หลายคนคงเคยไดยินคําวา “พิธีสืบชะตา”
มาแลวบางวาเปนพิธีกรรมสวนหนึ่งที่อยูคูกับวิถีชีวิตคนเมืองหรือคนลานนามาอยางยาวนาน
บางคนคงเพียงแคไดยินแตไมเคยเห็นหรือรูจักวาเปนพิธีกรรมอยางไร และบางคนอาจะเคยเห็นพิธีกรรมการที่มีไมค้ำทำเป็นรูป
3มุม และมีอุปกรณตางๆ เยอะแยะมากมาย ผูคนเอาดายสายสิญจนเวียนรอบศีรษะตัวเองโดยมีพระสงฆนั่งสวดมนตไปดวยนั้น
วาเปนพิธีกรรมเกี่ยวกับอะไร ที่กลาวมาแลวขางตนเราเรียกวา “พิธีสืบชะตา”
อันเปนประเพณีวัฒนธรรมที่อยูคูกับวิถีชีวิตกับชาวล้านนามาอย่างยาวนาน
พิธีสืบชะตานั้นเป็นพิธีมงคล คําวา “ สืบ”ความหมายคือต่อใหยาวขึ้น
“ชะตา” หรือชาตาชีวิตของแตละคน ดังนั้นพิธีนี้จึงเสมือนเปนพิธีกรรมในการตออายุใหยืนยาวขึ้นหรือที่เราเรียกเปนภาษาภาคกลางวา
“พิธีอายุวัฒนมงคล” นั่นเอง แตสิ่งที่แตกต่างไปจากพิธีกรรมของภาคอื่น
จะเห็นได้จากุปกรณตางๆ ที่ใชประกอบในพิธี ซึ่งสิ่งที่จะขาดไมไดก็คือเครื่องสืบชะตาผูเขียนจะไดอธิบายวาในสวนของเครื่องสืบชะตานั้น
ประกอบไปดวยอะไรบ้าง และแตละสิ่งแตละอยางในคติความเชื่อของชาวลานนานั้น
บงบอกและแฝงไวดวยคติความเชื่ออยางไรบาง
แตกอนที่จะอธิบายถึงตรงนั้นผูเขียนขอเลาใหฟงกอนวา พิธีกรรมในการสืบชะตานั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งการสืบชะตาแบบเดียวหรือคนเดียว การสืบชะตาแบบครอบครัว ซึ่งสวนมากชาวลานนามักจะกระทํากันในพิธีทําบุญบานใหม่ หรือที่ชาวล้านนาเรียกวา ทําบญขึ้นเฮือนใหม่(เฮือน หมายถึง เรือนหรือบานเรือน) โดยมีความเชื่อว่าจะสงผลใหเจ้าของบานพรอมทั้งลูกหลานจะไดอยูเย็นเปนสุขและมีอายุมั่นขวัญยืนในการเขามาอาศัยอยในบานหลังใหม และพิธีสืบชะตาอีกแบบคือทําแบบกลมใหญุๆ หรือคนหมูมากที่เรียกวาสืบชะตาหลวง(หลวง ภาษาคำเมืองหมายถึง ใหญ)
สวนใหญมักจะเห็นกันในชวงเทศกาลสงกรานตหรือประเพณีขึ้นปใหม่ไทย
ซึ่งชาวลานนาจะเรียกประเพณีนี้วา “ปาเวณีปใหมเมือง” ซึ่งชาวบ้านในแต่ล่ะชุมชนหรือแตละคุ้มวัด
จะจัดใหมีพิธีสืบชะตาหลวงและพิธีการสงเคราะหของคนทั้งชุมชน เพื่อความเปนสิริมงคลและความรมเย็นเปนสุขของคนในชุมชน
ซึ่งบางแหงจะทํากันที่วัด บางแหงจะทํากลางหมูบานอาศัยทางแยกที่เปนศูนยกลางของหมูบาน
ที่เรียกวา “กลางใจบ้าน ” เปนสถานที่ในการประกอบพิธี ซึ่งขึ้นอยูที่ความสะดวกและประเพณีที่เคยถือปฏิบัติสืบตอกันมา
ซึ่งในปจจุบันนี้สวนใหญมักจะกระทํากันที่วัด เนื่องจากเกิดความสะดวกและมีความพรอมมากกวานั่นเองและเครื่องสืบชะตาก็จะมีความแตกตางกันออกไปขึ้นอยูกับจํานวนคน
ความพรอม และปจจัยของผูเปนเจาภาพดวยนอกจากนี้การประกอบพิธีสืบชะตายังมีองคประกอบอื่นๆ
