เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เมือง
   พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9
ข้อมูลติดต่อ
ฝ่ายกิจการพลเรือน จังหวัดทหารบกเชียงราย

โทร. 053-600902, 053-711200-1 ต่อ 3807
กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 17 ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย 57000

โทร. 053-711205 โทรสาร. 3032378

พิกัด GPRS : 19.907238,99.808806 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 19.907238,99.808806 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
ประวัติความเป็นมาของรอยพระบาท ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เริ่มสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)

 
 ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งเข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน เป็นชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน จว.เชียงราย ,ชายแดน จว.พะเยา ในปัจจุบัน หลังจากได้ปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการเมืองและการทหารรุ่นแรกที่ เมืองฮัวมินห์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม เพื่อกลับมาเตรียมปฏิบัติงานในพื้นที่ไว้รอรับสมาชิก พคท. ซึ่งได้เดินทางเข้าสู่พื้นที่ชายแดน จว.เชียงราย  ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหาร       เมื่อสามารถขยายผลงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่ในภาคเหนือขึ้นเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อ.ทุ่งช้าง จว.น่าน เมื่อ วันที่ ๒๖ ก.พ.๒๕๑๐ ซึ่งถือว่าเป็นวัน "เสียงปืนแตก" ของ พคท.ในเขตภาคเหนือ ต่อจากนั้นได้มีการต่อสู้เรื่อยมา โดยในวันที่ ๑๐ พ.ค.๒๕๑๐ ได้มีการต่อสู้กับหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ที่บ้านห้วยชมภู  ต.ยางฮอม  อ.เทิง  จว.เชียงราย (เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น)

          เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑  พคท. สามารถจัดตั้งฐานที่มั่นในภาคเหนือได้ถึง ๙ แห่ง และฐานที่มั่นที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ "ฐานที่มั่นดอยยาว-ดอยผาหม่น" จว.เชียงราย พคท.ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย" แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ เขตงาน คือ เขตงาน ๕๒  , เขตงาน ๙  , เขตงาน ๗  และ เขตงาน ๘

          สำหรับพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของ เขตงาน ๘ ในเขต อ.เทิง และ  อ.เชียงของ จว.เชียงราย รวมพื้นที่ อ.เวียงแก่น และ อ.ขุนตาล ในปัจจุบันด้วย กองกำลังติดอาวุธของ พคท.ในขณะนั้นมีประมาณ ๖๐๐ คน   มีมวลชนซึ่งส่วนใหญ่ชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ ๒,๓๐๐ คน      ความเคลื่อนไหวที่สำคัญ  คือ ขัดขวางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการสร้างทาง     และ การพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง  การสู้รบ  ณ  สมรภูมิแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิพลชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ) , ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรม ณ เนิน ๑๑๘๘ ดอยพญาพิภักดิ์) โดยใช้กำลังทหารในพื้นที่ จว.เชียงราย  เข้าปฏิบัติการกวาดล้าง และปราบปราม พคท. ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ ๓ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๓  ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงสามารถกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือ พคท.

เมื่อ  ปี พ.ศ. ๒๕๒๔   กองพันทหารราบที่ ๔๗๓  ซึ่งมี พ.ท.วิโรจน์  ทองมิตร เป็นผู้บังคับหน่วย (ตำแหน่ง ปกติ  ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗) ได้นำกำลังทหารเข้าปฏิบัติการพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น  ตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จนเกิดยุทธการยึด เนิน ๑๑๘๘ บนดอยพญาพิภักดิ์  ได้

          เมื่อ วันที่ ๒๗ ก.พ.๒๕๒๕  ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์จอมทัพไทย , สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ได้เสด็จฯ เพื่อเยี่ยมเยือนทหารหาญและราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการ ดอยพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว เขต อ.เทิง จว.เชียงราย (ปัจจุบันเป็นเขต  อ.ขุนตาล)     และในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนปลาสเตอร์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารกล้าทั้งปวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

          ปัจจุบัน รอยพระบาท ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่  ณ ศาลารอยพระบาท บริเวณด้านหน้า กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๗ ในพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของกำลังพลคู่กับอนุสาวรีย์ผู้เสียสละและให้สาธารณชน เยาวชนคนรุ่นปัจจุบัน รวมถึงนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสืบต่อไปและ ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐาน รอยพระบาท ไว้บนดอยโหยด ค่ายเม็งรายมหาราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีการสมโภช และได้มีพิธีอัญเชิญรอยพระบาท ในหลวงรัชกาลที่ ๙  ไป ประดิษฐาน ณ  ที่แห่งใหม่ เมื่อ วันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเฉลิมฉลองในวันฉัตรมงคล  สำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามภาพประกอบ

