โครงการพัฒนาเศรษฐกิจล้านนาเชิงสร้างสรรค์ |
|
ประกาศเมื่อ
16 มีนาคม 2013 เวลา 17:51:32 เปิดอ่าน
1325 ครั้ง |
|
|
โครงการพัฒนาเศรษฐกิจล้านนาเชิงสร้างสรรค์
สาขาอุตสาหกรรมหลักของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง และแม่ฮ่องสอน) หรือกลุ่มล้านนา เป็นประเภทอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก มีมูลค่ารวม 40,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ (Knowledge Based Industry) มากขึ้น ตามเงื่อนไขมาตรฐานสินค้า และการแข่งขันในตลาดสากล นอกจากนั้นในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ยังมีพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าอันดับต้น ๆ ของประเทศ อันมีจุดขายทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์
หากสามารถพัฒนาต่อยอดด้วยการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ (Value Creation) โดยใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม ผนวกกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบล้านนา จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะสอดคล้องตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของรัฐบาล เพื่อสร้างฐานรายได้ใหม่ที่ทันสมัยของประเทศจากเศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์หรือเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อศึกษาพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 ที่มีศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่
• เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล
• เพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมกับส่งเสริมวิจัยนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรม
• เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 พัฒนาเป็น Creative Regional City
• เพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทุนทางสังคม และทุนทางปัญญา การเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุนของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย
• กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
• ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage)
• กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะ (Arts) และวัฒนธรรม รวมทั้งศิลปะการแสดง (Performing Arts)
• กลุ่มสื่อผลิตงานสร้างสรรค์ที่สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ คือ งานสื่อสิ่งพิมพ์ (Publishing and Printed Media) และงานโสตทัศน์ (Audiovisual) เช่น ภาพยนตร์โทรทัศน์ วิทยุ และการออกอากาศอื่นๆ เป็นต้น
• กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มการออกแบบ (Design) และกลุ่ม New Media
• บุคลากรบัณฑิต รุ่นใหม่ ที่มีความรู้ทักษะและประสบการณ์ด้านการออกแบบ
• นักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในกลุ่มจังหวัด
• บุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
• สถาบันการศึกษา
• บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์
เป้าหมายโครงการ
• มีการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
• เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดมีรายได้เพิ่มขึ้น
• ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
หน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ
• สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่
• สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
• ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1
• หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
• วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ (KIC)
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 084-804 9286, 053-920 299 ต่อ 403
โทรสาร 053 920 299 ต่อ 402
Email : creative_lanna@kic.camt.info, creativelanna@gmail.com
หรือ www.facebook.com/creativelanna |
|
|
|
|
|
|