ที่เกี่ยวของอีกหลายอยาง โดยเฉพาะเรื่องของฤกษผานาที เนื่องจากการประกอบพิธีสืบชะตาเปนพิธีกรรมที่เกี่ยวของกับความเป็นมงคลของชีวีต
ดังนั้นการเลือกเอาวันที่ประกอบพิธีมักจะเปนวันที่มีฤกษที่ดีดวยสวนพิธีสืบชะตาหลวงที่ชาวลานนาทํากันในช่วงสงกรานตนั้น
มักทำกํันในวันที่ ๑๕ เมษายนเพราะชาวลานนาถือวาวันดังกลาวเปนวันขึ้นปีใหม
หรือเรียกกันโดยทั่วไปวา “วันพญาวัน”(พญา ภาษาคําเมืองหมายถึง
ผูเปนใหญ) ซึ่งถือวาเปนวันที่เป็นใหญของวันทั้งหมด เปนยอดวันที่ดีที่สุดหลังจากที่ไดฤกษในการประกอบพิธีมงคลแลว
สิ่งที่เจาภาพจะลืมไมไดนั่นคือการนิมนตพระสงฆเพื่อมาประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีสืบชะตา
ซึ่งทั้ง ๒ พิธีนี้จะกระทําควบคูกันไปโดยพระสงฆจะเจริญพระพุทธมนตเพื่อเสกน้ำมนต
และสวดบทสืบชะตาตอเนื่องกันไป ซึ่งผูเขียนจะไดนํามากล่าวตอไป จํานวนพระสงฆที่นิมนตมานั้นมักจะถือจํานวนที่เปนมงคลเชน
๙ รูป ๗ รูป หรือ ๕ รูป ขึ้นอยูกับความพรอมและกําลังปจจัยของผูเปนเจาภาพเช่นกัน
แต่โดยสวนใหญ่แลวในการสืบชะตาในพิธีทําบุญขึ้นบานใหมก็มักจะนิมนตพระ ๙ รูป
เนื่องจากคนสวนใหญ่จะถือเคล็ดเลข ๙ คือความกาวหนา นั่นเองในสวนของเครื่องสืบชะตานั้นประกอบไปดวยอะไรบ้าง
ซึ่งผูเขียนจะไดอธิบายถึงความหมายของแตละอยางไปดวย ตามคติความเชื่อของชาวลานนาวาบรรพบุรุษไดแฝงไวซึ่งปรัชญาและคติความเชื่ออะไรไวบาง
องคประกอบของเครื่องสืบชะตาหลักๆ นั้นประกอบไปดวย
ไมก้ำ หรือไมค้ำ ซึ่งมีลักษณะเหมือนไมงามลูกเสือ จํานวน ๓ เลม ซึ่งขนาดของไมค้ำนี้จะเล็กหรือใหญขึ้นอยูกับวาพิธีนั้นเป็นการสืบชะตาทั่วไปหรือสืบชะตาหลวง ถาเปนพิธีสืบชะตาหลวงไมค้ำก็จะมีขนาดใหญขึ้นตามลําดับ ในคติความเชื่อของชาวลานนาแตอดีตเชื่อกันวา ไมค้ำ เปนสิ่งที่จะคอยชวยค้ำจุนใหเกิดความมั่นคงในชีวิต ซึ่งนอกจากจะนํามาใชประกอบในพิธีสืบชะตาแลว เรามักจะเห็นชาวบานในล้านนานําไมค้ำไปถวายวัดเพื่อใชค้ำตนโพธิ์ในชวงสงกรานตซึ่งบางแหงจะมีพิธีจัดขบวนแหอยางยิ่งใหญและถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน การใชไมมาค้ำทํามุมกัน ๓ มุมนั้น จํานวนเลข ๓ นี้มาจากไหน จํานวน ๓ นี้หมายถึงพระรัตนตรัย ๓ ประการ อันประกอบไปดวยคุณพระพุทธคุณพระธรรม และคุณพระสงฆนั่นเอง ดังนั้นไมค้ำดังกลาวจึงมีนัยวา ขอใหคุณพระรัตนตรัยนั้นชวยค้ำจุนชีวิตใหมีความมั่นคงสืบไป
ไมงาม ๑๐๘ เปนกิ่งไมแขนงลักษณะเหมือนกับไมค้ำ
แตมีขนาดเล็กกวาซึ่งมีความยาวประมาณ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร มัดรวมกัน ๑๐๘ เลม วางไว้ตรงโคนไมค้ำมุมใดมุมหนึ่งที่มาของจํานวนไมงาม
