ถูกแชร์ทั้งหมด
"อุทยานแห่งความสงบ งามอย่างล้านนา" ไร่แม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่างๆ ในภาคเหนือ
ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมอันรื่นรมณ์ด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบเงียบและแรงบันดาลใจอันเกิดจากธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น บริเณ 150 ไร่ของไร่แม่ฟ้าหลวงเป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร ทั้งยังเหมาะสำหรับจัดงานเลี้ยงรับรองรูปแบบต่างๆ การประชุมสัมนาหรือการประกอบพิธีกรรมพื้นเมืองเหนือในท่ามกลางบรรยากศอันสงบและศักดิ์สิทธิ์
หอคำน้อย
การเดินเล่นในอุทยานแห่งนี้เป็นประสบการณ์พิเศษ ภายในอุทยานมีไม้ป่านานาพันธุ์ มีพระรูปปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอันเป็นผลงานของคุณมีเซียม ยิบอินซอย มีอาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก ซึ่งเรียกว่า "หอคำน้อย" เป็นที่เก็บภาพจิตกรรมฝาผนัง เขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัศนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว เป็นสถานปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ "ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง" ถวายเนื่องในวโรกาที่สมเด็จพระศรีนครินทรืบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2527 อันเป็นฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่ ภายในหอคำเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์ มีทั้งพระพุทธรูปแบบล้านนา และเครื่องไม้แกะสลักที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้เก่าแก่) ตุงกระด้าง (ตุงหรือธงไม้) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ) บรรยากาศภายในหอคำศักดิ์และขรึมขลัง ให้ความรู้สึกที่อธิบายได้ยาก แสงเทียนที่วับแวมอยู่ในความสลัวชวนให้เกิดความปีติจับใจ พระพุทธรูปองค์สำคัญในหอคำ คือ พระพร้าโต้ ซึ่งมีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยชาวบ้านซึ่งพึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่และยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ให้ประณีตจึงใช้เพียงมีดโต้เป็นเครื่องมือแกะสลัก พระพุทธรูปมีลักษณะแข็งแรง และสง่างาม
“หอคำแม่ฟ้าหลวง” เป็นเครื่องไหว้สาแม่ฟ้าหลวงในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา และได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 “หอคำหลวง” เป็นผลงานแห่งความรักความศรัทราของบุคคลหลายหน่วยหลายฝ่าย ซึ่พงยายามสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อันเป็นการเจริญตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน สถาปนิกของหอคำ มีอยู่ คือคุณ ทรงศักดิ์ ทวีเจริญ , คุณครองศักดิ์ จุฬามรกต, คุณเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรีและคุณธีรพล นิยม , คุณมนัส รัตนสัจธรรม และคุณจรูย กมลรัตน์ เป็นวิศวกร นายช่างชลประทานเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างโดยใช้ช่างไม้พื่นบ้านจากจัหงวัดเชียงรายและแพร่ เสาไม้ใหญ่และลำไม้สักที่เกิดจากการซอยป่า ได้รับการเอื้อเฟื้อจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นอกเหนือจากจากไม้ของบ้านเก่า จำนวน 32 หลัง ซึ่งทางมูลนิธิฯ เป็นผู้จัดซื้อ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมช่วยในด้านงานศิลปะตกแต่ง ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านป่างิ้วเป็นเป็นผู้ช่วยดูแลรักษาสาธารณสมบัติอันมีค่าของจังหวัดเชียงรายชิ้นนี้
ศิลปวัตถุชิ้นแรกที่นำมาแสดงในโอกาสอันเป้นมงคลยิ่งนี้คือ การแสดงเครื่องสัตภัณฑ์ และพระพุทธรุปไม้สักล้านนาไทย
ในระวห่างปี พ.ศ. 2529-2530 มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย มีการปรับปรุงเรื่องการไฟฟ้าและคมนาคม ชาวบ้านมีฐานะดีขึ้นโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่มีการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ วัดวาอารามเก่าแก่หลายอห่งถูกรื้อลง เพื่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามแบบฉบับสมัยนิยม สัตภัณฑ์หรือแท่นเชิงเทียนถูกย้ายถ่ายเทไปตามที่ต่างๆ มุลนิธิแม่ฟ้าหลวงเห็นควรจะถนอมรักษาศิลปวัตถุที่งดงามนี้ไว้ จึงได้จัดซื้อเครื่องสัตภัณฑ์เหล่านี้มารวบรวมดูแลรักษาไว้ และในขณะเดียวกันก็มีผู้บริจาคสมทบเป็นจำนวนมาก สัตภัณฑ์เป็นสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ใช้สอย ช่วยให้เกิดความสว่าง ความสงบ ความสวยงาม และความหวังมาหลายชั่วอายุคนในล้านนา หวังว่าการแสดงสัตภัณฑ์ จะช่วยให้ท่านผู้ชมได้เกิดความรู้สึกที่ดีงามดังกล่าวข้างต้นด้วย
