เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ แม่สาย
   ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย (Tea Oil and Plant Oils Development Center)
ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 888 หมู่ที่ 10 ถนนพหลโยธิน ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130
โทรศัพท์ : 053 734140-2, 053-734440
โทรสาร : 053-734140-2 ต่อ 205
เว็บไซต์ : http://www.chaipat.or.th/intranet/project/detail.php?project_id=377
Facebook : https://www.facebook.com/TeaOilCenter

พิกัด GPRS : 20.420236,99.882328 แผนที่ขนาดใหญ่
++ แสดงพิกัดตำแหน่งที่ตั้ง : 20.420236,99.882328 สามารถคลิกหมุน scall ที่เม้าส์เพื่อซูมแผนที่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันจากเมล็ดชาและพืชน้ำมัน ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภคและทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันได้เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 จากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันเพื่อใช้เป็นโรงงานหีบน้ำมันจากเมล็ดชาและเป็นสถานนีวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพืชน้ำมันอื่นๆ หลังจากทีก่อนหน้านี้ได้ทรงมีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้ดำเนินการศึกษาและทดลองปลูกต้นชาน้ำมันสายพันธุ์ Camellia Oleifera ที่ได้รับมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาและพืชน้ำมันตั้งอยู่ บนถนนพหลโยธิน ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่กว่า 150 ไร่ นอกจากจะเป็นสถานที่เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำมันและพืชน้ำมันแล้ว ทางศูนย์ยังมีบริการอื่นๆ ให้กับผู้มาเยือนอีกเช่น สวนพักผ่อน ร้านอาหาร ร้านขายสินค้า ลานนิทรรศการ และลานกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้มาเยี่ยมชมเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันชาและพืชน้ำมัน



ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษาและทดลองปลูกชาน้ำมันจากประเทศจีนและพืชน้ำมันอื่นๆ และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ของมูลนิธิชัยพัฒนา
พระราชดำริ
มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันจากเมล็ดชาและพืชน้ำมัน ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภคและทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิตผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังมีพระราชดำริให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันแห่งนี้เป็นโรงงานต้นแบบที่สามารถเข้าชมได้ทุกจุดของการดำเนินงาน สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ทั้งหมด รวมถึงสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งปี มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด และคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ รวมถึงมีระบบควบคุมการใช้พลังงาน และรูปแบบที่ทันสมัย สวยงาม และมีสีสัน ในขณะที่บริเวณด้านนอกได้รับการออกแบบให้เป็นส่วนพักผ่อนสาธารณะ ซึ่งเป็นทั้งจุดท่องเที่ยวที่สวยงาม และเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพืชน้ำมัน
การดำเนินงานตามพระราชดำริ
 