๑๐๘ เลมนี้มาจากคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งตามคติความเชื่อของชาวพุทธถือวาคุณของพระพุทธนั้นมีอยู
๕๖ ประการ คุณพระธรรมมี๓๘ ประการ และคุณพระสงฆมี ๑๔ ประการ รวมแลวได ๑๐๘ ประการ
หรือที่เรียกวามงคลรอยแปด ในปจจุบันไมงามจํานวนดังกลาวมักหาไดยากขึ้น
บางแหงจะใช“แหยง” ซึ่งเปนพืชในตระกูลกกชนิดหนึ่ง ลําตนกลม
มีสีเขียว สวนปลายยอดมีกิ่งแขนง ซึ่งชาวบานจะติดมาแทนไมที่หายากขึ้น
เกิ๋นเงิน-เกิ๋นคํา “เกิ๋น”
เปนภาษาเหนือหมายถึงเกริน หรือบันได ซึ่งในที่นี้ผูเขียนจะขอใชคําวาบันไดซึ่งงายต่อความเขาใจของทุกทาน
ประโยชนของบันไดใชสําหรับปีนป่ายหรือขึ้นที่สูง ดังนั้นความหมายและคติความเชื่อที่คนโบราณทานแฝงไวนั้น
หมายถึงการกาวขึ้นสูที่สูง มีความสูงสง มีความกาวหน้าในชีวิต ถาเป็นขาราชการจะแทนความหมายของการเลื่อนชั้นเลื่อนตําแหนงหรือยศศักดิ์ใหสูงขึ้น
โดยจะทำเปํนรูปบันไดเล็กๆ พันดวยกระดาษสีเงินและสีทอง ซึ่งหมายถึงบันไดเงินบันไดทอง
สีเงินและสีทองแฝงความหมายใหมีเงินมีทองใชใหเกิดความมั่งคั่งดวยเชนกัน บางแหงถาสถานที่ไม่เอื้ออํานวยหรือเปนพิธีสืบชะตาแบบเล็กๆ
ไมไดใหญโตมาก ก็จะมีการยอขนาดลงเหลือเพียงอันเดียวหรือทําเปนรูปบันไดเล็กๆพอเปนเครื่องหมายเทานั้น
องคประกอบตอมาของเครื่องสืบชะตาไดแตกระบอกทราย
กระบอกน้ำ ตุงชัย และเทียนซึ่งเปนองคประกอบที่๔-๗ จะเห็นไดวาผู้เขียนยกเอาองคประกอบทั้ง
๔ อยางนี้ขึ้นมากลาวพรอมกันซึ่งผูเขียนจะไดอธิบายความหมายขององคประกอบทั้ง
๔ อยางตอไป แตกอนจะถึงตรงนั้นผูเขียนขออธิบายความหมายเพิ่มเติมถึงพิธีกรรมการสืบชะตาวานอกจากเป็นพิธีกรรมการตออายุแลว
ยังแฝงไวซึ่งความแข็งแรงของรางกายและไรซึ่งโรคภัยไขเจ็บเปนสิ่งคูกันที่จะใหคนเรามีอายุยืนยาวได
ตามคติโบราณชาวลานนาและชาวพุทธเชื่อกันวา รางกายของมนุษยที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนไดนั้น
ประกอบไปดวยธาตุหลัก ๔ ธาตุคือดิน น้ำ ลม และไฟ ดังนั้นการที่จะใหชีวิตใหดํารงอยูไดตองประกอบไปดวยธาตุเหลานี้
ในพิธีการสืบชะตาคนโบราณไดนําเอาหลักการของธาตุทั้ง ๔ มาเปนองคประกอบหนึ่งในการจัดเตรีมเครื่องสืบชะตา
และธาตุทั้ง ๔ นี้จะเกี่ยวของกับองคประกอบที่ผูเขียนกลาวไวขางตนอย่างไร
ผูเขียนขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
กระบอกทรายและกระบอกน้ำ เปนลำไม้ไผที่มีขนาดความยาวสูงเทาๆ
กับไมค้ำสวนหัวและทายจะกรอกทรายลงไปและหุ้มปลายทั้ง ๒ ดานใหแนนไม่ใหทรายรั่วออกมาบางแหงจะใชลําของตนออที่มีขนาดเล็กมัดรวมกัน
๑๐๘ อัน กรอกทรายลงไปใหครบวางไวมุมหนึ่งของไมค้ำ ซึ่งกระบอกทรายนี้เป็นเสมือนสิ่งที่แทนธาตุดินในรางกายของคนเรา
