เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
 

  ข้อมูลพื้นฐานทุกอำเภอ ใน จังหวัดเชียงราย
   ข้อมูลทั่วไป ประวัติ คำขวัญประจำอำเภอ แผนที่ 18 อำเภอ จังหวัดเชียงราย

เมือง

เชียงของ

 
:: อ .เชียงแสน
ที่อยู่
1 หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย 57150
เบอร์โทร
0-5377-7110 , 0-5377-7115
แฟ็กซ์
0-5377-7110 , 0-5377-7115
เว็บไซต์
-
คำขวัญประจำอำเภอ

" ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ "

 
 ประวัติความเป็นมา

ประวัติศาสตร์ อำเภอเชียงแสน ตามสภาพของเมืองเก่า ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสนปรากฏอยู่ในเอกสารตำนานหลายฉบับ ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่จะมีความคล้ายกัน โดยปรากฏเรื่องราวของชุมชนโบราณในเขตที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงราย ในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงแสน ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มต้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 จากการที่พระเจ้าสิงหน วัติกุมารได้อพยพลง มาจากนครไทยเทศ ซึ่งอยู่ในทางตอนเหนือล่องมาตามแม่น้ำโขงและมาตั้งบ้านเมืองขึ้น ชื่อว่า นาคพันธ์สิงหนวัตินคร ในแผ่นดินของพระเจ้าสิงหนวัติกุมารนั้นได้มีการรวบรวมดินแดนให้เป็นปึกแผ่นได้รวมเอาชาวมิลักขุและปราบปรามพวกกลอมหรือขอมให้อยู่ใต้อำนาจ หลังจากนั้นก็ได้มีกษัตริย์ หลายพระองค์ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ สืบมาจนกระทั้งถึงรัชการพระเจ้ามหาชัยชนะก็เกิดอาเพศ จนบ้านเมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำต่อมาได้ปรากฏเรื่องรวมอีกช่วงหนึ่ง เป็นส่วนที่กล่าวถึงปู่เจ้าลาวจกหรือลวจังกราชว่าได้ลงมาจากยอดภูเขา และได้สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ลวจังกราช ขึ้นปกครองแว่นแคว้นไชยวรนครเชียงราวหรือแคว้นโยนกซึ่งก็คือบ้านเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงรายทุกวันนี้ ต่อมาได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางและมีการขยายชุมชนออกไปโดยรอบ ได้มีการสร้างเมืองเชียงราย เมืองเชียงของและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กษัตริย์ในราชวงค์ลวจังกราชได้สืบราชสมบัติติดต่อกันมาหลายพระองค์ จนกระทั้งถึงรัชกาลของพระเจ้ามังรายจึงได้รวบรวมบ้านเมืองในแคว้นโยนกจนเกิดเป็นปึกแผ่นทรงสร้างเมืองเชียงรายและเสด็จ ไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย ต่อมาทรงยกทัพไปตีแค้วนหริภุญไชยได้ และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. 1839 สำหรับเรื่องราวของเมืองเชียงแสนนั้น มีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย ทรงสร้างเมืองขึ้นบริเวณซากเมืองรอยเก่าริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อ พ.ศ. 1871 และขนานามว่าเมืองหิรัญนครชัยบุรีศรีช้างแสน ซึ่งก็เชื่อกันว่าเมืองรอยเก่านั้นก็คือเมืองหิรัญนครเงินยางนั้นเอง หลังจากที่พระเจ้าแสนภูได้ขึ้นมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่แล้วต่อมาทรงย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ และกษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมาคือพระเจ้าคำฟู ก็ประทับที่เมืองเชียงแสน สาเหตุที่พระเจ้าแสนภูสร้างเมืองและประทับอยู่เมืองเชียงแสนนั้นเพราะเป็นเหตุผลด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันข้าศึกที่มาทางด้านเหนือและเพื่อควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาตอนบนไว้ให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ ด้วยเหตุนี้ในสมัยล้านนาตอนต้นศูนย์กลางของอาณาจักรและพระศาสนา จึงอยู่ที่เมืองเชียงแสน ดังนั้นจึงปรากฏมีร่องรอยโบราณสถานในสมัยล้านนา ตอนต้นอยู่ในเขตเมืองเชียงแสนค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยของพระเจ้าผายูกษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่ 7 ได้กลับไปประทับที่เมืองเชียงใหม่ แต่เมืองเชียงแสนก็ยังมีความสำคัญ ในเขตล้านนาตอนเหนือตลอดมา ในช่วงเวลาที่ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ในพ.ศ.2244 พม่าได้แบ่งแยกการปกครองล้านนาออกเป็น 2 ส่วน เพื่อป้องกันกบฏส่วนแรกได้แยกเมืองเชียงแสนออกจากอำนาจของเมืองเชียงใหม่ให้เมืองเชียงแสนได้ขึ้นตรงต่อกรุงอังวะ ถือเป็นประเทศราชมณพลหนึ่งและอยู่ภายใต้อำนาจของข้าราชการพม่าโดยตรง โดยให้เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ คือ เมืองกาย เมืองไร เมืองเลน เมืองแหลว เมืองพยาก เมืองเชียงราย และเมืองหลวงภูคา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครลำปาง เมืองฝาง เมืองสาด เมืองเชียงของ และเมืองเทิง ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแสน ส่วนเมือที่เหลือขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแม่ในช่วงเวลานี้ฐานนะของเมืองเชียงแสน ได้มีความสำคัญขึ้นอีกครั้งและได้เป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าในการควบคุมบ้านเมืองและดินแดนล้านนา พม่าควบคุมเมืองเชียงแสนไว้จน พ.ศ.2347 พระยากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับกรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยายมราชได้ยกทับเข้าตีเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนจำนวน22,000 ครอบครัวจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ย้ายถิ่นฐานในเมืองต่าง ๆ ของล้านนา เช่นเชียงใหม่ นครลำปาง นาน และเวียงจันทร์ อีกกลุ่มหนึ่งส่งไปยังเมือง กรุงเทพซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลเสาให้ จ.สระบุรี และที่ ต.คูบัว จ.ราชบุรี ต่อนั้นเมืองเชียงแสนจึงกลายเป็นเมืองร้าง จนกระทั้งรัชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าอินทวิไชย บุตรเจ้า บุญมา เจ้าผู้ปกครองเมืองลำพูน นำราษฎรชาวงเมืองลำพูน และราษฎรชาวเมืองเชียงใหม่จำนวน ประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นไปตั้งถิ่นฐาน และฟื้นฟูเมืองเชียงแสนและได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชเดช ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสนจึงได้ฟื้นฟูนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประมาณ พ..ศ. 2442 ได้มีการย้ายศูนย์การปกครอง ไปอยู่ที่ ต.กาสา ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน ตั้งเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดเชียงราย ส่วนเมืองเชียงแสนยุบลงเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง และต่อมาได้เป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อพ.ศ. 2500 มาจนทุกวันนี้