การดำเนินงาน
การดำเนินงานปลูกชาน้ำมัน 
       ปี พ.ศ.2551 ดำเนินการดูแลต้นชาในพื้นที่โครงการฯ ที่ได้ลงปลูกไว้แล้วตั้งแต่ปี 2549 และมีการปลูกซ่อมต้นชาที่เกิดโรค ไม่เจริญเติบโต และมีศัตรูพืชรบกวน ในพื้นที่ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 
       ที่ พื้นที่ปลูก ขนาดพื้นที่ (ไร่) จำนวน (ต้น) 
       1 พื้นที่บริเวณเนินปางมะหัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 1,407 374,352 
       2 พื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง 233 39,430 
       3 พื้นที่บริเวณแม้หม้อ ปูนะ จะตี จังหวัดเชียงราย 2,010 534,660 
       4 พื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 9 1,602 
       5 พื้นที่แปลงชาน้ำมัน บ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 15 2,200 
       6 พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 8 2,046 
       7 พื้นที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ 1 88 
        รวมทั้งสิ้น 3,683 954,378 
       8. ศึกษาวิจัยประโยชน์อื่นๆ ของต้นชาน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น 
       9. ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับบริโภคจากเมล็ดชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพ เช่น มะรุม งา ทานตะวัน ฟักทอง ผักน้ำมัน และดอกคำฝอย 
       10. ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัน รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่สกัดจากพืชน้ำมันต่างๆ 
       11. รวบรวม ศึกษา และทดสอบประโยชน์สูงสุดของพืชน้ำมันต่างๆ ที่สามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ 
       12. ให้ความรู้เรื่องพืชน้ำมัน คุณสมบัติ และกระบวนการผลิตน้ำมัน 
       13. จัดสรรพื้นที่โดยรอบศูนย์วิจัยฯ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และแหล่งท่องเที่ยว 
       พื้นที่ปลูกชาน้ำมัน 
       มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนาการปลูกต้นชาน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2548 โดยนำเมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนของต้นชาน้ำมันจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาทดลองปลูกในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร แถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวม 7 แห่ง เช่น บริเวณพื้นที่โครงการดอยตุง พื้นที่บ้านปางมะหัน และบ้านปูนะ จังหวัดเชียงราย 
       ต้นชาน้ำมัน 
        ต้นชาน้ำมันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Camellia Oleifera Abel, Theaceae เป็นพืชในสกุล Camellia เช่นเดียวกับชาที่ใช้ในชงดื่ม (Camellia Sinensis) แต่เป็นคนละสายพันธุ์กัน ต้นชาน้ำมันนี้มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า Oil-seed Camellia, Tea Oil Camellia, หรือ Lushan Snow Camellia เป็นไม้เศรษฐกิจซึ่งพบแพร่หลายทางตอนใต้ของประเทศจีน ผลชาสีเขียวมีลักษณะกลม ขนาดเท่าลูกมะนาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแตกออก ภายในเปลือกจะเต็มไปด้วยเมล็ดชาสีน้ำตาลเข้มถึงดำ 
       คุณสมบัติของน้ำมันเมล็ดชา 
       น้ำมันเมล็ดชาเป็นที่รู้จักในประเทศจีนนานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว มีประโยชน์มากมายจนได้ชื่อว่าเป็น น้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก เนื่องจากมีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกายไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก และไม่มีกรดไขมันทรานส์ ซี่งทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้น้ำมันชายังมีกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งไม่ดีต่อร่างกายต่ำ ในขณะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวหรือกรดโอเลอิก (กรดโอเมก้า 9) สูงถึงประมาณ 87-81% กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (กรดโอเมก้า 6) ประมาณ 13-28% และ กรดแอลฟาไลโนเลอิก (กรดโอเมก้า 3) ประมาณ 1-3% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับ LDL (คลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่มระดับ HDL (คลอเรสเตอรอลชนิดดี) ในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคอัมพาต โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ จึงดีต่อสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ 
        นอกจากน้ำมันชาจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงอย่างวิตามินอีและสารคาเทชิน ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น น้ำมันชายังมีจุดเดือดเป็นควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส (486 ฟาเรนไฮต์) ทำให้สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทอดหรือการผัดในอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก หรือเป็นส่วนผสมของน้ำสลัดหรือซอสหมักเนื้อสัตว์ 
       ประโยชน์อื่นๆ ของน้ำมันชา 
       นอกจากจะใช้ในการบริโภคและประกอบอาหารแล้ว น้ำมันชายังสามารถนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงเส้นผมและผิวพรรณต่างๆ เช่น ครีมและโลชั่นบำรุงผิว ครีมกันแดด สบู่ ยาสระผม หรือผสมกับน้ำมันหอมระเหย จากการวิจัยน้ำมันจากเมล็ดชาเพื่อประโยชน์ทางเครื่องสำอางพบว่า โลชั่นที่ผสมน้ำมันชา 5% และ 10% ช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น รวมถึงลดความหยาบกร้านและริ้วรอยบนผิวของผิวอาสาสมัครได้ใน 8 สัปดาห์ รวมถึงได้รับการยอมรับจากอาสาสมัครในระดับที่น่าพอใจ โดยประสิทธิภาพที่ได้จะใกล้เคียงกับน้ำมันแร่ 
       กากเมล็ดชา (Tea seed meal) ที่ได้จากการหีบน้ำมันออกแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Tea seed cake) มีสารซาโปนินส์ประมาณ 11-18% เป็นส่วนประกอบ สารตัวนี้สามารถนำไปใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟอง ใช้ในผลิตน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ รวมถึงน้ำยากำจัดศัตรูพืช หอยเชอรี่ในนาข้าว และปลาในบ่อกุ้ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการนำเข้ากากเมล็ดชาจากประเทศจีน
การดำเนินงานในระยะต่อไป
1. โครงการปลูกฟักทองเพื่อใช้เมล็ดในการผลิตน้ำมัน ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ฟักทอง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ยูนนานไป๋ป่านจากเมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และสายพันธุ์ Cucurbita pepo var. Styrica จากประเทศออสเตรเลีย และนำไปทดลองปลูกในพื้นที่ภาคต่างๆ 8 สถานที่ทดลอง ได้แก่ ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง โดยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก คือ ประมาณต้นเดือนตุลาคม 
       2. โครงการทดลองปลูกพืชน้ำมัน (Rapeseed) ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ rapeseed มา 8 สายพันธุ์ จากประเทศจีน คือ จาก The Oil Crops Research Institute, Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS ) จำนวน 5 สายพันธุ์ และพันธุ์เหยาเหยนเบอร์ 7 เบอร์ 8 และเบอร์ 9 และนำไปทดลองปลูกที่ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง โดยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก คือ ประมาณเดือนตุลาคม 
       3. โครงการปลูกมะรุมพันธุ์อินเดีย (Moringa Oleifera) ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดมะรุมพันธุ์อินเดียมา 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ PKM-1 และพันธุ์ไม่ระบุชื่อจึงให้ชื่อว่า พันธุ์ ก และนำไปทดลองปลูกในพื้นที่ 4 แห่ง คือ ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และดอยตุง จังหวัดเชียงราย 
       4. โครงการศึกษาและทดลองพืชน้ำมันเพื่อการบริโภคชนิดอื่นๆ เช่น งา ดอกคำฝอย และ Niger seed ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการศึกษาและทดลอง
ความก้าวหน้า
งานวิจัยและพัฒนา 
       1. ศึกษาพฤติกรรมการเจริญเติบโต และศักยภาพการให้ผลผลิตของชาน้ำมัน ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
       2. สำรวจรวบรวมและศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสกุลชา (Camellia L.) ในประเทศไทย 
       3. ศึกษาและวิจัยการสกัดแยกน้ำมันจากเมล็ด เก็บข้อมูลสำหรับกำหนดลักษณะอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับโรงงานผลิต 
       4. วิจัยน้ำมันจากเมล็ดชา เพื่อประโยชน์ทางเครื่องสำอาง 
        