และกระบอกน้ำก็จะลักษณะเชนเดียวกันนี้ ซึ่งใชแทนความหมายของธาตุน้ำนั้นเอง
ตุงชัย ทานรูจักและเคยเห็นตุงกันมาแล้วบาง
แตตุงชัยนี้ลักษณะจะแตกตางจากตุงผืนผ้ายาวๆ ตุงชัยจะเปนตุงที่มีรูปรางลักษณะเปนตุงสามเหลี่ยมทําดวยผาหรือกระดาษสวนมากในพิธีสืบชะตามักจะใชกระดาษวาวหลากหลายสี
มาติดเปนรูปสามเหลี่ยมและฉลุลวดลายใหเกิดความสวยงาม ถาเป็นเครื่องสืบชะตาขนาดเล็กชาวบานจะนำตุงมาปกลงบนกานกลวยแลวมัดรวมกับไมค้ำ
แตถาเป็นพิธีสืบชะตาหลวงมักนิยมนํามาปกลงบนตนคาหรือตนกลวย วางไวตามมุมของเครื่องสืบชะตา
และบริเวณสวนยอดของไมค้ำ ซึ่งความหมายของตุงชัยนี้จะโบกไสวไปมาก็ตอเมื่อมีลมพัดผาน
จึงเปนเครื่องหมายแสดงถึงพลังลม หรืออีกนัยหนึ่งใช้แทนธาตุลม
เทียน หรือเทียนชัย ทําด้วยขี้ผึ้งแท ไสเทียนมีจํานวน
๑๐๘ เสน ซึ่งแฝงไวดวยมงคล ๑๐๘ ดังที่ผูเขียนได้อธิบายไวในฉบับที่แลว นํามาปกไวสวนบนของไมค้ำหรือมุมใดมุมหนึ่งของไมค้ำ
ที่สะดวกพอที่จะเอื้อมจุดเทียนถึง เทียนเลมนี้จะจุดขณะที่พระสงฆเริ่มเจริญพระพุทธมนต
แสงเทียนที่ลุกโชติชวงนั้นเปรียบไดกับแสงแห่งปญญา และนําความสวางไสวตลอดจนความรุงโรจนมาสูเจาชะตาที่ประกอบพิธีนั้นๆ
นอกจากนี้แล้วเปลวเทียนยังทําใหเกิดความรอนซึ่งแสดงถึงธาตุไฟที่ประกอบเปนธาตุของคนเรา
เป็นธาตุที่ ๔ ดวย จะเห็นไดวาสิ่งที่ผูเขียนไดอธิบายมาถึงตรงนี้ เปนสิ่งที่คนในสมัยโบราณมีคติความเชื่อ
ที่แฝงไวซึ่งควายหมายที่ลึกซึ้งเปนอยางยิ่ง ดังนั้นพิธีสืบชะตาจึงเปนพิธีกรรมที่ทําใหคนเรามีขวัญและกําลังใจที่ดีในการดํารงชีวิต
เปนเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่ดีและถูกถายทอดมาจากรุนสูรุนจวบจนกระทั่งทุกวันนี้
เครื่องประกอบพิธีสืบชะตายังมีรายละเอียดและองคประกอบอื่นๆ ที่ผูเขียนจะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
องคประกอบที่ ๘ ของเครื่องสืบชะตา ชาวลานนาเรียกกันวา
“ฮาวเงิน-ฮาวคํา” (ซึ่งหมายถึงราวหรือที่จับ เชนราวสะพานหรือราวบันได)
หรือบางแหงชาวบานจะเรียกกันวา“ลวดเงิน-ลวดคํา” ซึ่งจะใชเชือกหรือลวดความยาวเทากับไมค้ำ
พันดวยกระดาษสีเงินและทองมัดติดกับกานไมไผ และนํามาผูกรวมไวกับไมค้ำ ซึ่งความหมายของราวนี้จะใหแทนความหมายวาชวยประคับประครอง
ไม่ใหลมหรือเพื่อใหเกิดความมั่นคงขึ้น นอกจากนี้ในองคประกอบของเครื่องสืบชะตายังมีองค์ประกอบหรืออุปกรณตางๆ
อีกจํานวนมาก หากสังเกตใหดีแล้วจะเห็นไดวา พิธีกรรมการสืบชะตานี้จะเกี่ยวของกับวิถีชีวิตและความเปนอยูประจําวันของผูคนดวย
ซึ่งเครื่องสืบชะตานั้นจะประกอบไปดวยสิ่งที่เปนปจจัยสี่รวมอยูดวยดังที่ผูเขียนจะไดยกตัวอยางและอธิบายดังนี้
