เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งได้ออกเดินทางไปสู่เมืองลังกาทวีป และนำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็น พระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)
วัดพระธรตุดอยจอมทอง หรือ วัดดอยทอง ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o ๕๓๗๑ - ๖๖o๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)
เสาสะดือเมือง 108 หลัก เสาสะดือเมืองนี้ชาวเชียงรายได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังราย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรัฐบาลเยอรมนี เสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติของจักรวาลอันเป็นคติที่มีมาแต่โบราณ ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยคูน้ำอันเปรียบได้กับน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีกสามชั้นซึ่งหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน สำหรับตัวเสาสะดือเมืองเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม หมายถึงตรีกูฏบรรพตหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น อันหมายถึงสิ่งสำคัญในจักรวาล และล้อมรอบอีกชั้นด้วยร่องน้ำห้าร่องซึ่งเปรียบเป็นปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นไหลลงสู่พื้นดินตามคติโบราณของล้านนา เสาสะดือเมืองจะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะดือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงแห่งพระวรกาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้เสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองนี้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531ชาวเชียงรายมีความเคารพศรัทธาเสาสะดือเมืองแห่งนี้มาก จึงนิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
การเดินทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง |