ตื่นสุสานมนุษย์ยุคหินโบราณ แห่งที่ 2 ที่ดอยวง อ.แม่สรวย |
|
ประกาศเมื่อ
23 มกราคม 2011 เวลา 22:44:26 เปิดอ่าน
1334 ครั้ง |
|
|
ตื่นสุสานมนุษย์ยุคหินโบราณ 200 – 300 หลุม แห่งที่ 2 ที่ดอยวง อ.แม่สรวย
เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2554 ทีมนักสำรวจและนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยกรมศิลปากรนำโดย ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร นายสุนันท์ ขันทัง นายก อบต .ป่าแดด นายเอี่ยม แถลงนิตย์ กำนัน ต.ป่าแดด พร้อมพระภิกษุสงฆ์ ผู้นำชุม ชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนอาสา จำนวน 100 คน ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ป่าสงวนอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย เขตบ้านเหล่าพัฒนา ม. 22 ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หลังมีการค้นพบเศษหม้อ เศษไหแตกจำนวนมากในสุสานมนุษย์ยุคหินโบราณกลางป่าที่ดอยเวียงมาแล้วกว่า 100 หลุม โดยสุสานแห่งใหม่นี้ได้ถูกค้นพบเป็นแหล่งที่ 2 ห่างจากดอยเวียงแห่งแรก ประมาณ 2 กม. ค้นพบประมาณเดือน ธ.ค. 2553 ซึ่งการสำรวจพบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่Neolithic หรือ New Stone Age ซึ่งมีอายุในช่วงเวลาประมาณ 5,000 – 3,000 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงชีวิตไปจากเดิมที่เคยเป็นพรานล่าสัตว์ เร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์และอาศัยอยู่ตามถ้ำ (ยุคหินเก่า-หินกลาง) มาอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง โดยแหล่งใหม่ที่ค้นพบอยู่กลางป่าดอยวงระยะทางห่างจากถนนหลักในหมู่บ้านเหล่าพัฒนาประมาณ 3 กม. และเดินทางเท้าอีกประมาณ 2 กม. ภายในบริเวณรอบๆ พบร่องรอยอารยธรรมโบราณลักษณะเป็นสุสานดินผสมทรายเผา ประมาณ 200-300 หลุม มีระยะห่างกันประมาณ 1-3 เมตร บางหลุมห่างกัน 10 –20 เมตร มีลักษณ์คล้ายๆ กันคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างปากหลุมประมาณ 3 X 5 ฟุต ลึกประมาณ 130 ซม. เมื่อขุดลงไปจะมีลักษณะเป็นหินทรายแดง หรือดินทรายที่ผ่านการเผาให้แข็งคล้ายหิน ลักษณะคล้ายๆ กับทุ่งไหหิน ในประเทศลาว
ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร กล่าวว่า หลังจากที่ทีมนักสำรวจ ได้ทำการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกที่ดอยเวียง ซึ่งอยู่ห่างจากดอยวงประมาณ 2 กม. ได้มีการจัดทำพิธีบวงสรวงขึ้นจนกระทั่งมีการค้นพบแหล่งที่ 2 แห่งนี้ จากการพิสูจน์สันนิษฐานว่าบริเวณดอยเวียงน่าจะเป็นที่อาศัยของมนุษย์ยุคหิน เพราะมีคูเมืองล้อมรอบ มีเครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณดอยวงที่ค้นพบแห่งใหม่นี้ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ฝังศพหรือเก็บกระดูก(อัฐิ) เมื่อมีคนตายจะนำศพหรือกระดูกมาเก็บไว้บนดอยวง มีการสร้างหลุมดินเผาไว้ แล้วนำภาชนะหรือของใช้คนตายบางอย่างมาใส่ไว้ และคาดว่าหลุมดินเผานี้จะต้องผ่านความร้อนไม่ต่ำกว่า 1,200 องศา จึงทำให้ดินเผาอยู่ตัวได้ และเป็นที่แปลกว่ายังไม่มีหลักฐานการค้นพบว่ามีการนำศพหรือกระดูกมาบรรจุในหลุมดินเผาไว้บนดอยสูงแบบนี้มาก่อนในประเทศไทย หรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานว่าน่ามาจากความเชื่อว่าการนำศพหรือกระดูกมาไว้บนดอยสูงเพื่อให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์หรือใกล้ฟ้ามากที่สุด ศาสตราจารย์สายันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบูรณะแหล่งโบราณสถานสุสานไหหินทั้ง 2 แห่งนี้ หากมีการพัฒนาให้ดีขึ้น จะทำให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชนและเยาวชนทั่วไป ซึ่งคงต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบจ. ททท. และ อบต.ในพื้นที่ เพราะตอนนี้ ต.ป่าแดด ได้โด่งดังเป็นแหล่งอารบยะธรรมชุมชนโบราณไปแล้ว ถือเป็นพื้นที่พิเศษที่ผู้นำท้องถิ่นต้องช่วยกันสอดส่องดูแลเกี่ยวกับการลักลอบขุดหาวัตถุโบราณอย่างเข้มงวดต่อไป
ทางด้านนายสุนันท์ ขังทัง นายก อบต.ป่าแดด กล่าวว่าการค้นพบสุสานไหหินแห่งใหม่นี้ ทำให้ ต.ป่าแดด เป็นหลักฐานใหม่ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่มีการบวงสรวงและขุดค้นมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 2553 เป็นต้นมา ถือเป็นความน่าภูมิใจของชาว ต.ป่าแดด ที่มีบรรพบุรุษผู้สร้างอารยธรรมและอาจกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศที่บ่งชี้ว่า “คนไทยมาจากดินแดนแถบนี้” ก็เป็นได้ |
|
|
|
|
|
|