1. หลักการและเหตุผล
1.1 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือของไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ – ใต้ (NSEC : North South Economic Corridor) เชื่อมโยงจากจีนตอนใต้ผ่าน สปป.ลาว และสหภาพเมียนมาร์ สู่ปลายทางที่สิงค์โปร์ ทั้งเส้นทางบกสาย R3A ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 (อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย – บ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว) สาย R3B เป็นเส้นทางจากจีนผ่านสหภาพเมียนมาร์ติดต่อกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนชายแดนไทย –สปป.ลาว ด้านจังหวัดน่าน มีการก่อสร้างถนนสายห้วยโก๋น – ปากแบ่ง ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศจีนและเวียดนาม ทางน้ำเป็นการค้าขายกับจีนผ่านแม่น้ำโขง โดยใช้ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 และ 2 ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังมีเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก –ตะวันตก (EWEC : East – West Economic Corridor) เชื่อมโยงจากเวียดนามผ่าน สปป.ลาว จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สู่ปลายทางที่สหภาพเมียนมาร์
1.2 การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้าน จะอาศัยการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ (Geographical Proximity) ค้นหาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ความได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิต (Abundance of Factor of Production) หรือสามารถสร้างทางเศรษฐกิจ และความได้เปรียบที่เกื้อกูลกัน (Complementary Advantages) เพื่อรวมกำลังการผลิตในพื้นที่เข้าเป็นหนึ่งเดียว (Production Networking) แล้วผนวกเข้ากับบริบทของการพัฒนากลุ่มอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยยึดหลักแนวคิด New Regionalismเพื่อให้เกิดสภาพความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความเท่าเทียมทางสังคม และการสงวนการรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ในการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
1.3 การเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเอื้อและเสริมบทบาทของภาคเหนือ ในการเป็นด่านหน้า หรือประตูเศรษฐกิจของระเบียงเศรษฐกิจ NSEC ทั้งการค้าและการลงทุน และปรับเปลี่ยนแนวคิดการมองอาเซียนจากคู่แข่งมาเป็นหุ้นส่วน โดยสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นทั้งแก่คนไทย ผู้ประกอบการไทย กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตและการลงทุน ด้วยการใช้ศักยภาพความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ และศักยภาพของพื้นที่ในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการดึงดูดการลงทุนสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) ตามแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC : North – South Economic Corridor)
2. เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงตลาดสินค้าและบริการของภาคเหนือสู่ตลาดสากล (GMS & AEC)
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก (SME) ที่มีศักยภาพได้มีโอกาสขยายตลาดไปยังต่างประเทศและพัฒนาเป็นผู้ประกอบการข้ามชาติ
3. กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ประกอบการค้าชายแดน ค้าผ่านแดน ค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีศักยภาพ และหอการค้าจังหวัด/สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย 4 กลุ่มสินค้า/ธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการค้า กลุ่มภาคอุตสาหกรรม กลุ่มโลจิสติกส์ และกลุ่มการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมประชุม Business Forum จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา 300 ราย
2. ผู้ประกอบการนำเข้าในต่างประเทศจากประเทศในกลุ่ม GMS และผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP เข้าร่วมกิจกรรมกรรม Business Matching 100 คน
4. สถานที่ดำเนินการ
วันที่ 18 กันยายน 2555 โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อำเภอเมือง จ.เชียงราย
ณ ห้องประชุม ล้านตอง เวลา 9.00-18.00 (โดยประมาณ)
5.ผู้สนับสนุนโครงการ
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย
6.หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
สภาอุตสหกรรมจังหวัดเชียงราย , หอการค้าจังหวัดเชียงราย , สมาคมอาเชียน-ไชน์น่า ประเทศไทย
7. ผู้บริหารโครงการ
บริษัทนูเน็ตคอมเมิร์ซ จำกัด
8 ซ. 1 ถ.ธนุษย์พงษ์ ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทร. 053-262256 – 7 โทรสาร 053-304414 Email: info@nunet.co.th
------------------------------------------------------
( -สนใจเชิญเข้าร่วมสัมมนา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ฟรี อาหารกลางวัน และ อาหารว่าง
-สำหรับท่านที่ เดินทางมาจาก ต่างจังหวัด ทางเรา มีโรงแรมที่พักให้ฟรี 2 คืน (วันที่ 17-18 กันยายน 2555)
ขอสงวนสิทธิที่พักโรงแรมให้ผู้เข้าร่วมอบรมเท่านั้น (โทรแจ้งยืนยันการเข้าพักและสัมมนาก่อนเท่านั้น และต้องลงทะเบียนและเข้าร่มสัมมนา) ผู้ที่มาพักเพื่องานอื่นขอตัดสิทธิการเข้าพักทันที *การเข้าพัก 1 ท่าน ต่อ 1 องกรณ์เท่านั้น*
- สามารถยืนยันรายชื่อผู้เข้าพักได้ถึงวันที่ 12 กันยายน 2555 นี้
เป็นโอกาสทองสำหรับนักธุรกิจ และ ฯลฯ ที่จะได้ พบปะผู้ประกอบการนำเข้าในต่างประเทศจากประเทศในกลุ่ม GMS โดยตรง ( ไม่ใช่ การจัดบูธ และ ไม่มีการซื้อขาย )
สอบถามข้อมูลอื่นๆเพิ่มได้ที่ 053-262256 หรือ email: s.jakrin18@gmail.com)
----------------------------------------------------
กำหนดการ
"การสัมมนาเชิงธุรกิจ (Business Forum) และการเจรจาการค้า จับคู่ธุรกิจ (Business Matching) 2555"
Chiangrai Northern Business Forum and Business Matching 2012
เรี่อง ประตูเชื่อมโยงอาเซียน-จีน : ASEAN - China Gateway
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์รีสอรท เชียงราย
09.00 - 09.30 น. : ลงทะเบียน
09.30 - 09.45 น. : พิธีเปิดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ (Business Forum)
- กล่าวเปิดงาน โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์
- กล่าวรายงาน โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
09.45-10.45 น. : บรรยาย เรื่อง "อนาคตประเทศไทยประตูสู่อาเซิยน-จิน"
โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
10.45 -11.00 น. : รับประทานอาหารว่าง
11.00 -12.00น. : บรรยาย เรื่อง "จุดเปลี่ยนสู่ AEC :ไทยจะเดินอย่างไร"
โดย คุณกร ทัพพะรังสี นายกสมาคมมิตรภาพ ไทย- จีน
12.00 -13.00 น. : รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. : บรรยาย เรื่อง "ประตูเชีอมโยงอาเซิยน - จิน : ASEAN - China Gateway"
โดย : คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- Dr.Liu Jinxin
Director of Greater Mekong Subregion Logistics Research Center
- Dr.Ye Hu
Chairman of the Board of Executive Directors
Industrial and Commercial Bank of China (Thai) Public Co., Ltd.
- ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- Mr.Fangshu Yang
Chairman of ASEAN - China Economy & Trade Promotion Association
16.30 -16.45 น. : พิธีเปิดงานเจรจาการค้าจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)
16.45 -18.45 น. : การเจรจาการค้า จับคู่ธุรกิจ
หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่าง เวลา 15.30- 15.45 น. กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
-------------------------- |