       การดำเนินงานโครงการพืชน้ำมัน อื่นๆ 
        
       1. โครงการปลูกฟักทองเพื่อใช้เมล็ดในการผลิตน้ำมัน 
       1.1. ได้รับพระราชทานฟักทองมา 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ยูนนานไป๋ป่านจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสายพันธุ์ Cucurbita pepo var. Styrica จากประเทศออสเตรเลีย 
       1.2. ส่งเมล็ดพันธุ์ทั้ง 2 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกในพื้นที่ภาคต่างๆ 8 สถานที่ทดลอง ได้แก่ ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก1 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง 
       1.3. ได้มีการทดลองปลูกในบางแห่งแล้ว แต่เนื่องจากฝนตกชุกจึงเกิดการเสียหาย จึงได้ส่งเมล็ดพันธุ์ไปเพิ่มเติม และจะได้มีการทดลองปลูกอีกครั้งในฤดูกาลที่เหมาะสม คือประมาณต้นเดือนตุลาคม 
        
        2. โครงการทดลองปลูกพืชน้ำมัน rapeseed 
        2.1 ได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ rapeseed มา 8 สายพันธุ์ จากประเทศจีน คือ จาก The Oil Crops Research Institute, Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS ) จำนวน 5 สายพันธุ์ พันธุ์เหยาเหยนเบอร์ 7 และพันธุ์เบอร์ 8 และพันธุ์เบอร์ 9 
        2.2 ได้ส่งเมล็ดพันธุ์ทั้ง 8 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกที่ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง 
        2.3 การทดลองปลูกจะเริ่มประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน 
        