       หากนักเที่ยวต้องการเข้าไปเยี่ยมชมและสักการะ สามารถเดินทางเข้าไปยังค่ายเม็งรายมหาราช  ได้ทั้งด้านหน้า ช่องทาง ๑ และด้านหลังค่าย  ช่องทาง ๕  ( มีซุ้มประตู  ชื่อ ศาลารอยพระบาท )  ผ่าน สนามกอล์ฟแม่กก  คลับเฮาส์  อาคารที่พักรับรองริมแม่น้ำกก  และ ผ่าน สนามกอล์ฟ (กำลังก่อสร้าง ๙ หลุม)  เพื่อขึ้นไปสักการะ  และสัมผัสบรรยากาศ ชมวิวทิวทัศน์ ตัวเมืองเชียงราย ได้โดยรอบ   ณ  ศาลารอยพระบาท  บนดอยโหยด    แห่งนี้ได้โดยสะดวก  ทั้งนี้มีป้ายบอกเส้นทางเรียบร้อยแล้ว แต่หากสงสัย ให้หยุดสอบถามเส้นทาง จาก เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารทั้งสองช่องทาง ได้ทุกวันในเวลาราชการ ทั้งนี้  ค่ายเม็งรายมหาราช  ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

รูปภาพพิพิธภัณฑ์รอยพระบาทเพิ่มเติม ตามลิงค์นี้

 http://www.chiangraifocus.com/2010/travelView.php?id=85&aid=1

http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=299976.0 


History of Roi Phra Bata  ( His Royal Footprint )

 

            During the 1950s, Thai  Communist Forces Started their activities in northern part of Thailand including Chiang Rai and Payao provinces , aimed to convert hilltribe peple to join their military operations.

                1964 AD Thai Communist Forces sent some natives to Huaminh City in Communism Republic of Vietnam to train in political and military tactics to become the leaders of the operation in Northern Thailand especially in Chiang Rai province.

            In 1966 the first gun blasted as the beginning of full form military operations at Ban Nam Pan , Na rai Luang sub district , Tungchang district in Nan province as for the February 26th is called “The Blasted Day” . The fought increased its scale to become the war and on May 10th , 1967 , the battle at Ban Huai Chompu in Theong district was the first fight in the area of Doi Yao – Doi Phamon.

            In 1978 , Thailand Communist Forces achieved their 5 settlements in the North while their most important base was on Doi Yao – Doi Phamon, Chiang Rai province called “Chiang Rai Chamber of Committees” , divided in to 4 areas of action, which were the 52nd , 9th , 7th and 8th forces.

            Doi Yao –Doi Phamon was in the area of acton of the 8th forces of Theong district and Chiangkong district in Chiang Rai province included also with Wieng Kaen and Khun Tan district. There vere about 600 , well trained and armed forces mainly from Hmong tribe acted in the area tobether with roughly about 2300 non-military supporters. Their objective was to sabotage buildings, roads and other infrastructures to obstruct the establishment of Government’s area for security.

            Several fights in this area are the remembrance including The Battle of Ittipolchai ( AKA the Courageous at Doi Mon Khur ) , The Battle of Khun Namphong, and The Battle of Krieng Krai ( AKA the Courageous at 1188 hill , Doi Phraya Pipak ) . With the vigorous and continuous military subjugation of Thailand 3rd Army during 1968 to 1982 , Thai Army achieved the absolute conquest over the Thai Communist Forces and so became the peace.

            In 1981 , the 473th Army Battalion led by Lieutenant Colonel Wirote Thongmit gain a great victory by took over hill 1188 on Doi Phayapipak in the area of Doi Yao- Doi Phamon became the remembrance battle of Phraya Pipak. Thus on February 27th , 1982 , His Majesty the King Bhumibol together with Her Majesty the Queen Sirikit , Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn , and Her Royal Highness Princess Somsawalee visited the army base and his populace on Doi Phayapipak Mountain, Theong district. Never before and never once more up to now, was it a great appreciation for all of His Majesty’s subjects who had and audience the day that the king graciously leaved his footprint for the soldiers in the camp to be a cherished possession and a great memorial of his royal visit.

            Nowadays the footprint enshirine inside the royal footprint pavilion “Sala Roi Phra Bata “ at  Doi YOD  behide   The  3rd  Battalion of Infantry , 17th Infantry Regiment  of Her Royal Highness the Princess Mother, MengRaiMaharath Military Camp in Muang district ChiangRai province and open daily for people to have a visit.

 

 

Thank to Mr Boontawee Pereira  Chiand Mai  Discovery Tours  Baan Du  Muang Chiang Rai  and Mrs SroiThong  Ree in  Chiang Rai Tourism Society  Muang  Chiang Rai.

LTC Supapit   Puern ngoo luerm

 

 



เปิดดู 2837 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com