เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เชียงแสน
   หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
ข้อมูลติดต่อ
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
โทร / แฟ็กซ์ 053-784-444-6

พิกัด GPRS : 20.364589,100.073452 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 20.364589,100.073452 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น

 วันและเวลาดำเนินการ ** วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. ( เวลา 16.00 น. เป็นเวลาขายบัตรรอบสุดท้าย ) ** จำนวนผู้เข้าชมมากสุดไม่ควรเกิน 50 คน/ รอบ ระยะเวลาสำหรับการชมนิทรรศการโดยเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง 


อัตราค่าเข้าชม
http://www.chiangraifocus.com/storageFiles/1340680782.jpg 

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ  เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ. ศ. 2542 – พ.ศ. 2545 เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่นอันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหาฝิ่น ยาเสพติดเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันในรูปแบบของยามหัศจรรย์ หอฝิ่นได้นำเสนอสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์การที่แก้ไขปัญหานี้ ความขัดแย้งและการพัวพันอาชญากรรม ผลกระทบที่เลวร้ายของยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถต่อต้านได้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติด และกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือกและโอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพติด หอฝิ่นได้จัดแสดงอุปกรณ์การสูบฝิ่น การขายฝิ่น ชมภาพถ่าย ภาพยนต์และวีดิทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับและยาเสพติดจากหลายประเทศทั่วโลก






ความเป็นมาของ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ คือ จุดที่ประเทศไทย ลาว และพม่า มาบรรจบกัน เป็นที่ที่แม่น้ำรวกไหลมารวมกันกับแม่น้ำโขง และยังหมายถึงพื้นที่กว้างครอบคลุมบริเวณถึงสามประเทศ และในพื้นที่นี้เองมีการปลูกฝิ่น ผลิตเฮโรอีน และลักลอบนำออกไปขาย เมื่อได้ยินคำว่า “ สามเหลี่ยมทองคำ “  คนส่วนมากมักจะนึกถึง ดอกฝิ่น ชาวไทยภูเขา เทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก แม่น้ำโขง หรือภาพของภาพป่าเบจพรรณ แต่ภาพที่นึกถึงมากที่สุดคงจะเป็นภาพของฝิ่นและเฮโรอีน ภาพความลึกลับ น่าสะพรึงกลัวของการปลูกและการลักลอบค้าฝิ่น ภาพสงครามกลางเมือง กองทหารการสู้รบของพวกลักลอบการค้าฝิ่น ชาวบ้านยากจน การกวาดล้างโรงงานผลิตเฮโรอีน คาราวานขนฝิ่นไปตามเส้นทางในป่า สามเหลี่ยมทองคำ คือแหล่งที่มาของเฮโรอีนกว่าครึ่งของจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก สามเหลี่ยมทองคำ คือรากเหง้าของอาชญากรรมและการกระทำอันทุจริตที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชียแพร่ไปสู่แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา ทุกๆปีจะมีนักท่องเที่ยวเกือบแสนเดินทางมาที่นี่เพียงเพราะชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ ปี พ.ศ.2531 (1988) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นในจุดเหนือสุดของประเทศไทยโครงการนี้มีจุดหมายที่จะคืนผืนป่าและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทือกเขานางนอนในเขตพื้นที่ประเทศไทย และหยุดการปลูกและการเสพฝิ่นในดินแดนแห่งนี้ ในอีกไม่กี่ปีต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงริเริ่มโครงการที่จะช่วยให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องของการศึกษาประวัติของฝิ่นในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำและทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้ยาเสพติด ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะก่อให้เกิดปัญหากับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาให้กับประชากรและสังคมโลกโดยรวมอีกด้วย การริเริ่มโครงการในพระราชดำริในครั้งนั้น ส่งผลสืบเนื่องให้เกิด หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร หอฝิ่นฯซึ่งล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงามของอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จะเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฎหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดในชนิดอื่นๆ











นิทรรศการภายในของหอฝิ่นประกอบด้วย 

อุโมงค์มุข (TUNNEL)  นิทรรศการเริ่มตั้งแต่อุโมงค์ที่มืดสนิท ดูลึกลับที่มีความยาว 137 เมตร ซึ่งเจาะทะลุภูเขาทางด้านตึกรับรองไปถึงตัวอาคารใหญ่อีกฟากหนึ่ง ที่กว้าง สว่าง ลม โปร่ง และเป็นทุ่งฝิ่นจำลอง