 พื้นที่ / ลักษณะภูมิอากาศ
 เนื้อที่ / พื้นที่ 422 ตร.กม.
  สภาพภูมิอากาศ มีอากาศหนาวแบบมรสุมเมืองร้อน
   
 การปกครอง
  หมู่บ้าน 70 หมู่บ้าน   ตำบล 6 ตำบล
 เทศบาล 1 แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง
           
 อาชีพ
  อาชีพหลัก การเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนผัก ไร่ข้าวโพด ไร่ยาสูบ
  อาชีพรอง ทำสวนผลไม้ รับจ้างนอกฤดูกาล ค้าขายชายแดน
   
 STRONG> การศึกษา
  โรงเรียนประถม 45 โรง
 โรงเรียนมัธยม 3 โรง
 วิทยาลัย / มหาวิทยาลัย 1 แห่ง
     
 ศาสนา
  วัด 65 แห่ง
  โบสถ์ 1 แห่ง
 มัสยิด / สุเหร่า 0 แห่ง
     
 ประชากร
  จำนวนประชากรชาย 23,391 คน
  จำนวนประชากรหญิง 23,750 คน
  รวม 47,141 คน
  ความหนาแน่น 111.07 คน/ตร.กม.
     
 การเกษตรและอุตสาหกรรม
  ผลผลิตทางการเกษตร ข้าวโพด , ยาสูบ , ข้าว
  แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำโขง , แม่น้ำกก , แม่น้ำคำ , แม่น้ำรวก
  โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานกระเทียมดอง ต.แม่เงิน
ข้อมูลตำบล อ .เชียงแสน
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
องค์การบริหารส่วนตำบลโยนก
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแซว
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงิน
เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว | ดูทั้งหมด
  • วัดเจดีย์เจ็ดยอด

  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน

  • พระพุทธนวล้านตื้อ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน

  • วัดพระบวช

  • อนุสรณ์สถานสามผู้กล้า

  • วัดผ้าขาวป้าน

  • วัดสังฆาแก้วดอนทัน

  • วัดป่าสัก

  • น้ำตกผาลาด

  • วัดพระธาตุดอยปูเข้า

  • ทัวร์เกวียน ฟาร์ม คุ้มเจ้าเมือง ที่สามเหลี่ยมทองคำ

  • สบรวก (สามเหลี่ยมทองคำ)

  • วนอุทยานริมโขง

  • วัดมุงเมือง

  • ดูนก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย (ทะเลสาปเชียงแสน)

  •  

    เกี่ยวกับเรา
    เกี่ยวกับเชียงรายโฟกัส
    กิจกรรมของเว็บ
    เงื่อนไขการให้บริการ
    ติดต่อทีมงาน
    ช่วยเหลือ
    แจ้งปัญหาการใช้งาน/อัพเดทข้อมูล
    คำถามที่พบบ่อย
    คำแนะนำการใช้งานเว็บไซต์
    รวมทุกหัวข้อบนเว็บไซต์ (Site Map)
    ข้อมูลเพิ่มเติม
    สถิติ โดยรวมของเว็บ
     
    เว็บไซต์ V.2010 , V.2012 , V.2018 , V.2020
    ติดต่อโฆษณา


    สงวนลิขสิทธิ์ © 2007-2021 https://www.chiangraifocus.com