พระพุทธรุปไม้สักทองสำคัญในหอคำหลวง วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ได้มอบให้เป็นสิริมลคลพระพุทธรุปนี้มีพระนานมว่า “พระพร้าใต้” ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2236 กล่าวกันว่าสร้างในสมัยที่บุกเบิกก่อสร้างบ้านเมือง ชาวบ้านซึ่งอพยพเข้าไปตั้งรากฐาน ณ บริเวณใกล้วัดนี้ยังขาดเครื่องมือใช้อันจะประดิดประดอยพระพุทธรุปให้ละเอียดประณีต จึงจำเป็นต้องสร้างพระพุทธรูปนี้โดยใช้มีดขนาดใหญ่หนา พุทธลักษณะจึงปรากฏในลักษณะที่เข้มแข็ง บึกบึน และสง่างาม หวังว่าพระพุทธรุปลักษณะนี้จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีของไร่แม่ฟ้าหลวง ที่พึ่งเริ่มบุกเบิกงาน และมีภาระที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรอีกไม่น้อย
คำว่า “หอคำ” ในภาษาพื้นเมืองของเรานั้นหมายถึงที่อยู่ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน คำว่า “ คำ” นอกจากจะแปลว่า “ทองคำ”แล้วยังหมายถึงสิ่งที่ดีสิ่งที่งามอีกด้วย
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือแม่ฟ้าหลวงของพวกเราทั้งหลายนั้นทรงเป็นตัวอย่างในเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน พระราชกรณียกิจต่างๆหลากหลายและทรงคุณประโยชน์ที่สุดที่จะบรรยาย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงซึ่งอยู่ในพระราชูปถัมภ์ใคร่จะเจริญตามรอยพระบาทองค์ท่าน แทนที่จะสร้างหอคำถวายไว้เป็นของพระองค์ท่านแต่เพียงผู้เดียว แต่กลับได้แบ่งปันให้เป็นประโยชน์ใช้สอยสำหรับมวลชนโดยทั่วไป
หอคำมีโครงสร้างและวัสดุที่ใช้อย่างล้านนาไทย กล่าวคือ แบบหลังค่ได้ความบันดาลในจากวัดในจังหวัดลำปาง ตัวอาหารสอบเข้าเหมือนลักษณะเรือนล้านนาอย่างโบราณ ลวดประดับได้จากจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง วัสดุใช้ไม้จากภาคเหนือทั้งหลังโดยที่มูลนิธิฯซื้อไม้จากไม้เก่าในเขตจังหวัดเชียงราย และพะเยาจำนวน 32 หลัง ไม้เสาใหญ่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากองค์การ อ.อ.ป.หลังคาเป็นหลังคาเก่าของบ้านในชนบท เป็นไม้แผ่นสักกว้างประมาณ 4นิ้ว ซ้อนๆกันซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “แป้นเกล้ด” นายช่างผู้ก่อสร้างเป้นนานช่างจากจังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ ช่างแกะสลักได้จากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน วิศกรโครงสร้างเป็นนายช่างจากกรมชลประทาน
มีไม้แกะสลักรุปสามเหลี่ยมใหญ่อยู่ 5 ชิ้น ในหอคำนี้ซึ่งน่าในใจ ไม้ทั้ง 5 ชิ้นนี้เป็นรูปสัตว์ 5 ชนิด ซึ่งมาจากสัญลักษณ์ปีคล้ายปีประสูติของสมเด็จพระมิคลาธิเบศร อดุลยเดจวิกรม(สมเด็จพระบรมราชนก)และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี,พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาหาอนันทมหิดล,พระบามสมเด็จพระปรมิรทรหมภูมิพลดอุลยเดช(รัชกาลปัจจุบัน)และสมเด็จพรี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลป์ยานวัฒนาเราได้ประดับไม้แกะสลักทั้ง 5 ชิ้นฝีมือช่างพื้นบ้านนี้ไว้ในที่สูงสุด นอกเหนือไปจาก “หอคำหลวง”แล้ว ทางมูลนิธิยังใช้เวลาและทุนทรัพย์ในการปรับปรุงบริเวณรอบๆหอคำให้สะอาดและรื่นรมย์ให้มีต้นไม้เป็นที่อาศัยของนกกาและมีความสงบเหมาะสมสำหรับเป็นที่เดินเล่นพักผ่อน เชื่อว่าเมืองเชียงรายซึ่งได้รับความเมตตาปราณีจากชาวบ้านเชียงรายโดยตลอดมา จึงเป็นทีน่ายินดีว่ามีโอกาสสร้าง “หอคำหลวง” ขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งของแผ่นดินเชียงราย
หอแก้ว
จากหอคำน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้ จะพบอาคารหลังใหญ่ คือ “หอแก้ว” ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระว่ายน้ำกว้างใหญ่ เหมาะแก่การสังสรรค์อันรื่นรมณ์ และปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ และในด้านเป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ
รายละเอียดเพิ่มเติม
หอแก้ว
อาคารสถาปัตนกรรมล้านนาประยุกต์ขนาดใหญ่ สร้างเสร็จเมื่ออปี พ.ศ. 2544 ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยงฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปสระน้ำกว้างใหญ่เหมาะแก่การสังสรรค์ค์อันเรื่นรมย์แลละปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป้ฯพื้นที่จัดนิทรรศการ ซึ่งขณะนี้ได้จัดนิทรรศกาถาวรเรื่อง “ไม้สัก” และนิทรรศการเรื่องหมุ่นเวียน “หอคำในอาณาจักรล้านนา”
สำนักงานกรุงเทพฯ
โทร. 02-252 7114
โทรสาร. 02-2541665
อีเมล์ tourism@doitung.org
รูปภาพไร่แม่ฟ้าหลวง
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=356.0
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=24499.0
ข้อมูลติดต่อ : เลขที่ 313 หมู่ 7 บ้านป่างิ้ว ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
อีเมล์ rmfl@doitung.org
โทร. 0-5371-1968, 053-716605-7, 053-601013 โทรสาร 053-712429
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : www.maefahluang.org
เปิดบริการ : วันอังคาร - วันอาทิตย์ 08.30 น. - 17.00 น. (หยุดวันจันทร์)