ห้องโถง (LOBBY) ผู้คนจะได้เห็นทุ่งฝิ่นจำลอง และศึกษาเรื่องราว และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพันธุ์ต่างๆของดอกป๊อปปี้ทั้งที่เป็นพันธุ์สวยงามและเป็นพันธุ์ที่ใช้กรีดเอายางมาผลิตเป็นยา การเจริญเติบโตในระยะต่างๆของดอกป๊อปปี้ รวมทั้งการเปาะแห้งของดอกป๊อปปี้ที่ใช้ประโยชน์ในการตกแต่งดอกไม้แห้งประดับ

ห้องประชุม (AUDITORIUM)  ห้องโสตทัศนศึกษาในห้องนี้มีการจัดฉาย VTR เล่าถึงที่มาจุดประสงค์และเรื่องราวที่บรรจุในการจัดหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

ปัญจสหัสวรรษแรก (THE FIRST 5,000 YEARS)  ผู้ชมจะเดินทางเข้าสู่การแกะรอยประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ของพืชพิเศษประเภทนี้ การแกะรอยประวัติศาสตร์ของฝิ่นเริ่มต้นจากการกำเนิดของฝิ่น บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหลักฐานการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ตลอดจนหลักฐานที่มีการเขียนเป็นรายลักษณ์อักษรชิ้นแรกในตำราทางการแพทย์ SUMERIAN และการใช้เชิงการแพทย์ และการศาสนาในกรีกโบราณ โมและ อียิปต์ ได้มีการใช้ฝิ่นซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิผลที่ต่ำมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

มีดสองคม (LIGHT AND DARK HALLWAY) ผนังสองด้านของทางเดินเชื่อมต่อนี้จะถูกออกแบบให้สะท้อนถึงด้านดีและด้านร้ายที่ได้จากการใช้ ”ฝิ่น” 
ด้านที่ดี จะเป็นด้านที่สว่างเห็นภาพของการใช้ยาที่ได้จากการสกัดจากฝิ่น เพื่อประโยชน์จากการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวด ผลผลิตที่ได้จากดอกป๊อปปี้ เช่น สินค้า เค้ก ขนมปัง ดอกไม่ประดับ 
ด้านร้าย เป็นด้านที่มืดจะเห็นอาการที่ทุกข์ทรมานจากการเสพติด ภาพการใช้เข็มฉีดยา และภาพการเสื่อมโทรมทางกายภาพของผู้ติดยา

ประจิมสู่บูรพา (FROM WES TO EAST)  ต่อจากนั้นผู้ชมจะก้าวเข้าสู่ยุคของการค้าระหว่างจักรวรรดิยุโรปกับเอเชีย เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าฝิ่นเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์อย่างไรและฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดที่แพร่หลายในวงกว้างอย่างไร โดยจำลองฉากท่าเรือพาณิชย์อังกฤษผู้ชมจะเดินทางผ่านห่อใบชา ผ้าไหม เครื่องลายคราม และเครื่องเทศ อันเป็นสินค้าของตะวันออกและวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษ และเป็นสาเหตุของการขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลเกือบทำให้ประเทศนี้เกือบล่มสลาย ต่อจากนั้นจึงเดินทางเข้าสู่เรือสินค้าของยุโรปที่ออกเดินทางจากอังกฤษมาอินเดียพร้อมทั้งชมโรงงานฝิ่นในอินเดีย เรือบรรทุกสินค้าจะหยุดพักที่เมืองสิงคโปร์เพื่อเติมเสบียง และขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือขนาดเล็ก สู่ท่าเรือท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เมืองสงขลา และจันทบุรี เมืองสิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างอินเดียและจีน ก่อนที่จะรวมการเดินทางราวติดปีกของฝิ่นมาสู่ประเทศจีนที่ท่าเรืออันเป็นหัวใจของจีน กวางตุ้ง

ศึกยาฝิ่น (OPIUM WARS)  ร่องรอยประวัติศาสตร์นี้จะนำนักท่องเที่ยวสู่ความขัดแย้งที่รู้จักกันในนาม “ สงครามฝิ่น “ เมื่อชาวอังกฤษบังคับให้จีนเปิดประเทศเข้าสู่การค้าเสรีและภายใน ค.ศ. 1900 คนจีนกว่า 13 ล้านคน ติดฝิ่นเศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและราชวงค์แมนจู(ราชวงค์ชิง) ก็ตกอยู่ในภาวะล่มสลาย ภายในห้องนี้จะเล่าถึงเหตุการณ์ สำคัญรวมทั้งสงครามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของจีนโดยมีการจัดแสดงหุ่นจำลองของสามบุคลสำคัญของจีนและสามบุคลสำคัญของอังกฤษทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสงครามฝิ่น ห้องถัดมาจะเป็นการจัดแสดงเหตุการณ์สำคัญสามเหตุการณ์ ได้แก่ การทำลายฝิ่นที่หูเหมินโดยข้าหลวงหลินเจ๋อสวี การเผาทำลายหยวนหมิง – หยวน ซึ่งเป็นพระราชวังฤดูร้อนอายุกว่า 150 ปี การถูกลิดรอนสิทธิและผลกระทบด้านความเป็นอยู่ของชาวจีนหลังสงคราม

