กรมทรัพยากรน้ำจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่มที่จังหวัดเชียงราย |
|
ประกาศเมื่อ
06 กรกฏาคม 2011 เวลา 16:27:00 เปิดอ่าน
1321 ครั้ง |
|
|
กรมทรัพยากรน้ำจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่มที่จังหวัดเชียงราย เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญหมู่บ้านติดตั้งสถานีเตือนภัยให้แก่แกนนำชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดเชียงราย และพะเยา พร้อมเร่งติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ ในปี ๒๕๕๔ อีก ๘๐๓ หมู่บ้าน หลังติดตั้งไปแล้ว ๑,๕๖๗ หมู่บ้าน
เช้าวันนี้ (๖ กค.๕๔) ที่โรงแรมริมกกรีสอร์ท อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นายสุรชัย ลิ้นทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดินถล่มในพื้นที่ลาดชัดและพื้นที่ราบเชิงเขา มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำชุมชนในพื้นที่เสี่ยงจากจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า ๒๐๐ คน เข้าร่วมประชุม โดยได้กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสูงและมีความลาดชัน ประสบปัญหาอุทกภัยดินถล่ม ซึ่งจังหวัดได้จัดทำแผนฝึกซ้อมป้องภัยภัยธรรมชาติทั้งจากอุทกดินถล่ม แผ่นดินไหว ควบคู่ไปกับการเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวลล้อม ปลูกต้นไม้ เพื่อให้สภาพความสมดุลกลับคืนมา ในระยะหลังพบว่าความรุนแรงจากปัญหาอุทกภัยดินถล่มในจังหวัดเชียงรายลดน้อยลง แม้จะปรากฎเกิดขึ้นในบางพื้นที่ก็ตาม ซึ่งการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าของกรมทรัพยากรน้ำ จะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่เสียงภัย จะทำให้สามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ มีโอกาสเตรียมอพยพประชาชนไปในที่ปลอดภัย ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรงและสูญเสียจากภัยได้
ด้านนายวิวัฒน์ โสเจยยะ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยอันเกิดจากน้ำหลากอย่างฉับพลันและดินถล่มที่เกิดในภาคต่างๆ ของประเทศไทยนับวันจะทวีความรุนแรงและทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กบริเวณพื้นที่ราบสูงติดภูเขา การติดตามเฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้าโดยการตรวจข้อมูลปริมาณน้ำฝน น้ำท่า หาความสัมพันธ์ของข้อมูลปริมาณน้ำฝนกับเหตุการณ์ที่แนวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเป็นมาตรกรที่จะสามารถลดความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ กรมทรัพยากรน้ำจึงได้จัดการประชุมสัมมนาครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจถึงเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญหมู่บ้านที่จะพิจารณาติดตั้งสถานีเตือนภัยให้แก่แกนนำชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยและร่วมกำหนดคัดเลือกและกำหนดตำแหน่งสถานีเตือนภัยเบื้องต้น กระทรวงทรัพยากรธรามชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่ม ไปแล้ว ๑,๕๖๗ หมู่บ้าน ซึ่งสามารถแจ้งเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ และในปี ๒๕๕๔ จะติดตั้งในหมู่บ้านเสี่ยงเพิ่มเติมอีก ๘๐๓ หมู่บ้าน โดยจังหวัดเชียงรายได้ติดตั้งไปแล้ว ๒๑๖ หมู่บ้าน จะติดตั้งอีก ๕๗ หมู่บ้าน และจังหวัดพะเยาได้ติดตั้งไปแล้ว ๒ หมู่บ้าน และจะติดตั้งอีก ๑๖ หมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
|