั้นตอนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ซึ่งจะมีการประมูลขึ้นภายในปีนี้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นความต้องการในการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมในอนาคตตามนโยบายการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมรวมถึงการให้บริการและกระจายเทคโนโลยีให้กับประชาชนทั่วประเทศของ กสทช.
การประมูลเป็นวิธีจัดสรรคลื่นความถี่ทีดีที่สุด นอกจากมีความโปร่งใสและยุติธรรมแล้วยังสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ไปให้ผู้ที่สามารถนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมทั้งในด้านคุณภาพและราคาทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์โดยตรงและยังจะส่งผลกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอีกด้วย การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ในย่าน 2.1 GHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับการให้บริการข้อมูลหรืออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจะใช้คลื่นความถี่นี้เพื่อให้บริการข้อมูลแบบไร้สายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นกับอุปกรณ์เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค แท๊บเล็ต เป็นต้น
การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ในย่าน 2.1 GHz ในประเทศไทยจะเป็นรูปแบบเสนอราคาเพิ่มขึ้น สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 2.1 GHz นี้มีขนาด 45 เมกะเฮิรตซ์ถูกแบ่งเป็น 9ช่อง ช่องละ 5เมกะเฮิรตซ์รอบแรกผู้ประมูลต้องเสนอราคาเท่ากับราคาตั้งต้นทีอยู่ในช่วงการพิจารณาของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) สามารถเสนอราคากี่ช่องก็ได้ตั้งแต่หนึ่งช่องถึงสามช่อง นั่นคือผู้ประมูลสามารถเสนอราคาได้ตั้งแต่ 5 ถึง 15เมกะเฮิรตซ์ การกำหนดใบอนุญาตดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตมีอย่างน้อยสามรายขึ้นไป การประมูลจะเป็นการเสนอราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะจบลงเมื่อไม่มีผู้ประมูลคนใดเสนอราคาเพิ่มอีก ผู้เสนอราคาสูงสุดในแต่ละช่องก็จะได้รับคลื่นช่องนั้นๆไปใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตเมื่อครบกำหนด 15 ปี ผู้ประกอบการจะต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. แล้วกสทช.จะนำคลื่นความถี่นั้นกลับมาประมูลใหม่
แน่นอนที่สุดประชาชนคือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการประมูลในฐานะผู้บริโภค การจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งส่งผลให้อัตราค่าบริการลดลง คุณภาพการบริการดีขึ้นและเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ การที่ประชาชนสนใจจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคสูงสุด ดังนั้นประชาชนทุกคนควรจะให้ความสนใจกับสิ่งที่เหมือนจะไกลตัวแต่จริงๆแล้วใกล้แค่เอื้อม
กำหนดการงานประชาสัมพันธ์งานประชาสัมพันธ์เชิงวิชาการ :
โค้งสุดท้ายการประมูลคลื่นความถี่ ๒.๑ GHz
"2.1 GHz ภารกิจเพื่อชาติ"
วันที่ 24 สิงหาคม 2555 ณ ห้องดอยตุง โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
ลำดับ |
เวลา |
รายการ |
วิทยากร |
1 |
09.00-09.30 |
ลงทะเบียน |
|
2 |
09.30-09.45 |
พิธีเปิด |
|
3 |
09.45-11.45 |
การประชาสัมพันธ์เชิงลึก การประมูลคลื่นความถี่ 3G 2100MHz |
|
|
|
เหตุใดจึงต้องมีการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|
|
ข้อปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|
|
เทคนิคการประมูลคลื่นความถี่และวิธีการประมูลที่ กสทช. เลือกใช้ |
ดร. พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ |
|
|
ความคืบหน้าการประมูล ระเบียบ วิธี และขั้นตอน |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|
|
อนาคตหลังการประมูลคลื่นความถี่ คนไทยได้อะไร? |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
4 |
11.45-12.00 |
เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม |
|
5 |
12.00-13.00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
|
6 |
13.00-15.00 |
สัมมนาวิชาการ เทคโนโลยีและประชาชน |
|
|
|
ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคต |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|
|
ท้องถิ่นได้อะไรจากการให้บริการ 3G |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|
|
สิทธิของประชาชนในกิจการโทรคมนาคม |
ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ |
|