ฝิ่นในสยาม ( OPIUM IN SIAM )  เมื่อลองเข้ามาในห้องนี้จะมีเจดีย์รัตนโกสินทร์ตั้งอยู่และจะผ่านเข้าประตูเมือง มีการจำลองโรงน้ำชาจีนในเยาวราชโดยมีหุ่นนอนสูบฝิ่นสองคน ความเป็นมาของฝิ่นในสยาม แม่ฝิ่นจะไม่ได้มีต้นกำเนิดในประเทศไทยแต่ก็มีหลักฐานยืนยันว่าคนไทยรู้จักฝิ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วในสมัยรัชการที่ 1,2 และ3 พระราชบัญญัติห้ามค้าฝิ่นและสูบฝิ่นยังคงถูกประกาศใช้อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ฝิ่นในสยามเริ่มเปลี่ยนแปลงหลังจากอังกฤษรบชนะจีนในสงครามฝิ่น อีกส่วนต่อมาจะจัดแสดงของหายาก เช่น ลูกแป้ง กลักยาฝิ่น หมอน เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่จำลองในการเคี่ยวฝิ่น,พระพุทธรูปที่ได้จากการหลอมกลักฝิ่น

ยามหัศจรรย์ (MEDICAL MARVELS)  ต่อจากนั้นนักท่องเที่ยวจะได้รู้ถึง พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ ของตะวันตกที่นำไปสู่การแยกตัวของมอร์ฟีน พัฒนาการของเฮโรอีน และการฉีดเฮโรอีนเข้าใต้ผิวหนังชาวตะวันตกส่วนมาจะติดยาแก้ปวดประเภทนี้และยาอื่นๆรวมถึงฝิ่นและยาเสพติดอื่นๆ

ข้อห้ามทางกฎหมาย/อาชญากรรม/การขัดแย้ง ( PROHIBITION/CRIME/CONFLICT) การตามรอยประวัติศาสตร์จบลงด้วยการที่ทั่วโลกต้องหันมาป้องกันฝิ่นและยาเสพติดในช่วงทศวรรษที่ 20 โดยยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาชญากรรมอันเป็นควานพยามของชาวโลกในการร่วมใจพัฒนาเพื่อต่อสู้กับการลักลอบค้ายาเสพติดและการใช้ยาในทางที่ผิด

แหล่งซุกซ่อน (HIDE-OUT HALLWAY ) ต้องการให้ผู้ชมทราบถึงการรู้เท่าทันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจับยาเสพติดว่า ไม่ว่าจะซ่อนไว้ที่ไหนก็ตามก็สามารถจับได้ เช่น การซ่อนไว้ที่รองเท้า ในกระหล่ำปลี เป็นต้น

ผลร้ายของยาเสพติด (EFFECTS OF DRUGS) ผู้ชมจะได้เห็นว่าการติดยาเสพติดเป็นสิ่งที่ทุกข์ทรมานจะเกิดผลร้ายที่กระทบกันอย่างต่อเนื่องทังทางด้านเศรษฐกิจด้านสังคมและตัวผู้เสพเอง ทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ชมจะได้ทราบถึงยาเสพติดประเภทต่างๆ เช่น ยาเสพติดในกลุ่มฝิ่น,ยากดประสาท,ยากระตุ้นประสาท,ยาหลอนประสาท,กลุ่มสารระเหย ฯลฯ ใครที่คิดว่ายาเสพติดไม่เกี่ยวกับเขาเพราะเขาหรือใครในครอบครัวไม่ติดยา คนนั้นคิดผิดยาเสพติดมีผลกระทบต่อชีวิตทุกคน

การศึกษา (CASE STUDIES) เป็นกรณีศึกษาจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวที่ติดยาเสพติดการจัดแสดงเรื่องราวของครอบครัวที่ตกเป็นทาสยาเสพติดว่าต้องประสบชะตากรรมอย่างไรบ้าง บางครอบครัวก็สามารถเอาชนะได้และบางครอบครัวก็ต้องประสบทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

