x
ขณะนี้เรากำลังไลฟ์ คลิกที่นี่เพื่อชม
 

คอนเทนต์มาใหม่

ร่วมด้วยช่วยกัน วิธีแก้ปัญหาและป้องกัน ภัยร้าย... (ฝุ่นเพชฌฆาต)

           กรณีมลพิษทางอากาศ หลังมีค่าฝุ่นขนาดเล็กหรือฝุ่น PM2.5 (ไมครอน) พุ่งสูง และเป็นข่าวโด่งดัง ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้  ฝุ่นPM2.5 ปกคลุมทั่วฟ้ากรุงเทพมหานคร และอีกหลายเมืองใหญ่ ฝุ่นจิ๋วนั้นมีผิวขรุขระคล้ายสำลี เป็นที่โดยสารของสารพิษอื่นๆ จึงไม่ใช่เป็นเพียงฝุ่นจากดินหินการก่อสร้าง ควันการเผาไหม้จากเครื่องยนต์รถ เศษวัสดุทั้งปวงเท่านั้น แต่ฝุ่นจิ๋วยังจะเป็นตัวนำสารพิษอันตราย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก สารก่อมะเร็งทั้งหลาย ผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ส่งผลต่อร่างกายอย่างคิดไม่ถึง


          การสูดอากาศที่มีฝุ่นส่งผลให้ปอดเสื่อมประสิทธิภาพจากการปิดกั้นการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมปิด ทำให้ต้องหายใจสั้น หัวใจทำงานหนักขึ้น ฝุ่นจิ๋วที่เรียกว่าฝุ่น PM2.5 ถ้าหากได้สูดเข้าไปจะวิ่งผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง จึงจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสมอง หลอดเลือดหัวใจและมะเร็งที่อวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ตับ เป็นต้น 

ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตื่นตัวกันอย่างมาก โดยในต่างจังหวัด หลายๆจังหวัดทุกภาคส่วน ได้มีประกาศมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันไฟป่า ไม่ให้เผาขยะ หรือวัชพืชทุกชนิด จะสังเกตได้ว่าก่อนที่จะมีเหตุการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 (ไมครอน) นี้ ในทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ในช่วง เดือน ปลายกุมภาพันธ์ - เมษายน จะประสบปัญหากับฝุ่นและควันมลพิษทุกๆปี 



กรมควบคุมมลพิษ จึงแจ้งกำหนดวันห้ามเผา ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ เริ่ม 10 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน โดยห้ามเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน ในพื้นที่ 9 จังหวัดทางภาคเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละอองในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ซึ่งมักพบการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากความแห้งแล้งส่งผลให้เกิดไฟป่า ขณะที่การเผาเศษวัสดุทำให้ฝุ่นละอองไม่แพร่กระจายสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน ไม่ตกลงสู่พื้นดิน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน



นายพิจิตต รัตตกุล เลขาธิการมูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แนะ วิธีป้องกันการแก้ด้วยบัญญัติ 6 ข้อ หากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันปัญหาฝุ่นละอองภัยร้ายในขณะนี้ หรือหมอกควันที่ประสบปัญหาอยู่ทุกปี อาจจะลดลง และกลับมาเป็นแบบเดิม มาดูว่าดีกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง


1.ลาดยางหรือเทปูนทับทางเดินริมถนนที่ยังเป็นดิน ทั้งถนนใหญ่และตรอกซอกซอย


2.ให้ผู้ประกอบการก่อสร้างเอกชนดำเนินการฉีดน้ำ ล้างฝุ่นเกรอะบนถนนให้ถี่ตลอดวัน ส่วนฝุ่นละเอียดริมทางใช้รถดูดฝุ่นที่มี โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้าง ต้องเพ่งเล็งให้มาก ให้มีการเก็บกวาด ชำระล้างทุกครั้งที่งานก่อสร้างประจำวันแล้วเสร็จ รวมถึงมีเครื่องตรวจระดับฝุ่น หากฝ่าฝืนสั่งปิดก่อสร้างชั่วคราว รวมทั้งขึ้นบัญชีดำ หรือยกเลิกสัญญาว่าจ้าง


3.ให้ผู้ประกอบการเอกชนที่เป็นเจ้าของรถบรรทุกดิน บรรทุกปูน รถขนวัสดุที่สร้างฝุ่น ต้องล้างล้อ คลุมผ้าใบ อย่างเคร่งครัด หากทำผิดต้องจับตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาสุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่ง


4.รถควันดำที่ปล่อยปละละเลย ต้องมีการตรวจวัด จับ ปรับ โดยความร่วมมือระหว่าง กรมการขนส่งทางบก จราจรกลาง กรมควบคุมมลพิษ


5.คุมเข้มการเผาขยะใบไม้เศษวัสดุห้ามเผาในที่โล่งโดยเด็ดขาด


6.ภาคเอกชนที่ดำเนินการในโครงการก่อสร้างต่างๆที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น โรงผสมปูน แท่นหัวเจาะ สถานที่ขนถ่ายวัสดุ ฯลฯ ให้มีมาตรการติดเครื่องดูดฝุ่นขนาดใหญ่ หรือติดพัดลมน้ำ โดยภาครัฐและภาคประชาชนต้องเฝ้าระวังตรวจสอบไม่ให้มีการสร้างฝุ่นตามอำเภอใจ


นายพิจิตต ยังต่อกล่าวด้วยว่า ควรรีบป้องกันและอย่าเชื่อว่าไม่อันตราย อย่าคิดว่าเป็นบางพื้นที่ แต่ปัจจุบันกระจายทั่วเมือง ขึ้นอยู่ว่าตรงไหน วันไหน มีค่าเข้มข้นกว่าอีกวัน และไม่ควรรอกระแสลมพัดออก ไม่รอฝนมาชะล้าง แต่ควรกำจัดตั้งแต่แหล่งกำเนิดเพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นขึ้นมาอีก 



และในช่วงที่สภาพอากาศไม่ถ่ายเทนัก กลุ่มฝุ่นละอองอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ จึงขอแนะนำวิธีป้องกันตัวเองจากภาวะฝุ่นละออง หรือมลภาวะอากาศเป็นพิษ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้


1.หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น 


2.ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน หากปิดหน้าต่างไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาปิดแทนหน้าต่าง


3.หากจะเป็นต้องเดินทางออกไปนอกบ้าน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดปิดจมูก และปาก หรือสวมหน้ากากกรองฝุ่น


4.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนอกบ้าน


5.ดื่มน้ำมากๆ และงดสูบบุหรี่ในช่วงที่พบฝุ่นละอองในอากาศมาก


6.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็ก ต้องดูแลรักษาสุขภาพเป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศที่มีฝุ่นละออง


7.ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่มีสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป


8.ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้อากาศแย่ไปกว่าเดิม



ขอบคุณข้อมูลจาก


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

http://www.thaihealth.or.th/Content/40887-แนะ%206%20ข้อ%20วิธีแก้ปัญหาฝุ่นละออง.html