“ขันขาว” ภาษาเหนือหมายถึง สํารับอาหาร โดยในเครื่องสืบชะตานั้นจะต้องมีสํารับอาหารจํานวนหนึ่งสํารับวางไวที่มุมไมค้ำ ในปจจุบันลักษณะของสํารับอาหารก็เปลี่ยนมาเปนปิ่นโตเนื่องจากสะดวกในการจัดเตรียมและประหยัดพื้นที่ในการจัดวางดวย นอกจากสํารับอาหารแลว ยังมีหมาก เมี่ยง บุหรี่ ซึ่งเปนสิ่งทิี่ขาดไม่ได สามสิ่งนี้เปนสิ่งที่อยูคูกับวิถีชีวิตของชาวลานนามาอยางยาวนาน โดยจะนํามาประดิดประดอยใหเกิดความสวยงาม บางแหงจะถักบุหรี่เปนรูปผืนตุง บางแหงจะตัดเปนคำๆ รวมไปถึงหมาก เมี่ยง ใบพลู และนํามาผูกติดกับกานไม้ไผ ใหมีขนาดความยาวเทากับไมค้ำ และผูกติดไมค้ำไวดวยเชนกัน
“หมอน้ํา” หรือตุมดินเผาใบเล็กๆ ใสน้ำไวขางในพอเปนพิธี ซึ่งเป็นหนึ่งในปจจัยสี่เชนกัน เมื่อเราทานขาวเสร็จเราก็ตองดื่มน้ำตามทุุกครั้ง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผูคนอยูแลวดังนั้นในความหมายที่แฝงไวของคนโบราณ เพื่อใหมีกินไมอดอยาก
“เครื่องนอน” อันประกอบไปดวย เสื่อ หมอน ผาหม ซึ่งเปนหนึ่งในปัจจัยสี่ของคนเรา แทนความหมายของการมีนุงหมและไดมีที่อาศัยหลับนอน
นอกจากนี้ยังมี ขาวเปลือก ขาวสาร ใสกระบุงหรือภาชนะไว ตนกลวย ตนออย มะพราว กลวย หรือบางแห่งอาจจะมีฟกทอง ฟกเขียวเพิ่มเติมก็มี ซึ่งหากเรามองใหลึกลงถึงนัยที่คนโบราณนําเอาข้าวของเหลานี้เขามาเปนสวนประกอบของเครื่องสืบชะตา ซึ่งจะหมายถึงใหเกิดความอุดมสมบูรณ ความมั่งคั่งและความพรั่งพรอมใหมีกินมีใชไปตลอดนั่นเอง เมื่อตั้งเครื่องสืบชะตาเสร็จเรียบรอยแลว จะตองนําดายสายสิญจนมาพันรอบเครื่องสืบชะตาปลอยชายขางหนึ่งไวตรงกลาง สําหรับผูเขาพิธีใชเวียนรอบศีรษะ และโยงไปยังตําแหนงที่พระสงฆนั่งเจริญพระพุทธมนต หากเปนการสืบชะตาแบบใหญๆ หรือที่เรียกวาสืบชะตาหลวงนั้น ชาวลานนาจะใชวิธีขึงดายสายสิญจนเหนือศีรษะใหเต็มสถานที่ประกอบพิธีเพื่อใหเกิดความทั่วถึงผูเขารวมพิธีทุกคน โดยทําเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมและปลอยชายลงมาพอที่จะเวียนรอบศีรษะของคนที่นั่งอยูดานลางได สวนบริเวณตรงกลางที่ตั้งเครื่องสืบชะตาไวจะใหผู้ที่เปนประธานในพิธีหรือผูที่มีอาวุโสสูงสุดนั่งอยูขางใน ที่อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไมไดขณะที่ประกอบพิธีคือฆองชัย ซึ่งจะลั่นฆองชัยในขณะที่พรสงฆสวดถึงบทอัญเชิญเทวดา การลั่นฆองชัยนี้เพื่อเปนการบอกกลาวเทวดาทั้ง ๑๖ ชั้นฟา ๑๕ ชั้นดินและ ๑๗ ชั้นบาดาล เพื่อใหรับรูนับทราบถึงงานอันเป็นการมงคลครั้งนี้ และจะลั่นฆองชัยไปจนกระทั่งพระสงฆสวดจบบทดังกลาว
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพนมกร นันติ ( สืบชะตา พิธีกรรมแหงมงคลชีวิต )