หลอกตัวเอง/หลอกคนอื่น (GALLERY OF EXCUSES/GALLERY OF VICTIMS) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแก้ตัว แก้ต่าง กล่าวโทษกันไปมา ไม่มีประโยชน์ ไม่มีข้อสรุป สุดท้ายคือความตาย และเรื่องราวที่เกี่ยวกับเอดส์และผู้ตกเป็นเหยื่อ

ห้องคิดคำนึง (HALL OF REFLECTION)  ผู้ชมได้มีโอกาสที่ได้อยู่กับตัวเองและตั้งคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากการชมนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งเราหวังว่านักท่องเที่ยวแต่ละท่านที่ได้เข้ามาสัมผัส หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จะก้าวออกจากนิทรรศการแห่งนี้ไปด้วยความรู้สึกที่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมในอันที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ 
- ดร. ชาร์ลส์ บี เมห์ล (Charles B. Mehl,Ph.D.) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าข้อมูลประวัติความเป็นมาถึงเรื่องราว ตลอดจนคุณและโทษของฝิ่นอยู่นานถึง 9 ปี 
- ได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย CARNELL ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้ที่เขียนหนังสือเรื่องราวเกี่ยวกับฝิ่นและภาพถ่ายมากกว่าหนึ่งแสนหน้ากระดาษ ที่บันทึกไว้ในไมโครฟิล์ม 
- ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลจีนให้เข้าไปศึกษาค้นคว้าในพิพิธภัณฑ์ของจีนเกี่ยวกับเรื่องราวของสงคราม ฝิ่น 
- OECF ( กองทุนความร่วมมือทางเศรฐกิจภาคโพ้นทะเล) ของประเทศญี่ปุ่น สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างตัวอาคารและตกแต่งภายในเป็นเงิน 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นเงินไทยในขณะนั้นประมาณ 358 ล้านบาท มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนับสนุนการจัดหารูปภาพ ระบบแสงสีเสียง อุปกรณ์การแสดงต่างๆที่ตกแต่งภายในโดยทีมงานศึกษาวิจัยของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง 
- UN ได้ให้การสนับสนุนภาพบางส่วน -ดร. เสกสรร ประเสริฐกุล ได้ให้การสนับสนุนเรื่องราวของฝิ่นในประเทศสยาม -ปัจจุบันประชากรทั้งโลกมีประมาณ 6พันล้านคนมีเพียง1% ที่ได้รับผลประโยชน์จากการผลิต 
- เป้าหมายของหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ คือการลดความต้องการสารเสพติด หมายถึง เป็นสถานศึกษา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงทีความประสงค์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน โดยพยามที่จะให้คนทั่วโลกเข้าใจและมีความเห็นพ้องต้องกันที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป ขณะที่ปัญหาเกิดจากผู้ผลิตที่เราพบได้ง่ายในบริเวณที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องช่วยกันหยุดความต้องการของผู้ใช้และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ให้หมดสิ้นไป 
- หวังว่าหลังจากที่พวกเราได้เดินชมกันทั่วแล้ว คงจะมีความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เราร่วมกันต่อสู้และต่อต้านปัญหายาเสพติดเพื่อทำให้สังคมโลกของเราดีขึ้น

ที่พัก 
เกรทเธอร์แม่โขงลอด์จ (GREATER MEKONG LODGE) ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับ หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โดยมีห้องพักสามารถมองเห็นทัศนียภาพของแม่น้ำโขง ทั้งหมด 54 ห้อง แบ่งเป็นห้องพัก 28 ห้อง และบ้านพัก (2 ห้องนอน) 13 หลัง พร้อมด้วยห้องประชุมสัมมนาที่สามารถรองรับได้ถึง 300 ท่าน

ราคาห้องพัก    - ห้องพักเดี่ยว ราคา 1,600 บาท (รวมอาหารเช้า) 
                      - ห้องพักคู่ ราคา 1,800 บาท (รวมอาหารเช้า) 
                      - เตียงเสริม ราคา 500 บาท ** อาหารกลางวันและอาหารเย็นแบบบุฟเฟ่ต์ สามารถสำรองล่วงหน้าได้ ราคาท่านละ 100 บาท (อย่างน้อย 30 คน ขึ้นไป)

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โทร (053) 784-444-6 , แฟกซ์ (053) 652-133 , อีเมล์ hallofopium@doitung.org 

เกรทเธอร์แม่โขงลอด์จ
 โทร (053) 784-450-2 , แฟกซ์ (053) 784-453, อีเมล์ gml@doitung.org 
ฝ่ายการตลาด(กรุงเทพ) โทร (02) 252-7114 , แฟกซ์ (02) 254-1665, อีเมล์ tourism@doitung.org

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150 เว็ปไซด์ : www.maefahluang.org

เปิดดู 16344 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com