เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เวียงแก่น
   เมืองโบราณดงเวียงแก่น
ข้อมูลติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงยาย ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 0-5360-8000-1
เมืองโบราณดงเวียงแก่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงแก่น ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนเนินสูงราว 30 – 35 เมตร เนื้อที่ประมาณ 286 ไร่ 1 งาน 86.09 ตารางวา เป็นพื้นที่ป่ารกทึบ มีพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ สมุนไพร และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว เป็นพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงยาย

 เมืองโบราณดงเวียงแก่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงแก่น ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนเนินสูงราว 30 – 35 เมตร เนื้อที่ประมาณ 286 ไร่ 1 งาน 86.09 ตารางวา เป็นพื้นที่ป่ารกทึบ มีพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ สมุนไพร และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว เป็นพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงยาย 

ตำนานสิงหลวัต ได้กล่าวไว้ว่าเขตเมืองผาแดง (เชียงของ) ทางทิศตะวันออก มีแคว้นตั้งแต่เมืองผาแง (ผาแล) ล่องมาถึงแจ๋มแกด (แจมป๋อง) ซึ่งก็ถือได้ว่า เวียงแก่นในอดีต เป็นเมืองบริวารที่ขึ้นตรงกับเมืองผาแดงมาก่อน มีชุมชนเมืองโบราณที่มีสภาพชัดเจนอยู่หลายแห่งพอที่จะศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์ได้ เช่น โบราณสถานดงเวียงแก่น ซึ่งเป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 700 กว่าปี ก่อนหรือหลังสถาปนานครเชียงใหม่เล็กน้อย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 230 ไร่ มีลักษณะการสร้างเมืองเป็นรูปวงรี อยู่บนที่เนินสูง มีกำแพงคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น คือมีคูด้านนอกกับคูด้านใน คูด้านนอกจะตื้นกว่าคูด้านใน คูด้านในจะลึกประมาณ 10 เมตร รอบตัวเมืองโบราณจะมีการขุดคูล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน คือทางด้านทิศใต้ ทิศเหนือ และทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะใช้ลำน้ำงาวใช้เป็นคูเมืองแทน เพราะมีร่องน้ำเดิมปรากฏอยู่บริเวณติดกับเขตของตัวเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน และยังมีคูเมืองด้านนอก และด้านในของทางทิศเหนือ และทิศใต้มาเชื่อมต่อร่องน้ำเดิมอย่างเห็นได้ชัด 

ในบริเวณพื้นที่ด้านใน จะมีกำแพงดินและคูเมือง จากทางทิศตะวันออก ผ่ากลางตัวเมืองรูปวงรี ทำให้แบ่งเขตบริเวณพื้นที่ด้านในออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนทางทิศเหนือ และส่วนทางทิศใต้ พื้นที่ทางทิศเหนือจะมีพื้นที่มากกว่าพื้นที่ส่วนทางทิศใต้ บริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ จะมีซากของเจดีย์อยู่ 3 แห่งและมีแท่นหินกลม ๆ มีรูอยู่ตรงกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร ลึกประมาณ 10 เมตร เรียงกันเป็นแถวและมีระยะห่างกันประมาณ 3.40 เมตร สันนิษฐานว่าคงจะเป็นฐานเสาสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนหรือวัด บริเวณใกล้เคียงจะพบบ่อน้ำเก่า ๆ อยู่ห่างจากแท่นหินประมาณ 10 เมตร เป็นบ่อน้ำที่สร้างด้วยอิฐก่อขอบด้านใน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร ส่วนบริเวณพื้นที่ทางทิศเหนือ จะมีซากเจดีย์เก่าอยู่ 2 แห่ง รวมทั้งหมดเป็น 5 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะถูกขุดเจาะเพื่อหาวัตถุโบราณทุกแห่ง 

บริเวณโดยรอบโบราณสถานเมืองโบราณ จะมีประตูทางเข้าออกอยู่ 2 ประตูใหญ่ ๆ คือประตูทางทิศตะวันตก อยู่ในบริเวณทางทิศใต้ของตัวเมืองด้านใน และมีแนวถนนแยกออกเป็นสองทางคือด้านซ้ายมือและทางด้านขวามือ ในเมื่อเดินเข้าประตูทางทิศตะวันตกถนนทางซ้ายมือจะเชื่อมกันกับถนนที่มีทางด้านบริเวณตัวเมืองด้านในส่วนทิศเหนือ ส่วนพื้นที่บริเวณตอนเหนือจะมีประตูเข้าอยู่ 2 ประตู ประตูใหญ่จะอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมือง ประตูเล็กจะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมือง ซึ่งดูตามลักษณะแล้วจะเป็นประตูทางเดินขึ้นลง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ประตูหวาย”  
บริเวณด้านนอกกำแพงคูเมืองทางทิศเหนือ จะมีซากเจดีย์เก่าอยู่ 2 แห่ง และบริเวณใกล้กับเจดีย์จะพบสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละประมาณ 10 เมตร 

บริเวณด้านนอกกำแพงคูเมืองทางด้านทิศตะวันออก จะมีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ 1 แห่ง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า“หนองคัน”ห่างจากกำแพงดินด้านนอกทางทิศตะวันออกประมาณ30 เมตร แต่ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินมากเหลือเพียงเป็นสระน้ำขนาดเล็ก บริเวณล้อมรอบเปลี่ยนเป็นทุ่งนา 

บริเวณรอบกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ติดกับลำห้วยจ้อและที่ราบลุ่มซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ป่าข้าวสาร” สันนิษฐานว่าคงจะเป็นแห่งเก็บสะสมเสบียงอาหาร 

