เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  โฟกัสที่เที่ยว : แหล่งท่องเที่ยว จ.เชียงราย
   Chiang Rai Attractions .. [Eco-tourism, Agro-tourism, Conservation tourism, Historical tourism, Cultural tourism, Helath tourism]
คลิปท่องเที่ยวเชียงราย
อัลบั้มภาพท่องเที่ยว
ข้อมูลผ่านแดนไปประเทศเื่พื่อนบ้าน
อ. เมือง    อ. เชียงของ    อ. เชียงแสน    อ. เวียงแก่น    อ. เวียงชัย    อ. เวียงป่าเป้า    อ. เวียงเชียงรุ้ง    อ. เทิง    อ. แม่จัน    อ. แม่ฟ้าหลวง    อ. แม่สาย    อ. แม่สรวย    อ. แม่ลาว    อ. พาน    อ. พญาเม็งราย    อ. ดอยหลวง    อ. ป่าแดด    อ. ขุนตาล   
ค้นหาแหล่งท่องเที่ยว :  
เลือกอำเภอ
 
< ย้อนกลับ | แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอำเภอ เมือง
   อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก(บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม)
ข้อมูลติดต่อ
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ต.ดอยฮาง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000
โทร / แฟ็กซ์ 0 5360 9238

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย)
เลขที่ 775 ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทร. 0 5371 1402 โทรสาร 0 5371 1961
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 3 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม  และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท


 



อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอมาลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 3 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท 

พื้นที่วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีอาณาเขตใกล้เคียงกันและมีสภาพธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์แต่การบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายรองรับ จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ 

กรมป่าไม้จึงได้มีการสำรวจพื้นที่วนอุทยานต่างๆ ดังกล่าวรวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่ข้างเคียง โดยเริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่เมื่อเดือนมกราคม 2544 และกรมป่าไม้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกมาควบคุมพื้นที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก เมือเดือนกรกฎาคม 2544 และในปีงบประมาณ 2545 กรมป่าไม้ได้จัดแผนงานและงบประมาณดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกรวมทั้งอนุมัติการก่อสร้างชุดอาคารสำนักงาน ณ บริเวณที่ตั้งที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยหมากเลี่ยม ท้องที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 

พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ประมาณ 458,110 ไร่ หรือ 732.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ตำบลป่าตึง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู ตำบลดอยฮาง ตำบลบ้านดู่ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลวาวี ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย และตำบลโป่งแพร่ ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว มีอาณาเขตทิศเหนือจดทางหลวงแผ่นดินสายแม่จัน-แม่อาย ท้องที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทิศใต้จดทางหลวงแผ่นดินสายเชียงราย-แม่สรวย และบ้านโป่งฟูเฟือง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกจดท้องที่ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน ตำบลท่าสุด ตำบลนางแล ตำบลดอยฮาง และตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันตกจดตำบลแม่ยาว ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง และตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
ต่อไป



ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันสลับกับที่ราบแคบๆ บริเวณหุบเขาเป็นหย่อมเล็กๆ ตอนเหนือและตอนใต้ของพื้นที่เป็นที่สูงลาดต่ำลงมาตอนกลางจะเป็นที่ราบลุ่มน้ำสลับกับร่องเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 500-1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล มียอดดอยช้างเป็นดอยที่สูงที่สุด ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,720 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ ดอยยาว ดอยบ่อ ดอยช้าง ดอยผามูบ เป็นต้น มีแม่น้ำกกซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือตอนบนไหลผ่านที่ราบลุ่มตอนกลางของพื้นที่ โดยต้นน้ำเริ่มมาจากประเทศพม่าไหลผ่านเขตประเทศไทยที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงราย จากทางทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก รวมระยะทางจากตำบลท่าตอนถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติประมาณ 85 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีลำน้ำในพื้นที่อีกหลายสายที่เกิดจากต้นน้ำในเทือกเขาต่างๆ ในพื้นที่อันได้แก่ ห้วยแม่กรณ์ ห้วยแม่มอญ ห้วยย่าดี ห้วยชมภู ห้วยส้าน ห้วยแม่ซ้าย และห้วยเลาอ้าย ซึ่งลำห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่และไหลไปรวมกับแม่น้ำลาวและน้ำแม่กกซึ่งเป็นแม้น้ำสายสำคัญของจังหวัดเชียงราย

ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ในเขตมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู อย่างชัดเจน คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั่งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2534 - 2543 เฉลี่ยประมาณ 1,629 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยมีหมอกตลอดฤดูหนาว

พรรณไม้และสัตว์ป่า

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก สามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 

ป่าดิบเขา พบที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 800 เมตร ขึ้นไป ในบริเวณยอดดอยช้าง วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ก่อก้างด้าง ก่อพวง ก่อเดือย ก่อสีเสียด พญาไม้ ขุนไม้ มะขามป้อมดง เมื่อย จันทร์ทอง จำปีป่า เมี่ยงดอย กุหลาบขาว คำแดง ก่วมแดง โคลงเคลงขน จุกนารี กำลังช้างสาร กุหลาบหิน ข่าคม กระเจียวขาว เฟิน ฯลฯ ป่าดิบแล้ง พบได้ในระดับความสูง 300 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและริมห้วย พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง คอแลน กระเบากลัก พลับพลาข่อยหนาม กระดูกค่าง ชมพู่ป่า หวายขม เครืองูเห่า ปัดแดง กล้วยดงดำ เฟิน ผักเบี้ยดิน หญ้ากาบไผ่ ลดาวัลย์ และเถายั้งดง เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่มากที่สุด ในระดับความสูง 50 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ สัก กระพี้เขาควาย รกฟ้า ตะแบกเลือด ซ้อ สมอไทย ขะเจ๊าะ เปล้าหลวง มะกอกป่า ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่รวก กระชาย กลอย ขมิ้น ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 400 - 600 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่าง ได้แก่ เต็ง รัง พลวง เหียง กราด แสลงใจ มะขามป้อม ไผ่เพ็ก โจด ฯลฯ 

สัตว์ป่าที่สำรวจพบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกกมีเหลืออยู่น้อยมาก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ เก้ง หมูป่า อีเห็น เม่นหางพวง ลิ่นกระต่ายป่า กระรอกท้องแดง กระแตธรรมดา กระจ้อน หนูท้องขาว นกตะขาบทุ่ง นกกางเขนบ้าน นกกระปุดใหญ่ นกขมิ้นน้อยธรรมดา นกแซงแซวหางปลา นกปรอดสวน เหยี่ยวนกเขา นกเขาใหญ่ ตะกวด กิ้งก่าหัวสีแดง งูเขียวหางไหม้ งูสิง งูสามเหลี่ยม งูเห่า กบ เขียด คางคกบ้าน และปาด เป็นต้น

 










รูปภาพเพิ่มเติม ติดตามดูได้จากลิงค์นี้
http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=158504.0
เปิดดู 28098 ครั้ง
แจ้งแก้ไขข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูล ส่งเมล์มาที่ ทีมงานเช็คอีเมล์ทุกวัน
 

เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
กิจกรรมของเว็บ
เงื่อนไขการให้บริการ
ติดต่อทีมงาน
ช่วยเหลือ
แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถิติ โดยรวมของเว็บ
 
เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
ติดต่อโฆษณา


สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com