เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ แม่จัน
   ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
ข้อมูลติดต่อ
ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
99 ม. 13 ถ.แม่จัน-ท่าตอน กม.ที่ 12 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย 57110
โทร / แฟ็กซ์ 053-710881-8

พิกัด GPRS : 20.108773,99.764657 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 20.108773,99.764657 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 12 ของทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน - ท่าตอน) ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง นั่งเกวียน มีการแสดงของช้าง การสาธิตต่าง ๆ เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องจักสาน การทำกระดาษสา การปั่นฝ้ายทอผ้า งานเย็บปัก

 ถักร้อยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และสาธิตวิธีชงชาตามแบบฉบับของยูนนาน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทย ลาว จีน (ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา การแสดงจะมีระหว่างเวลา 11.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 15.00 น. เก็บค่าผ่านประตูรวมค่าเข้าชมการแสดง คนไทย คนละ 100 บาท ชาวต่างชาติคนละ 200 บาท และยังมีฆ้องชัยใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 5 เมตร ให้ชมอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.

ขอต้อนรับเข้าสู่ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง อุทยานแห่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาลุ่มน้ำโขง 6 ชาติ ชื่นชมความงามตามธรรมชาติและย้อนอดีตเพื่อสัมผัสความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนภาคเหนือ ชาวไทยภูเขา และชนเผ่าต่างๆแห่งลุ่มแม่น้ำโขง

ครัวลานทองฯขอต้อนรับทุกท่านด้วยอาหารไทย อาหารนานาชาติและการบริการในระดับมาตรฐานอย่างเป็นกันเองท่ามกลางบรรยากาศขุนเขาที่เขียวขจีของอาณาจักรล้านนา

ความภูมิใจของถิ่นไทยงาม ลานทองฯแห่งแรกของไทย และภูมิภาคอาณาจักรแห่งขุนเขาเขียวชอุ่ม และสายน้ำแม่จันใสสะอาดรายล้อมด้วยหมู่พฤษานาพันธุ์

ตระการตากับการแสดงความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมจากแคว้นสิบสองปันนา โดยคณะนักแสดงจากประเทศจีน และรำลึกอดีตสัมผัสกับความงามของธรรมชาติรายรอบอุทยาน

ฆ้องชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ฆ้องชัยลานทองฯ หนักประมาณ 3 ตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ประติมากรรมร่วมสมัยแกะสลักเป็นรูปนักษัตร 12 ราศี และรูปหล่อสำริดสิงห์ 4 ทิศ จาก 4 ประเทศได้แก่ น พม่า ลาว และไทย สะท้อนถึงความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องของมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง

บ้านพักของลานทองฯ ที่รายล้อมด้วยแม่น้ำจันและธรรมชาติที่สามารถรองรับทุกท่านที่มาเป็นส่วยตัวหรือหมู่คณะได้อย่างเพียบพร้อม สมบูรณ์แบบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่และลานอเนกประสงค์ที่กว้างขวางสำหรับทำกิจกรรมกระชับไมตรีหน้าน้ำตก ซึ่งกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างสวยงาม และอากาศบริสุทธิ์ เย็นสดชื่นตลอดปี

ลานฆ้องชัย
ฆ้องชัย ตั้งตระหง่าน ณ ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชียงราย หรือจังหวัดเชียงราย ในภาษาราชการ เป็นดินแดนซึ่งพญามังราย ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1805 นับได้ 740ปี จังหวัดเชียงรายถือว่า เป็นจังหวัดที่มีน้ำโขงไหลผ่าน ดังนั้นลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงจึงได้รวบรวมเอาวัฒนธรรม ของประเทศลุ่มน้ำโขงอันได้แก่ประเทศจีนตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เข้ามารวบไว้ เพื่อจรรโลงและรักษาวัฒนธรรมที่ดีสืบต่อไป

นอกเหนือจากวัฒนธรรมที่ดีงามแล้ว ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงได้ถ่ายทอดมาในรูปแบบการแสดงแล้ว ยังได้สร้างฆ้องชัยขึ้น ถือว่าฆ้องชัยเป็นตัวเชื่อมอย่างดีของวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงจะเห็นว่าในทุกประเทศของลุ่มน้ำโขงนั้นใช้ฆ้องในพธีงานบุญหรือในงานพิธีการต่างๆและแม่น้ำโขงยังถือเป็นอีกหนึ่งตัวเชื่อมของ 6 ประเทศในลุ่มน้ำโขงอย่างแนบแน่นและกลมกลืน

ลานฆ้องชัยมีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 80 เมตร ตรงจุดศูนย์กลางมีฆ้องชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นเป็นสง่าตัวฆ้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร หนักประมาณ 3 ตัน มีโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก ด้านหน้าแกะสลักเป็นรูปนักษัตร 12ราศี และด้านหลังเป็นรูปแผนที่ของ 6 ประเทศมีลักษณะเด่นของแต่ละประเทศมาผสมผสานกันด้านล่างบริเวณพื้นรอบลานฆ้องปูด้วยอิฐดินเผาสีแดง และยังมรใบกาสะลองแกะลงบนพื้นอิฐทุกก้อน (ต้นกาสะลองถือว่าเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย)เปรียบเสมือนว่าใบกาสะลองร่วงหล่นบนแผ่นดินเชียงราย

รายล้อมรอบฆ้อง มีรูปหล่อสิงห์เป็นงานประติมากรรม จากประเทศจีน ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว และ ประเทศไทย ประเทศละ 1 คู่ ยืนเด่นเป็นสง่าเฝ้าฆ้องทั้ง 4 ทิศประกอบไปด้วย

รูปหล่อสิงห์ 
ประติมากรรมลานฆ้องรูปหล่อสิงห์ 4 ประเทศ เป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม

สิงห์ไทย ได้นำอิทธิพลของศิลปะเชียงแสนและล้านนามาสร้างเป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะและรูปทรงและรายละเอียดขอองงานในรูปแบบร่วมสมัย โดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศไทย อันได้แก่ พระปรางวัดอรุณราชวราราม ยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง และแม่น้ำเจ้าพระยา

สิงห์จีน ได้นำเอารูปสิงห์ด้านหน้าพระราชวัง ณ กรุงปักกิ่งมาสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะและรูปทรงและรายละเอียดของงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศจีน เช่นป่าหินแห่งคุณหมิง และกำแพงเมืองจีน

สิงห์เมียนมาร์ ได้นำเอารูปแบบสิงห์มาจากประตูทางเข้าวัดชะเวดากอง นครแห่งจักรวาล ได้นำมาสร้างสรรค์ โดยเป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะรูปทรงและรายละเอียดของงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศเมียนมารือันได้แก่เจดีย์ชะเวดากอง

สิงห์ลาว ได้นำรูปแบบสิงห์ที่ใช้ในการประกอบพิธีแห่มหาสงกรานต์ในเมืองหลวงพระบาง มาสร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมก่อให้เกิดรูปแบบสิงห์ที่มีลักษณะรูปทรงและรายละเอียดของผลงานในรูปแบบร่วมสมัยโดยส่วนฐานได้จำลองสถานที่สำคัญของประเทศลาว คือวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง ปู่เย ย่าเย สิงห์ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวลาวว่าเป็นผู้ที่นำสิ่งที่ดีงามมาจากสวรรค์มาอวยพรในวันสงกรานต์

**บริการห้องพัก อาหาร ห้องประชุมสัมมนา การแสดงต่างๆ** 











เปิดดู 5254 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com