เมื่อวันที่ 3 ก.พ. รายงานข่าวแจ้งว่า นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 65จังหวัด ตั้งแต่บัดนี้ถึงเดือนเมษายน
โดยให้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับจังหวัด ดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ทรัพยากรกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ แผนปฏิบัติป้องกันไฟป่าและหมอกควันเน้นการบูรณาการ ควบคุมป้องกัน เผยแพร่ข่าวสารการแจ้งเตือน ฝึกซ้อมแผนและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยให้ควบคุมการเผาในชุมชนและเขตเกษตรกรรมจัดระบบจัดเก็บ คัดแยกจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี ทั้งให้ระวังกิจกรรมที่เสี่ยงอุบัติภัยเช่นการปล่อยโคมลอยและให้เกษตรกรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกด้วยการๆไถกลบวัชพืชแทนการเผา หากจำเป็นก็ให้ทำแนวกันไฟและควบคุมการเผาอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ให้ขอความร่วมมือผู้นำชุมชนประชาชน งดการจุดไฟใกล้บริเวณแนวป่าอย่างเด็ดขาด
นายวิบูลย์ ระบุว่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่านและ ตาก มีปัญหาหมอกควันไฟป่ารุนแรงทุกปี จึงให้ทำประชาคมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดเวลาการห้ามเผาในช่วงวิกฤติหมอกควันตามความเหมาะสมในระหว่างเดือนกพ.ถึง เม.ย.เพื่อไม่ให้ปริมาณฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน
ทั้งนี้หนังสือสั่งการดังกล่าว ยังได้กำหนดพื้นที่และระดับความเสี่ยง โดยพื้นที่ความเสี่ยงสูงมี 25 จังหวัดได้แก่เชียงใหม่ ลำพูน เชียงรายพะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่น่าน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลกเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุทัยธานีชัยภูมิ นครราชสีมา เลยขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภูกาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง มี 28 จังหวัดได้แก่ สุโขทัย นครสวรรค์ กาฬสินธุ์ นครพนม สกลนครบุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี หนองคาย บึงกาฬลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรีจันทบุรี ฉะเชิงเทราเพชรบุรี ชลบุรี นครนายกนปราจีนบุรีสระแก้ว ชุมพร กระบี่ ตรังและสตูล
พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 12 จังหวัดได้แก่ ยโสธร อำนาจเจริญตราด ระยอง ปัตตานี พังงาพัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนองสงขลา และสุราษฎร์ธานี |