        3. โครงการทดลองปลูกมะรุมพันธุ์อินเดีย (Moringaoleifera) 
       3.1 ได้รับพระราชทานเมล็ดมะรุมพันธุ์อินเดียมา 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ PKM-1 และพันธุ์ไม่ระบุชื่อจึงให้ชื่อว่า พันธุ์ ก 
       3.2 ส่งเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกในพื้นที่ 4 แห่ง คือ ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และดอยตุง จังหวัดเชียงราย 
       3.3 ขณะนี้ได้เพาะต้นกล้าและลงปลูกไปบ้างแล้ว คาดว่าจะได้ข้อมูลเบื้องต้น ภายใน 1 ปี 
        
       4. โครงการศึกษาการให้ประโยชน์จากเมล็ดมะเยาหิน (Vernicia montana หรือ Aleurites Montana) 
       ได้รับเมล็ดมะเยาหินจากมูลนิธิชัยพัฒนา 1.8 กิโลกรัม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้วิเคราะห์หาปริมาณน้ำมันในเมล็ดพบว่ามีน้ำมัน 37.64 % และบีบน้ำมันออกมาได้ 18.5 % นำน้ำมันที่บีบได้มาวิเคราะห์หาองค์ประกอบของกรดไขมัน เปรียบเทียบกับน้ำมันตัง (Tung Oil) ที่ได้จากโรงงานพิมพ์ธนบัตรที่นครไชยศรี พบว่าน้ำมันทั้ง 2 แหล่ง มีความใกล้เคียงกันมากทั้งชนิดและปริมาณของกรดไขมัน ตามรายละเอียดที่ปรากฏในรายงาน สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือหาเมล็ดมะเยาหินมาบีบน้ำมันให้ได้น้ำมันประมาณ 20 ลิตร เพื่อมอบให้โรงงานพิมพ์ธนบัตรไปทดสอบคุณภาพเปรียบเทียบกับน้ำมันตังที่นำเข้ามาจากประเทศจีน และถ้าได้น้ำมันมากพอก็จะส่งไปทดสอบตามโรงงานทำสีที่ใช้น้ำมันจากประเทศจีนอยู่ 
        
       การศึกษาเพื่อการจัดตั้งโรงงานชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ 
       1. กรมธนารักษ์ ได้มีมติเห็นชอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาเช่าที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ อ.ชร. 15 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งโรงงานยาสูบได้ส่งพื้นที่คืนให้เรียบร้อยแล้ว เนื้อที่ประมาณ 153 ไร่ 2 งาน 92.30 ตารางวา เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานชาน้ำมัน ทั้งนี้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเห็นว่ามีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานเพราะเป็นพื้นที่ติดถนนใหญ่ มีความสะดวกในด้านการคมนาคม ขนส่งทั้งวัตถุดิบ และผลผลิต สามารถพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้า ความรู้ หรือสถานที่ท่องเที่ยวได้ 
       2. คณะทำงานชาน้ำมันได้ทำการศึกษาเครื่องมือ เครื่องจักรที่เหมาะสมในการผลิตชาน้ำมันในระยะเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยป่าไม้กว่างซี ตามขั้นตอนต่อไปต้นชาน้ำมันซึ่งเริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันมีอายุระหว่าง 2.5-4 ปี และคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดชาน้ำมันที่โตเต็มที่ได้ในปีที่ 5 เมล็ดชาน้ำมันที่เก็บเกี่ยวในปีแรก (ปี 2552) จากปางมะหันพบว่า มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน ไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ได้อยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง คือ ประมาณ 27-38% 
       ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ได้เปิดดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยในระยะแรกทางศูนย์ฯ ได้เริ่มทดลองผลิตน้ำมันจากผลผลิตเมล็ดชาน้ำมันที่ปลูกในโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันและพืชน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดเชียงราย และในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งไม่มีผลผลิตจากต้นชาน้ำมัน ทางศูนย์ฯ จะทำผลิตน้ำมันจากงา เมล็ดทานตะวัน และมะรุม รวมทั้งจะได้ศึกษาวิจัย และทดลองผลิตน้ำมันจากฟักทอง นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้เปิดร้านจำหน่ายอาหารที่ใช้น้ำมันชาและผลผลิตด้านการเกษตรจากโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหาร รวมถึงจัดตั้งร้านขายของที่ระลึกจำหน่ายสินค้าของทางศูนย์ฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค เช่น น้ำมันชา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันงา และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง และ น้ำสลัด เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบ
หน่วยงาน สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง-โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เปิดดู 2223 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com