บริเวณโดยรอบด้านนอกกำแพงคูเมืองด้านทิศตะวันตกติดกับที่ราบลุ่มจนไปถึงลำน้ำงาวในปัจจุบัน 

โบราณสถานดงเวียงแก่นในอดีต มีเมืองบริวารล้อมรอบดังนี้ 

- ทิศตะวันออก มีเมืองเวียงกอย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของบ้านยายใต้ หมู่ที่ 5 ตำบล ม่วงยาย อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่นประมาณ 3.5 กิโลเมตร 

- ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีเมืองเวียงดึงส์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของบ้านม่วง ตำบลม่วงยาย อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่นประมาณ 2 กิโลเมตร 

- ทิศใต้ มีอยู่ 2 เมือง คือเมืองเวียงดงปันฟ้า หัวเมืองทิศใต้ด้านใน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของบ้านไทยพัฒนา หมู่ที่ 6  ตำบลม่วงยาย อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่นประมาณ 2.5 กิโลเมตร และเมืองเวียงดงเมือง ซึ่งเป็นบ้านปอกลาง ตำบลปอ ในปัจจุบัน อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่น 12 กิโลเมตร 

- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีเมืองเวียงดอยธาตุ ซึ่งอยู่บริเวณเขตรอยต่อ 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหล่ายงาว บ้านหลู้ และบ้านทุ่งคำ อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่นประมาณ 2.5 กิโลเมตร 

- ทิศตะวันตกมีเมืองเวียงบง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่บ้านหล่ายงาว อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่น ประมาณ 5 กิโลเมตร 

- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเมืองโบราณอยู่บ้านแจมป๋อง ซึ่งพบซากเจดีย์เก่าขนาดใหญ่ อยู่ 3 แห่ง และพบเตาเผาเครื่องปั้นดินเผา 1 แห่ง สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองท่าหน้าด่านไม่ทราบแน่ชัดว่าชื่อเดิมคือเมืองอะไร อยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่น 8 .5 กิโลเมตร 

- ทิศเหนือมีเมืองเวียงแก้ว อยู่ในเขตบ้านยายเหนืออยู่ห่างจากโบราณสถานดงเวียงแก่น 4 กิโลเมตร 

ทุกหัวเมืองรอบนอกโบราณสถานดงเวียงแก่น จะมีสภาพคูเมืองล้อมรอบเหมือนกันหมดเพียงแต่มีพื้นที่น้อยกว่าโบราณสถานดงเวียงแก่น ในลักษณะของเมืองด้านในจะมีพื้นที่ประมาณ 50 - 100 ไร่ 

จากการเล่าสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษว่า มีเจ้าเมืองเวียงแก่นเป็นผู้ปกครองเมืองต่อมาได้เกิดการทำศึกสงครามกันเกิดขึ้นที่บริเวณที่ราบทางทิศตะวันตกของตัวเมือง มีการรบราฆ่าฟันล้มตายกันเป็นจำนวนมาก จึงมีการเรียกชื่อบริเวณที่รบกันว่า “ทุ่งคาว” ในปัจจุบัน ในการรบครั้งนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ารบกับฝ่ายใด ผลปรากฏว่าทหารฝ่ายเจ้าเมืองเวียงแก่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่ข้าศึก เจ้าหลวงเมืองแก่นเห็นผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และเห็นเลือดแดงฉานไปหมด จึงเป็นลมหมดสติและสวรรคต ในเวลาต่อมาหลังจากเมืองถูกข้าศึกยึดแล้วก็ถูกทิ้งเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลานาน

ต่อมา หลังจากเจ้าหลวงสกุลหลวงติ๋นมหาวงศ์แห่งเมืองน่าน ได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ.2331 ดินแดนแถบเวียงแก่นได้เริ่มมีคนอพยพมาตั้งรกรากกันใหม่ โดยเจ้าผู้ครองนครน่านปกครองอาณาบริเวณลุ่มน้ำน่าน รวมทั้งแถบเชียงม่วน ปง เชียงคำ เวียงแก่น เทิง และเชียงของ ผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเวียงแก่นส่วนใหญ่จะมาอยู่เป็นครั้งคราวและจำนวนน้อย และต่อมาในสมัยเจ้าหลวงมหายศแห่งเมืองน่าน (พ.ศ.2368-2378) จนถึงสมัยเจ้าหลวงอนันตวรฤทธิเดช (พ.ศ.2395-2334) จึงมีการอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างถาวรมากขึ้น ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และมาจากประเทศลาวบางส่วน มาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหลู้ บ้านม่วง บ้านยาย

ประมาณ พ.ศ.2431 ได้มีการจัดระบบการเมืองการปกครองใหม่ มีการแบ่งแยก หมู่บ้าน ตำบล เมือง มลฑล ขึ้นอย่างชัดเจน ในส่วนของอำเภอเวียงแก่นสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลม่วงยาย และตำบลปอ โดยขึ้นกับเมืองเชียงของ พ.ศ. 2453 มีการจัดตั้งเมืองเชียงรายให้เป็นหัวเมืองชั้นตรี ขึ้นกับกรุงเทพฯ และให้เชียงของมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองเชียงราย ด้วยเหตุนี้ พื้นที่บริเวณเวียงแก่นจึงขึ้นกับเชียงรายตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


ต่อมา พ.ค.2530 จึงมีการจัดตั้งกิ่ง อ.เวียงแก่น โดยแยกออกมาจากอำเภอเชียงของ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่เจ้าเมืองเวียงแก่น ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองเวียงแก่นในอดีตและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่กิ่งอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ ประชาชนจึงได้เสนอชื่อกิ่งอำเภอว่า "กิ่งอำเภอเวียงแก่น" ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเวียงแก่น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2538
เปิดดู 3936 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com