เปิดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ (Business Forum) และการเจรจาการค้าจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) Eastern Lanna Economic Forum 2012 |
|
ประกาศเมื่อ
07 มกราคม 2013 เวลา 12:12:35 เปิดอ่าน
1321 ครั้ง |
|
|
โดยงานสัมมนาเชิงธุรกิจ (Business Forum) และการเจรจาการค้าจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) Eastern Lanna Economic Forum 2012 นี้จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันระดมสมองและเปิดมุมมองแสวงหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กับ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ (เชียงราย- พะเยา- แพร่ - น่าน) โดยมีวิทยากรชื่อดังมาร่วมเสวนาเสนอประเด็นด้านเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ การค้า รัฐศาสตร์ การท่องเที่ยว สังคม ตลอดจนวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การสร้างประตูการค้าสู่สากล
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาได้เปิดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ (Business Forum) และการเจรจาการค้าจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) Eastern Lanna Economic Forum 2012 โดยได้รับเกียรติจากท่านพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ร่วมด้วยผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ท่านคำสี พรมพิทัก รองหัวหน้าแผนกอุตสาหกรรมและการค้าแขวงหลวงน้ำทา พร้อมด้วยท่านสมบุญ เกิดทอง คณะโยธาธิการ แขวงบ่อแก้ว เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ(Business Forum) และการเจรจาการค้าจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) Eastern Lanna Economic Forum 2012 โดยมีผู้ร่วมเข้าสัมมนากว่า 350 คน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และตัวคณะแขวงจากหลวงน้ำทา และแขวงหลวงบ่อแก้ว
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของอาเซียนต่อประเทศไทยไว้ว่า การค้าขายในกลุ่มประเทศอาเซียนจะขยายตัวขึ้น และจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จนเป็นการผงาดขึ้นมาของอาเซียนเป็นขั้วเศรษฐกิจโลกซึ่งจะทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมี อำนาจการต่อรอง เป็นแกนกลางสถาปัตยกรรมของภูมิภาคซึ่งนั้นก็หมายความว่าประชาคมอาเซียนถือเป็น ครอบครัวเดียวกัน บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้รศ.ดร.ประภัสสร์ อธิบายต่ออีกว่าผลกระทบและการปรับตัวของประเทศไทย เมื่อเกิดประชาคมอาเซียน ความร่วมมือจะเพิ่มมาก ขึ้นในทุกๆด้านทั้งด้าน การติดต่อระหว่างหน่วยงานราชการต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียนจะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงข้าราชการเกือบทุกกระทรวง ทบวง กรม จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาเซียนมากยิ่งขึ้นจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันกับประเทศ อาเซียนอื่นๆ ระบบราชการไทยต้องทำงานให้ทันกับ ระบบราชการของประเทศอาเซียนอื่นๆภาคส่วนต่างๆจะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น หน่วยงานราชการของไทยต้องเปิดกว้าง มากขึ้น ในการดึงเอาภาคส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม สรุปคือ เราต้องรู้เรื่องอาเซียนมากขึ้นต้องรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ต้องรู้ภาษาประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ต้องเปลี่ยน mentality ต่อประเทศเพื่อนบ้าน ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านสร้างคนรุ่นใหม่ที่มองประเทศเพื่อนบ้านในแง่บวกไม่ใช่มองเป็นศัตรู แต่ต้องไม่ลืมว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียนในอนาคต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ไทยต้องรีบปรับตัวในด้านทักษะภาษาอังกฤษไทยต้องรีบปรับปรุง ประสิทธิภาพ และต้องเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ในเรื่องของผลกระทบต่อไทยนั้น รศ.ดร.ประภัสสร์ การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายสินค้า และ สินค้าบางตัวไทยได้เปรียบ ส่วนอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมก็เสียเปรียบ เนื่องจากมีสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ข้าว ซึ่งดูจากภาพรวมแล้วไม่ค่อยได้รับผลกระทบต่อไทยมากนัก แต่การเปิดเสรีภาคบริการ ไทยน่าจะแข่งขันได้ ไทยน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ส่วนการเปิดเสรีด้านการลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน ไทยน่าจะได้ประโยชน์โอกาสการลงทุนในประเทศอาเซียนการเปิดเสรีแรงงานมีฝีมือ แพทย์,นักบัญชี, วิศวกร,พยาบาล,สถาปนิก สรุปคือ โอกาสมากขึ้น แต่การแข่งขันก็มีมากขึ้นด้วย ซึ่งไทยมีข้อจำกัดเรื่องภาษาอังกฤษ
ดร. ธงชัย ภูวนาถวิจิตร สาขาบ้านและชุมชน คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนงานวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ บนเส้นทาง R3A ( เชียงราย – คุนหมิง) ได้กล่าวถึงความพร้อมด้านการท่องเที่ยว(6A’s)บนเส้นทาง R3A ว่า โดยภาพรวมมีความพร้อมรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยทั้ง 3 เมือง (เชียงของ – หลวงน้ำทา- จิ่นหง)ต่างมีความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับสูง ส่วนความพร้อมทางด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ที่พักในแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น
นอกจากนี้ ดร. ธงชัย อธิบายถึงสถานการณ์และแนวโน้มของการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเส้นทาง R3A (เชียงราย-คุนหมิง) ภายหลังการเปิดใช้เส้นทาง R3A อย่างเป็นทางการ อยู่ในช่วงการขยายตัวและมีแนวโน้มของอัตราการเจริญเติบโตทางด้านการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยว บนเส้นทาง R3A จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทในด้านต่างๆ ตลอดจนทรัพยากรและความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยว(6A’s) เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งปัจจัยเพื่อความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเส้นทาง R3A นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทด้านต่างๆของพื้นที่แต่ละเมือง บนเส้นทางR3A ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เสนอ รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ บนเส้นทาง R3A (Strategic Integrated of Tourism Development on the R3A model) ของแต่ละเมือง
นายกรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อธิบายถึง ความคืบหน้าและการเตรียมความพร้อม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ว่า กลุ่มประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมี 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
นอกจากนี้ นายกรกฎ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า เมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้น สิ่งที่ตามมา นั้นก็คือ สหภาพเหนือชาติ สหภาพเศรษฐกิจ ตลาดร่วม สหภาพศุลกากร และเขตการค้าเสรี ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ตัวอย่างเช่น ประเทศอินโดนีเซียน มีสินค้าอ่อนไหวสูง นั่นก็คือ ข้าว ที่มีอัตราภาษีลดจาก 30% เป็น 25%ในปี 2015 รองลงมาคือ น้ำตาล ที่มีอัตราภาษีลดจาก 30-40% เป็น 5-10% มาเลเซีย มีสินค้าอ่อนไหวเหมือนกับฟิลิปปินส์ นั่นคือ ข้าว ที่มีอัตราภาษีลดจาก 40% เป็น 20% ในปี 2010 ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจากับไทย ปัจจุบัน 40% โควตานำเข้า 350,000 ตัน ไทยได้โควตา 90,000 ตัน/ปี) นายกรกฎ ยังได้อธิบายว่า เมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วสิ่งที่ต้องตรวจตราดูเป็นพิเศษ นั่นก็คือเรื่อง ภาษีการนำเข้าสินค้า ถิ่นกำเนิดสินค้า และมาตรฐานสินค้า แต่ในด้านของงานบริการจะดูเรื่องของสัดส่วนการลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งทั้งนักลงทุน หรือบริษัทเอกชน ควรคำนึงถึงไว้
https://www.facebook.com/EasternLannaEconomicForum2013?ref=hl |
|
|
|
|
|
|